Notifications

You are here

อีบุ๊ค

ผลของเอนโดไฟติกเเบคทีเรียต่อคุณภาพการให้สีครามของห...

TNRR

Description
การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลความเป็นกรด-ด่างเริ่มต้นที่เหมาะสมของดินต่อการเจริญเติบโตของห้อม เปรียบเทียบประสิทธิภาพของเอนโดไฟติกแบคทีเรียสายพันธุ์ Pseudoxanthomonas spadix MJUP08 ต่อคุณภาพการให้สีครามของห้อมในพื้นที่จังหวัดแพร่ทั้ง 3 สายพันธุ์ คือ Strobilanthes cusia (Nees.) Kuntze., Strobilanthes auriculata (Nees.) Bremek. และ Baphicacanthus cusia (Nees.) Bremek. กับ PGPB ปุ๋ยเคมี (ยูเรีย) และห้อมที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ขายตามท้องตลาด ความสามารถในการเจริญของห้อมในการต้านทานการเกิดโรครากเน่า โดยได้ทำการศึกษาผลของจุลินทรีย์ดังกล่าวต่อการเติบโต และคุณภาพสีของห้อม ความเป็นกรด-ด่างเริ่มต้นที่เหมาะสมของดิน ความสามารถของแบคทีเรียดังกล่าวต่อการเติบโตของห้อม และปริมาณเอนโดไฟติกแบคทีเรียที่เหมาะสม เพื่อนำนวัตกรรมดังกล่าวถ่ายทอดสู่ชุมชนผู้ปลูกห้อม จากผลการศึกษา พบว่า เอนโดไฟติกแบคทีเรียสายพันธุ์ Pseu. spadix MJUP08 สามารถยับยั้งเชื้อก่อโรค Rhizoctonia solania และ Sclerotium rolfsii ได้ และมีประสิทธิภาพมากกว่ายาปฏิชีวนะ ทั้งยังสามารถละลายฟอสเฟตได้ เท่ากับ 1.99 mg/L สามารถตรึงไนโตรเจนได้ เท่ากับ 2% และสามารถการสังเคราะห์สร้าง IAA (สารส่งเสริมการเจริญเติบโต) ได้ เท่ากับ 1.90 umg/ml นอกจากนี้ดินที่มี pH เริ่มต้นที่ 4.5 และผสม Pseu. spadix MJUP08 ที่ปริมาณ 60 ml เหมาะสมต่อการเติบโตของห้อม ทั้ง 3 สายพันธุ์ เนื่องจากมีราก เพิ่มขึ้น 2.50-3.00 ซม. ความสูงลำต้น เพิ่มขึ้น 1.20-3.30 ซม. จำนวนกิ่ง เพิ่มขึ้น 1.00-6.20 กิ่ง จำนวนใบ เพิ่มขึ้น 14.00-76.60 ใบ และปริมาณเนื้อห้อมเปียกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 55.53% เมื่อเปรียบเทียบกับห้อมที่ไม่ได้ปลูกด้วยดินผสม Pseu. spadix MJUP08 และให้คุณภาพสีทึบ และสีน้ำเงินดีที่สุด เนื่องจากมีค่า L* a* และ b* ต่ำ และค่าลิวโคอินดิโกสูงสุด ซึ่งเป็นค่าที่บ่งบอกประสิทธิภาพการติดสี เท่ากับ 97.10, 105.27 และ 104.93 ไมโคมิลลิลิตร ดังนั้น ต้นทุนจึงถูกลง และใช้เพียงครั้งเดียวมีผลตลอดการเจริญเติบโต และทำการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกห้อม บ้านนาตอง และบ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง ตำบลทุ่งโฮ้ง ตำบลนาจักร และหน่วยงานต่าง ๆ คำสำคัญ : ห้อม เอนโดไฟติกเเบคทีเรีย โรครากเน่าโคนเน่า อินดิโก<br><br>The purposes of this study were to 1) investigate the effect of the optimum initial soil pH on the growth of the Hom. 2) compare of efficacy of endophytic bacterial strains Pseudoxanthomonas spadix MJUP08 on the indigo quality of three cultivars of Hom in Phrae province, namely Strobilanthes cusia (Nees) Kuntze, Strobilanthes auriculata (Nees) Bremek and Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek. and PGPB chemical fertilizer (Urea) and the Hom grown with commercially available organic fertilizers, and 3) study the growth ability of the Hom to resist root rot disease. Therefore, the effect of such microorganisms on growth was studied and the color quality of Hom, the initial optimal soil pH, the ability of such bacteria to the growth of Hom and the appropriate amount of endophytic bacteria were studied in order to bring obtained innovations to the community of Hom growers. The results showed that the endophytic bacterium Pseu. spadix MJUP08 was more effective than antibiotics at inhibiting the pathogens of Rhizoctonia solania and Sclerotium rolfsii. It could also dissolve 1.99 mg/L of phosphate, fix nitrogen by 2%, and synthesize 1.90 ug/ml of IAA (growth promoting agent). In addition, the soil with pH starting at 4.5 and mixed with 60 of ml Pseu. spadix MJUP08 was suitable for the growth of all three Hom species as the root length, the height of the stem, the number of brance and the number of leaves were increased by 2.50-3.00 cm, 1.20-3.30 cm, 1.00-6.20 branches, and 14.00-76.60 leaves, respectively. The average amount of indigo paste was also increased by 55.53% when compared to Hom that were not planted with soil mixed with Pseu. spadix MUUP08, and gave the best opaque color quality and the best blue shade because of the low L* a* and b* values and the highest leuco indigo values indicating the color fastness efficiency of 97.10, 105.27, and 104.93 ?ml. Thus, the cost is cheaper, and even if used only once the effect lasts throughout the growth cycle. This knowledge was transferred to the groups of Hom growers in Baan Na Tong and Baan Mae Lua, Pa Daeng Subdistrict, Thung Hong Subdistrict, Na Chak Subdistrict, and other agencies.Keywords: Assam, Endophytic bacteria, Root rot, Phytophthora foot rot, Indigo

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ