Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การจัดการการท่องเที่ยวทรัพยากรลิงภายใต้อัตลักษณ์วิ...

TNRR

Description
การท่องเที่ยวอันเกิดจากทรัพยากรลิงของจังหวัดลพบุรี ถือว่าเป็นธุรกิจสำคัญที่ทำให้เกิดการสร้างห่วงโซ่อุปทานทางการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แหล่งท่องเที่ยวทรัพยากรลิงและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับลิง ซึ่งเป็นอัตลักษณ์วิถีถิ่นที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามายังลพบุรี อย่างไรก็ตาม แหล่งท่องเที่ยวที่มีลิงอาศัยอยู่ร่วมกับชุมชน ล้วนมีปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับลิง ได้แก่ พื้นที่ทับซ้อนกันระหว่างคนกับลิง การจัดการสภาพแวดล้อมกายภาพที่ไม่เข้าใจพฤติกรรมลิง ขาดการกำหนดพื้นที่ในการให้อาหารลิง สภาพแวดล้อมกลายเป็นแหล่งเสื่อมโทรม ตลอดจนทัศนคติเชิงลบของคนที่มีต่อลิง เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจลิง ซึ่งส่งผลให้แนวทางการแก้ปัญหาที่กำหนดแบบแยกส่วน แผนงานวิจัยนี้มีผลการศึกษาประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ผลการศึกษา ส่วนที่ (1) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แหล่งท่องเที่ยวทรัพยากรลิง พบว่า แหล่งท่องเที่ยวทรัพยากรลิงมีจำนวน 12 แห่ง และผลการประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว พบว่า ส่วนใหญ่มีศักยภาพระดับดี ด้านผลกระทบของการท่องเที่ยวจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับลิง พบว่า ส่วนใหญ่ภาคีให้ความสำคัญกับผลกระทบทางลบมากกว่าทางบวก แสดงให้เห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการบูรณาการแก้ไขปัญหาจากทุกภาคส่วน ขณะเดียวกัน ได้ทำการสอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทย พบว่า เมื่อพูดถึงจังหวัดลพบุรีจะนึกถึงลิง และสิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องการ คือ ควรกำหนดจุดให้อาหารลิงให้ชัดเจน และควรมีเจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลและดูแลความปลอดภัย นอกจากนี้การกำหนดรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในเส้นทางท่องเที่ยว ได้ 4 เส้นทาง ตลอดจนกำหนดแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ทรัพยากรลิงด้วยการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยว พร้อมทั้งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่สะท้อนอัตลักษณ์และเหมาะสมกับบริบทพื้นที่ และการพัฒนาการสื่อความหมายให้แก่ชุมชนและนักท่องเที่ยวมุ่งเน้นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับลิงส่วนที่ (2) การพัฒนาสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากลิงและการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทรัพยากรลิงภายใต้อัตลักษณ์วิถีถิ่นเมืองลพบุรี พบว่า ลิงมีความสัมพันธ์กับความเชื่อและตำนานเมือง ลิงเป็นภาพลักษณ์ของจังหวัด ลิงเป็นเพื่อนกับมนุษย์ ลิงเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยว และลิงเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง สถานการณ์ปัญหาและการพัฒนาประโยชน์จากลิงในรูปแบบของนิเวศวิทยาสังคม เป็นความสัมพันธ์ระหว่างระบบนิเวศของสัตว์ป่าในเขตเมืองกับสังคมมนุษย์ ทั้งนี้ การพัฒนาสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากลิงและการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว จำเป็นต้องมีการเสนอแผนยุทธศาสตร์ คน (เข้าใจ)/เมือง (สะอาด สุขอนามัยและปลอดภัย)/ลิง (เป็นสุข) ได้แก่ 1) คน: สร้างการมีส่วนร่วม จิตสำนึก การตระหนักรู้และความรู้ความเข้าใจอย่างรับผิดชอบต่อวิถีชีวิตลิง 2) เมืองหรือพื้นที่: ดำเนินการปรับปรุงและดูแลสภาพแวดล้อมกายภาพเชิงพื้นที่ให้มีความสะอาด สุขลักษณะและความปลอดภัย ให้สามารถรองรับการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลและอารยสถาปัตย์ 3) ลิง: สร้างการมีส่วนร่วมของภาคภาคีดำเนินการปกป้องและรักษาวิถีชีวิตลิงและสวัสดิภาพลิงภายใต้การจัดระเบียบพฤติกรรมลิง ส่วนที่ (3) การจัดการการท่องเที่ยวทรัพยากรลิงภายใต้อัตลักษณ์วิถีท้องถิ่นเมืองลพบุรี ด้วยแนวทางที่กำหนดไว้ข้างต้นทั้ง 2 ส่วนหลักแล้ว การสร้างความรู้และความเข้าใจเรื่องลิงให้แก่ชุมชนและนักท่องเที่ยว โดยใช้สื่อในการเข้าถึงและการมีส่วนร่วม ได้แก่ คู่มืออบรมการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับลิง วีดิทัศน์ให้ความรู้เรื่องพฤติกรรมและวิถีชีวิตลิงลพบุรี และการปฏิบัติตนเมื่อเข้าชมลิงในเมืองลพบุรี รวมทั้งสื่ออินโฟกราฟิกเรื่องลิงที่ให้ข้อมูลสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนัก นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของชุมชนและผู้มาเยือน นอกจากนี้ การสัมมนาลิงฟอรั่ม เป็นการจัดการความรู้สาธารณะให้กับภาคภาคี ผลจากการสัมมนาได้แนวทางในการแก้ไขปัญหาเชิงระบบอย่างเป็นองค์รวมด้วยแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) จากนั้น จัดทำแผนบูรณาการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากลิงและการจัดการท่องเที่ยวทรัพยากรลิงภายใต้อัตลักษณ์วิถีถิ่นเมืองลพบุรี ได้แก่ 1) แผนงานในระยะสั้น ได้แก่ Kickoff ปฏิบัติการ Save เมืองลิง2) แผนงานในระยะกลาง ได้แก่ แผนการจัดการความรู้สาธารณะเรื่องลิง และแผนพัฒนาและยกระดับแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวทรัพยากรลิง 3) แผนงานในระยะยาว ได้แก่ แผนการส่งเสริมและพัฒนาการตลาดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ทรัพยากรลิง<br><br>Monkey-based tourism in Lop Buri Province is considered as business opportunity that create tourism supply chain, especially monkey-based attractions and monkey-related products that demonstrating the distinctive local identity to attract tourists to visit Lop Buri. However, the coexistence between human and monkeys in the attraction areas, always causing the conflicts and problems, which are, the overlapping territorial claims areas between human and monkeys, lack of knowledge about monkey behavior for appropriate physical management, no specific feeding area, monkeys are cause of the gradually deteriorated of the physical environment in area, and the negative attitudes of people towards monkeys due to lack of knowledge and understanding of monkeys. These problems mentioned result in a modularly defined solution approach. The results of this research plan consist of 3 parts as follows:Based on the results of the study in Part (1): Guidelines for the development of creative tourism in monkey-based attractions, it was found that there were 12 monkey-based attractions. Furthermore, according to the results of the potential assessment of the attractions, it was discovered that most of them had high potential. For the impacts in human-monkey interaction, the results revealed that most of the parties were paid attention to the negative effects more than the positive ones, indicating the urgent need to integrate problems from all sectors. In addition, the opinions of Thai tourists expressed that when talking about Lop Buri, most people thought of monkeys as a symbol of the province. Moreover, most tourists wanted to have monkey feeding areas and there should be staff to provide information and take care of tourist safety. In addition, four routes of creative tourism activities were designed as well as guidelines for the development of monkey-based creative tourism were created to establish tourism network as well as develop creative tourist attractions that presenting their identity and conform with local context. Also, to develop the communication skills for communities and tourists by focusing on knowledge, understanding, and awareness of the coexistence between humans and monkeys.In Part (2): Developing the built environment to solve the problems from monkeys and the development of monkey-based attractions. Monkey in Lop Buri is related with the beliefs and narratives. Monkey is a symbol and identity of Lop Buri province. Monkey is considered as a friend of human. Monkey is also considered as a tourism attraction and a protected species of nature. Conflict situation and the utilization of monkey, are in the form of social ecology, is the relationship between wildlife ecosystems in the urban area and human society. Therefore, the development of built environment is needed to solve the problems from monkeys and to improve the tourism attractions. The following strategic needs to be proposed: "People (understand)/ City (clean, sanitary, and safe)/ Monkeys (happy), that is, 1) People: promote livelihood participation, consciousness, awareness, and responsibility to the way of life of monkeys; 2) City or Area: maintain and develop the cleanliness ,hygiene, and safety of the physical environment to support tourism for all and universal design; 3) Monkeys: encourage the participation of parties to protect and preserve monkey through the management of monkey behavior.For Part (3): Tourism Management of Monkey-Based Attractions Proceed under Local Identity of Lop Buri City through the 2 plans mentioned above, this part is to create community and visitor awareness and comprehension of monkeys using the criteria outlined above in both main sections by utilizing media for access and involvement, including a training handbook for human-monkey cohabitation; videos that explain the behavior and way of life of Lop Buri monkeys, and how to behave oneself while visiting monkeys in Lop Buri, including monkey infographics that give information to foster knowledge, comprehension, and awareness, resulting in improvements in community and visitor behavior. In addition, the monkey forum seminar is public knowledge management for the parties. As a result of the seminar, there were the One Health approach that could applied for the systematic problem solving. Then, having an integrated plan to solve the monkey problems and monkey resource tourism management under the identity of Lop Buri, which are;1) Short-term plan is the kickoff operation to save Lop Buri, the monkey city.2) Medium-term plans are the monkey public knowledge management plans and the development, and the improvement plans for monkey-based attractions and activities.3) Long-term plans are the marketing promotion and development plans for creative tourism in monkey resource.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ