Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การวิเคราะห์คุณลักษณะ การเกิด อิทธิพลของแหล่งกำเนิ...

TNRR

Description
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อประเมินการเกิดฝุ่นทุติยภูมิและสัดส่วนของ Primary และ Secondary particulate ในฝุ่น PM2.5 เพื่อวิเคราะห์และบ่งชี้อิทธิพลของแหล่งกำเนิดที่มีต่อระดับความเข้มข้นของ Secondary particulate และเพื่อประเมินความเหมาะสมและจัดลำดับความสำคัญของมาตรการในการควบคุมแหล่งกำเนิดของ Secondary particulate โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดโดยตรงในบริเวณพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ประเทศไทย แบ่งพื้นที่ที่ศึกษาตามการใช้ประโยชน์ของที่ดินได้เป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ พื้นที่ทั่วไป พื้นที่จราจร และพื้นที่อุตสาหกรรม ซึ่งใช้ข้อมูลการตรวจวัดในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ.2563 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 ผลการศึกษาพบว่า แหล่งที่มาของ sulfate และ nitrate ในฝุ่น PM2.5 มาจาก stationary source (โรงงานอุตสาหกรรม) และ mobile source เป็นส่วนใหญ่ ในส่วนการหาสัดส่วน primary และ secondary particulate โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบ Organic carbon (OC) และ Elemental carbon (EC) พบว่า ฝุ่น PM2.5 ของจุดเก็บตัวอย่างทั้ง 3 จุด ในเขตพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลเป็น Secondary particulate ประมาณ 76.22 – 77.65% และแหล่งกำเนิดหลักของฝุ่น PM2.5 ของจุดเก็บตัวอย่างทั้ง 3 จุด ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลมาจากไอเสียที่เกิดจากการใช้น้ำมันเบนซินเชื้อเพลิง หรือการใช้ LPG ในโรงงาน สำหรับผลการวิเคราะห์และบ่งชี้อิทธิพลของแหล่งกำเนิดที่มีผลต่อระดับความเข้มข้นของ Secondary particulate พบว่าสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายที่ก่อให้เกิดละอองลอยอินทรีย์ทุติยภูมิปริมาณมากที่สุดในพื้นที่ทุกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินของกรุงเทพและปริมณฑล คือ โทลูอีน โดยที่ค่าศักยภาพในการสร้างละอองลอยอินทรีย์ทุติยภูมิ (SOAP) ของสารโทลูอีนนี้คิดเป็น 67 - 80% ของทั้งหมด และผลการวิเคราะห์โดยโมเดล PMF ชี้ให้เห็นว่าในภาพรวมพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลมีแหล่งกำเนิดหลักจากไอเสียยานพาหนะ 61.03% หากพิจารณาแยกตามประเภทการใช้ที่ดินพบว่า การระเหยของเชื้อเพลิงเป็นแหล่งกำเนิดหลักในพื้นที่ทั่วไปคิดเป็น 28.58% ในพื้นที่จราจรมีแหล่งกำเนิดหลักมาจากไอเสียยานพาหนะ 67.70% และในพื้นที่อุตสาหกรรมมีแหล่งกำเนิดหลักมาจากการเผาไหม้ในอุตสาหกรรม 39.97% นอกจากนี้ยังพบแหล่งกำเนิดจากการเผาชีวมวลและการประกอบอาหารร่วมด้วยแต่อยู่ในปริมาณที่น้อย ผลของประเมินความเหมาะสมและจัดลำดับความสำคัญของมาตรการในการควบคุมแหล่งกำเนิดของ Secondary particulate เมื่อพิจารณามาตรการตามการวิเคราะห์ผลประโยชน์ต่อต้นทุน (B/C ratio) พบว่ามาตรการการเปลี่ยนรถจักรยานยนต์ให้เป็นรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 14% เป็นมาตรการที่คุ้มค่าและเหมาะสมมากที่สุด โดยมาตรการนี้จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์มากกว่าต้นทุนการดำเนินการถึง 3.88 เท่า<br><br>This research was conducted to assess secondary particulate formation and the proportion of primary and secondary particulate in PM2.5 and to indicate the formation potential and source contribution of secondary particulate. In addition, to evaluate the appropriateness and prioritization of mitigation measures used to control emission source of the secondary particulate. Concentration data was obtained from direct measurements in Bangkok Metropolitan Region (BMR), Thailand. The study areas were grouped according to land use into 3 types: general area, roadside area, and industrial area. VOCs concentration data was measured during December 2020 to February 2021.The results indicated that main sources of sulfate and nitrate in PM2.5 were stationary sources (industrial plants) and mobile sources. Proportion of primary and secondary particulate in PM2.5 calculated from the OC/EC ratio explored that 76.22 – 77.65% of PM2.5 in the BMR were secondary particulate and the main source comes from Exhaust emissions from the use of gasoline, or the use of LPG in factories. For source contribution of secondary particulate, it was found that VOCs contributing the highest secondary organic aerosols (SOA) potential formation in all land use types of BMR was toluene which accounted for 67 - 80% of the total. The analysis by PMF model indicates that the major emission source emitting VOCs contributed SOA in overall land use type in BMR was vehicle exhaust source accounted for 61.03%. In case of specific consideration by type of land use, it was found that fuel evaporation was the major emission source in general area, accounted for 28.58%. In addition, the dominant emission source in roadside area was vehicle exhaust emission (67.70%) and industrial combustion was the main source of emission in industrial area, accounted for 39.97%. Moreover, sources of biomass burning, and cooking have also been found, but in low quantities. In terms of assessing the suitability and prioritizing of mitigation measures used to control secondary particulate emission source considering the measures based on the B/C ratio analysis, it was explored that changing the use of motorcycles to electric motorcycles at 14% was the most cost-effective and appropriate measure. It will bring economic benefits about 3.88 times more than operating costs.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ