Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การพัฒนากระบวนการเตรียมและย้อมสีธรรมชาติสำหรับเส้น...

TNRR

Description
โครงการการพัฒนากระบวนการเตรียมและย้อมสีธรรมชาติสำหรับเส้นใยกล้วยเป็นการปรับปรุงคุณภาพของเส้นใยกล้วยก่อนการย้อมด้วยกระบวนการเตรียมเส้นใยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการติดสีธรรมชาติ รวมถึงทำการเตรียมสีธรรมชาติจากพืชในพื้นที่ให้อยู่ในรูปแบบผงที่เหมาะสำหรับควบคุมคุณภาพการย้อมซ้ำ จากการศึกษา วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดน่านผลิตเส้นใยกล้วยจากกล้วยน้ำว้า เส้นใยกล้วยที่ได้มีสีเหลือง มีความแข็งกระด้าง เส้นใยกล้วยมีลักษณะเป็นกลุ่มของเส้นใย (fibril) อยู่รวมกัน ประกอบด้วยเซลลูโลสร้อยละ 54.61 โดยน้ำหนัก เฮมิเซลลูโลส เพกติน และลิกนินซึ่งทำหน้าที่เสมือนกาวยึดเส้นใยหรือเซลลูโลสไว้ด้วยกัน ร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก นอกจากนี้ประกอบด้วย สารกลุ่มไขมันและสีธรรมชาติของเส้นใยกล้วย ทำให้เส้นใยกล้วยดูดซึมน้ำและสีย้อมได้ยาก ใช้เวลาในการดูดซึมน้ำประมาณ 45 วินาที การเตรียมเส้นใยกล้วยด้วยการแช่น้ำ 1 คืน สามารถพัฒนาสมบัติด้านการดูดซึมน้ำ ความแข็งแรง และค่าการยืดตัวให้กับเส้นใยกล้วย แต่ถ้าต้องการเพิ่มความขาวให้กับเส้นใยกล้วย ควรทำการฟอกเส้นใยกล้วยด้วยสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซค์ความเข้มข้นร้อยละ 30 โดยน้ำหนัก ปริมาณ 80%owf ร่วมกับสารช่วยเปียก (wetting agent) 5 %owf และโซเดียมซิลิเกต (Na2SiO3) 10 %owf ทำการฟอกที่อุณหภูมิ 100?C เป็นเวลา 60 นาที หรือ อาจเปลี่ยนมาใช้สารฟอกตามบ้านกลุ่มของสารฟอกผ้าสี (ไฮเตอร์คัลเลอร์) ประมาณ 280 มิลลิลิตรต่อของเหลว 1 ลิตร ทำการฟอกในน้ำเดือด 60 นาทีแทนได้ สามารถทำให้เส้นใยกล้วยขาวขึ้นได้มากกว่าร้อยละ 44 ภาวะที่ควรหลีกเลี่ยงในการเตรียมเส้นใยกล้วย คือ การต้ม การใช้สารละลายด่างและการใช้สารฟอกกลุ่มโซเดียมไฮโปคลอไรท์ เนื่องจากทำให้เส้นใยมีความเหลืองเพิ่มขึ้นและอาจส่งผลต่อความแข็งแรงของเส้นใยได้ สารให้สีในท้องถิ่นที่ที่หาได้ในจังหวัดน่านและถูกเลือกมาทำการเตรียมเป็นผงสี ได้แก่ ครั่ง เปลือกสะเดา และเมล็ดมะขาม โดยนำวัตถุดิบมาสกัดน้ำสี กรองและนำน้ำสีที่สกัดได้ไปอบที่อุณหภูมิ 70?C หรือตากแดดให้แห้ง ผลการศึกษา พบว่า ผงสีจากครั่งมีสารแอนทราควิโนนและแทนนินเป็นองค์ประกอบ ร้อยละผลผลิตเท่ากับ 10 เมื่อนำมาย้อมบนเส้นใยกล้วยจะให้เฉดสีม่วง ผงสีจากเปลือกสะเดาและผลสีจากเมล็ดมะขาม ร้อยละผลผลิตเท่ากับ 17-20 มีแทนนินเป็นองค์ประกอบจำนวนมาก เมื่อนำมาย้อมบนเส้นใยกล้วยจะให้เฉดน้ำตาล กระบวนการเตรียมเส้นใยก่อนการย้อมทำให้ความเข้มสีหลังการย้อมของเส้นใยกล้วยเพิ่มขึ้น จึงสามารถช่วยพัฒนาสมบัติด้านการติดสีธรรมชาติให้กับเส้นใยกล้วยได้ การเตรียมเส้นใยด้วยการฟอกนอกจากช่วยเพิ่มสมบัติด้านการติดสีธรรมชาติให้กับเส้นใยกล้วยแล้ว ยังสามารถเพิ่มความหลากหลายของเฉดสีบนเส้นใยกล้วยได้อีกด้วย<br><br>The current research project i.e. pretreatment and natural dyeing for banana fiber, was established to improve the quality of banana fiber for achieving optimal natural dyeing efficiency by pre-treatment process. In addition, for better control of dyeing reproducibility, the natural dye powders from local plant materials were prepared. The community enterprises in Nan province produce banana fiber from cultivated banana tree. Banana fiber is light yellow in color and harsh. The fiber appears as fibrils bundled together and it is composed mainly of cellulose (54.61%wt) and 20%wt of hemicellulose, pectin and lignin that are responsible for binding cellulose together. As it also contains natural fats/waxes and colorants, banana fiber exhibits poor water absorption and dyeing difficulty. Its water absorbency is about 45 seconds. In this study, it was found that fiber pretreatment by soaking in water overnight could improve water absorbency, strength and extensibility of banana fiber. In case of whiteness improvement, the fiber should be bleached in a solution containing 80 %owf H2O2 (30%wt), 5 %owf wetting agent and 10 %owf Na2SiO3 at 100?C for 60 minutes. Alternatively, the commercial bleach products (e.g. Haiter Color) could also be used for room-temperature bleaching by employing 280 ml of the bleach product for 1-liter bleaching liquor. Bleaching process could offer higher than 44% whiteness improvement to banana fiber. However, boiling, alkali pretreatment and hypochlorite bleaching should be avoided as they could cause yellowing and strength loss to banana fiber. Colorant materials found locally in Nan province, i.e. lac, neem bark and tamarind seed, were chosen for natural dye powder preparation. Natural dyes were extracted, filtered and then either oven dried at 70oC or sun dried. From the analysis, it was found that lac dye powder with 10% yield, composed of anthraquinones and tannins, provided purple shade on banana fiber. Dye powders from neem bark and tamarind seed yielded about 17-20%. These two dyes contained high tannin content and rendered brown shade on banana fiber. From this research, it indicates that pretreatment prior to dyeing could increase dyeability of banana fibers. Higher color strength of natural dyes on the pretreated fibers was observed. Fiber pretreatment by bleaching enhances not only natural dye uptake but also shade variety to banana fiber.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ