Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การพัฒนาและจัดทำแนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับการเลี้ยงไ...

TNRR

Description
ในปัจจุบันมีเกษตรกรที่มีการเลี้ยงไหมอีรี่และมีการพัฒนาจนสามารสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นของกลุ่ม แต่ยังอยู่ในวงจำกัดมาก เนื่องจากเกษตรกรบางส่วนยังรอการสนับสนุนไข่จากภาครัฐ จากงานวิจัยช่วง 2 ปีที่ผ่านมาได้มีการถ่ายทอดระบบการผลิตไข่สู่กลุ่มเกษตรกร ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมมีหนอนไหมที่แข็งแรงไว้เลี้ยง สามารถสร้างผลผลิตรังไหมมากขึ้น แต่ปริมาณผลผลิตที่ออกมายังไม่สม่ำเสมอ ในงานวิจัยจึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีในการเลี้ยงไหมอีรี่ตามมาตรฐานแนวปฏิบัติที่ดีของการเลี้ยงไหมอีรี่สู่เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมอีรี่ ผ่านการฝึกอบรมถ่ายทอด กระบวนการเลี้ยงและการจัดการไหมอีรี่ทุกขั้นตอน ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมอีรี่จนสามารถผ่านการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร (KU Standard) หมายเลข 001/2564 เรื่อง "ข้อบังคับสำหรับกระบวนการผลิตรังไหมอีรี่" (REGULATIONS FOR ERI SILK COCOON PRODUCTION) รวมถึงมีการถ่ายทอดและขยายผลองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีในการเลี้ยงไหมอีรี่ไปยังเกษตรกรในหลายพื้นที่ เช่น จังหวัดเชียงราย แพร่ และน่าน เป็นต้น พร้อมทั้งศึกษาเรื่องคุณภาพของดักแด้ไหมอีรี่หลังการอบแห้ง เพื่อทราบถึงระยะเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวรังไหมอีรี่อยู่ที่อายุการเก็บเกี่ยว 9 วัน โดยมีสภาวะที่เหมาสมในการอบแห้งด้วยวิธีไมโครเวฟแบบสุญญากาศที่มีค่าปริมาณความชื้น, ค่าปริมาณน้ำอิสระ และปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มผช. 721/2548 (มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน จิ้งหรีดทอด) คือ ใช้กำลังไฟฟ้า 2400 วัตต์ เวลา 12 นาที และเมื่อศึกษาคุณภาพของดักแด้ไหมอีรี่หลังการอบแห้งพบว่าในทุกสภาวะอบแห้งที่ใช้ไม่มีความแตกต่างในด้านของสี และค่าความแข็ง มีเพียงดักแด้ที่เก็บเกี่ยววันที่ 11 ที่มีค่าความกรอบมากที่สุด เมื่อวิเคราะห์ปริมาณโปรตีนพบว่าดักแด้ที่เก็บเกี่ยวในวันที่ 9 ส่งผลให้มีปริมาณโปรตีนสูงที่สุด คือมีปริมาณโปรตีนร้อยละ 60.88 จึงสรุปได้ว่าการอบแห้งรังไหมอีรี่ที่อายุ 9 วันด้วยเตาอบไมโครเวฟสุญญากาศที่ 2400 วัตต์ นาน 12 นาที สามารถทำให้ได้ดักแด้ที่มีปริมาณโปรตีนสูงที่สุด มีปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด, ปริมาณน้ำอิสระ และปริมาณความชื้นน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และพบฮีสตามินเพียง 5.7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งสามารถนำไปแปรรูปเป็นอาหารอื่นๆ ต่อไปได้<br><br>At Present, farmer can raise Eri silk worm and produce the community product but it has still limited in some areas due to Eri silk egg support from government. The researches in past 2 years transferred the Eri silk egg production to farmer. For this reason, the strong community can produce more Eri cocoon but not enough Eri egg. This research aimed to collect and set up the good practice guideline for Eri silk cocoon production. Then, the guideline is transferred through training program and demonstrated KU standard No. 001/2564 entitled with REGULATIONS FOR ERI SILK COCOON PRODUCTION in selected communities to enhance the Eri silk production in many provinces such as Chiang Rai, Phrae and Nan.Moreover, this research also studied the optimal condition for harvesting, drying by vacuum microwave and investigate the qualities of Eri silkworm pupae after drying. Eri silkworm pupae (Samia ricini) is one of the edible insects due to its high nutritional value, short life cycle and resistant to disease. This research focused on the drying process of Eri silkworm pupae because it contains high protein. Moreover, Eri silkworm pupae can be consumed as alternative protein. Eri silkworm pupae at the age of 9, 10 and 11 days were dried with microwave vacuum dryer at 1600, 1800 and 2400 watts for 3-24 min. The results showed that 31 treatments from total 72 treatments complied with the standards on moisture content (<10%) and water activity (<0.6). In consideration of electrical energy consumption during drying, Eri silkworm pupae at the age of 9 and 11 days dried at 2400 watts for 12 in and Eri silkworm pupae at the age of 10 days dried at 1800 watts for 15 min used the least electrical energy consumption. Eri silkworm pupae at the age of 9 and 10 days had microbial contamination less than 1x103 CFU/g, while Eri silkworm pupae at the age of 11 days had microbial contamination more than1x103 CFU/g. The protein content of Eri silkworm pupae at the age of 9 days had the highest protein content (60.88%). Color and hardness of Eri silkworm pupae at the all ages were not significant different. However, the crispiness of Eri silkworm pupae at the age of 11 days was highest. Collectively, Eri silkworm pupae at the age of 9 days should be dried with microwave vacuum dryer at 2400 watts for 12 min. The dried Eri silkworm pupae would have the highest protein content, while microbial content, water activity and moisture content were complied with the related standard. Moreover, the histamine content of dried Eri silkworm pupae was 5.7 mg/kg, which is safe for consumption.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ