Description
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความหลากหลายของลักษณะภูมิประเทศและระบบนิเวศ จึงเป็นไปได้ที่จะมีชนิดจิ้งหรีดที่ยังไม่ได้มีการรายงานหรือค้นพบ ทำการสำรวจจิ้งหรีดในพื้นที่ระบบนิเวศแตกต่างกันของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี ขอนแก่น มหาสารคาม มุกดาหาร นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ระหว่างเดือนมิถุนายน 2564 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 โดยวิธีสำรวจโดยตรงตามแหล่งอาศัย กับดักแสงไฟ และกับดักหลุมตก พบจิ้งหรีด 10 สกุล 16 ชนิด แบ่งตามการปรากฎ ได้แก่ กลุ่มที่พบมาก (18.75 เปอร์เซ็นต์) 3 ชนิด Brachytrupes portentosus, Velarifictorus sp.2, และ Velarifictorus sp.3 กลุ่มที่พบปานกลาง (18.75 เปอร์เซ็นต์) 3 ชนิด Euscyrtus sp., Gryllus bimaculatus และ Teleogryllus derelictus และกลุ่มที่พบน้อย 10 ชนิด (62.50 เปอร์เซ็นต์) Gryllus blennus (Saussure), Gymnogryllus sp., Homoxipha sp., Loxoblemmus sp., Pteronemobius sp.1, Pteronemobius sp.2, Phonarellus sp., Teleogryllus emma, Teleogryllus mitratus และ Velarifictorus sp.1 ข้อมูลสำรวจพบมีการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 ชนิด ได้แก่ จิ้งหรีดทองดำ (Gryllus bimaculatus De Geer) สะดิ้ง (Acheta domesticus) จิ้งหรีดทองแดง (Teleogryllus mitratus Burmeister) และจิ้งหรีดทองลาย (Gryllus locorojo) ในจังหวัดพื้นที่ปศุสัตว์ เขต 3 มีผู้เลี้ยงจิ้งหรีดทองดำ จิ้งหรีดทองแดง และสะดิ้ง จำนวน 44 40 และ 16 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณการผลิตต่อรอบการผลิต 54,665.9 29,840.94 และ 11,473.44 กิโลกรัม แต่ไม่มีการเลี้ยงจิ้งหรีดทองลาย ส่วนในจังหวัดพื้นที่ปศุสัตว์ เขต 4 มีผู้เลี้ยงจิ้งหรีดทองดำ จิ้งหรีดทองแดง สะดิ้ง และจิ้งหรีดทองลาย จำนวน 54 25 20 และ 1 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณการผลิตต่อรอบการผลิต 364,263.38 51,557.38 915,518.88 และ 280 กิโลกรัม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการเลี้ยงจิ้งหรีดแบบครัวเรือน และการรวมกลุ่มวิสาหกิจเลี้ยงจิ้งหรีด การศึกษาชีววิทยาและวงจรชีวิตของจิ้งหรีด พบว่า การเจริญเติบโตตั้งแต่ระยะไข่ถึงตัวเต็มวัยของจิ้งหรีดทองดำ (Gryllus bimaculatus) 30 – 40 วัน สะดิ้ง (Acheta domesticus) 50 – 59 วัน และจิ้งหรีด (Velarifictorus sp.) 50 – 57 วัน การศึกษาความหลากหลายของจิ้งหรีดในสภาพธรรมชาติในประเทศไทยมีอยู่อย่างจำกัด การสำรวจเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องจะทำให้ได้ข้อมูลมากยิ่งขึ้นเพื่อนำไปใช้ประกอบการพัฒนาคัดเลือกสายพันธุ์จิ้งหรีดที่มีความเหมาะสมสำหรับใช้ในเชิงเศรษฐกิจต่อไป<br><br>The northeastern region has a variety of topography and ecosystems. It is possible to have a species of cricket that has not been reported or discovered. Survey of crickets in different ecosystems in 8 provinces of Northeast including Udon Thani, Khon Kaen, Maha Sarakham, Mukdahan, Nakhon Ratchasima, Buriram, Sisaket and Ubon Ratchathani Province during June 2021 to February 2022. Cricket was directly surveyed in habitat, light trap and pitfall trap. The results found a total of 16 cricket species in 10 genera following by frequency of occurrence including, the high occurrence frequency containing 3 species (18.75%): Brachytrupes portentosus, Velarifictorus sp.2 and Velarifictorus sp.3, the moderate occurrence frequency 3 species (18.75%): Euscyrtus sp., Gryllus bimaculatus and Teleogryllus derelictus, the low occurrence frequency containing 10 species (62.50%): Gryllus blennus (Saussure), Gymnogryllus sp., Homoxipha sp., Loxoblemmus sp., Pteronemobius sp.1, Pteronemobius sp.2, Phonarellus sp., Teleogryllus emma, Teleogryllus mitratus and Velarifictorus sp.1. The survey data of cricket found 4 rearing species of cricket in Northeast are two-spotted cricket (Gryllus bimaculatus De Geer), oriental ground cricket (Teleogryllus mitratus Burmeister), house cricket (Acheta domesticus) and field cricket (Gryllus locorojo). In the third regional province area of Northeast found the herder number are 44, 40 and 16 percent of two-spotted cricket, oriental ground cricket and house cricket, respectively. Moreover, the producing quantities per round are 54,665.9, 29,840.94 and 11,473.44 kilograms of two-spotted cricket, oriental ground cricket and house cricket, respectively. This region does not have field cricket rearing. While the fourth regional province area found the herder number are 54, 25, 20 and 1 percent of two-spotted cricket, oriental ground cricket, house cricket and field cricket, respectively. And the producing quantities per round are 364,263.38, 51,557.38, 915,518.88 and 280 kilograms of two-spotted cricket, oriental ground cricket, house cricket and field cricket, respectively. The type of cricket rearing in the Northeast are household and community enterprise. Biology and life cycle study of cricket found that the growth duration from egg stage to adult stage of two-spotted cricket 30 – 40 days, house cricket 50 – 59 days and Velarifictorus cricket 50 – 57 days.The diversity study of cricket in nature in Thailand is limited. The continuous survey of cricket can help to get more data used for the development of cricket species selection that are suitable for further economic promotion.
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read