Description
การพัฒนอุตสาหกรรมข้าวหอมมะลิอย่างยั่งยืน: ทุ่งกุลาร้องไห้ ประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทานของข้าวหอมมะลิ เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวหอมมะลิ การศึกษาครั้งนี้ได้เลือกกรอบการประเมินวัฏจักรขีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment; LCA) และการประเมินต้นทุนตลอดชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Cost; LCC) โดยประยุกต์ใช้ในการศึกษา ทั้งนี้กลุ่มประชากรตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ประกอบไปด้วย กลุ่มผู้ผลิต (ขาวนา) จำนวน 49 ราย กลุ่มผู้แปรรูปและกลุ่มกระจายสินค้า จำนวน 5 ราย การวิเคราะห์ผลการศึกษาผู้วิจัยได้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป openLCA และใช้ CML-IA baseline v3.01 ในการแปลผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ศักยภาพการก่อเกิดภาวะโลกร้อน การเกิดฝนกรด และการเกิดปรากฎการณ์ยูโทรฟิเคชั่นผลการศึกษาในครั้งนี้ พบว่า แนวทางเลือกในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และก่อเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยในการผลิตข้าวหอมมะลิในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ประเทศไทย คือ ระบบการผลิตแบบอินทรีย์ ที่ซึ่งมีความเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ระบบการผลิตแบบอินทรีย์ไม่เพียงแต่จะมีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำกว่าระบบการผลิตแบบเคมี และระบบการผลิตแบบการเกษตรปลอดภัย แต่ผลผลิตที่ได้จากการผลิตแบบอินทรีย์ยังสูงกว่าอีกด้วย ระบบการผลิตแบบอินทรีย์ มีค่าเฉลี่ยของผลผลิตเท่ากับ 515.90 กิโลกรัมต่อ 1 เฮกตาร์ ในขณะที่ระบบการผลิตแบบเคมี มีค่าเฉลี่ยของผลผลิตเท่ากับ 406.25 กิโลกรัมต่อ 1 เฮกตาร์ ถึงแม้ว่าปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากระบบการผลิตแบบอินทรีย์ตลอดห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมข้าวหอมมะลิจะมีปริมาณที่สูงกว่าระบบการผลิตแบบเคมี แต่ศักยภาพการเกิดภาวะโลกร้อน การเกิดปรากฎการณ์ยูโทรฟิเคชั่น และภาวะการเกิดฝนกรดในระบบการผลิตแบบอินทรีย์ต่ำกว่าระบบการผลิตแบบเคมีในทุกกระบวนการผลิตดังนั้น ผู้ผลิต (ชาวนา) ควรมีการประยุกต์แนวทางเลือกดังกล่าวเพื่อปรับปรุงการผลิตข้าวหอมมะลิให้มีประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้น แนวทางการทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืนเป็นหนึ่งในแนวทางที่สนับสนุนการลดความหิวโหยของประชากรโลกที่เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals; SDGs) ที่กำหนดโดยองค์การสหประชาชาติ ในทางปฏิบัติ แนวทางเลือกดังกล่าวให้ความสำคัญกับการกำจัดปัจจัยการผลิตนำเข้าที่ไม่จำเป็น เพื่อช่วยในการลดต้นทุนในการผลิตข้าวหอมมะลิ มากไปกว่านั้นเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการผลิต เพื่อความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหาร ตอบสนองต่อความหยุ่นตัวในการผลิตข้าวหอมมะลิ เพื่อที่จะช่วยในการเข้าถึงแหล่งอาหารอย่างทั่วถึงของประชากรโลก และส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ที่มุ่งเน้นทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายและแผนปฏิบัติการในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมข้าวหอมมะลิของประเทศไทยอีกด้วย<br><br>Sustainable Development of Jasmine Rice Industry: Thung Kula Rong Hai, Thailand aimed to assess economic and environmental impacts from activities linked to jasmine rice supply chain for suggestion the guidelines for sustainable development of jasmine rice industry. Life Cycle Assessment (LCA) and Life Cycle Cost (LCC) were selected to apply in this study. Forty-nine farmers, five rice processors and distributors were selected as samples in these studies. The CML-IA baseline v3.01 (e.g., Global Warming, Acidification, and Eutrophication.) were used to explain data by openLCA software.The alternative approach leads to a high-income economy and has a low environmental impact for jasmine rice production in Thung Kula Rong Hai, Thailand. This study found that organic production is suitable for this area. Not only the organic production cost was lower than the costs of chemical production and Good Agricultural Practices (GAP), but also the average organic rice yields, 515.90 kg/ha, were higher than the chemical rice yields, 406.25 kg/ha,. Although the total GHG emissions of organic production were slightly higher than the emissions of chemical production, the Global Warming Potential (GWP100), Eutrophication, and Acidification impacts of the organic production were lower than impacts of the chemical production in all aspects. Hence, the producer should apply this approach for better production. The sustainable agricultural approach is an alternative way to advocate the zero hunger- that is part of Sustainable Development Goals (SDGs) by the United Nation. In term of practical, this way concentrates the elimination of raw material are not needs. This help to save the rice production costs; in addition, this is an effectively the natural resources used. Moreover, this is also producing the food security and safety. Importantly, this way responds to the resilience of rice production to cope with food security in order to help the accessing the food need of the world population; also, supporting the environmentally friendly production. These lead to achieve the SDGs and twelfth national economic and social development plan (2017 to 2021), that is better economic, environment, and society growths. In term of policy, this way helps to set the sustainable agricultural development plan and to make a policy decision for competitiveness as well.
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read