Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การแก้ปัญหา PM2.5 จากการเผาใบอ้อยด้วยการใช้เครื่อง...

TNRR

Description
งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาวิธีการใช้เครื่องจักรกลเกษตรทดแทนการเก็บเกี่ยวอ้อยด้วยวิธีการเผาใบอ้อยก่อนการเก็บเกี่ยว ผลการวิจัยโดยสรุปพบว่า รูปแบบการใช้งานเครื่องจักรเกษตรที่เหมาะสม ประกอบด้วย 4 รูปแบบ ดังนี้รูปแบบที่ 1 รถตัดอ้อยขนาดใหญ่ มีระยะเวลาการคืนทุนประมาณ 6.6 ปีขึ้นไป โดยควรตัดอ้อยให้ได้ปีละ 20,000 ตันขึ้นไป เหมาะสำหรับเกษตรกรรายใหญ่ ที่มีปริมาณอ้อยมากกว่า 20,000 ตัน และมีพื้นที่ปลูกอ้อยมากกว่า 2,000 ไร่ ระยะห่างจากโรงงานหรือลานรับซื้ออ้อยไม่เกิน 50 กิโลเมตร สำหรับเกษตรกรรายใหญ่ ที่มีปริมาณอ้อยมากกว่า 6,000 ตัน และมีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยมากกว่า 600 ไร่ ระยะห่างจากโรงงานหรือลานรับซื้ออ้อยไม่เกิน 50 กิโลเมตร ควรรวมกลุ่มกับเกษตรกรรายกลางในพื้นที่ใกล้เคียง ที่มีปริมาณอ้อยระหว่าง 200-2,500 ตัน และมีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยมากกว่า 20-250 ไร่รูปแบบที่ 2 รถตัดอ้อยแบบมีกล่องร่วมกับรถคีบกล่อง มีระยะเวลาการคืนทุนประมาณ 6 ปีขึ้นไป ควรตัดอ้อยให้ได้ปีละ6,000 ตันขึ้นไป เหมาะสำหรับเกษตรกรรายกลาง ที่มีปริมาณอ้อยมากกว่า 6,000 ตัน และมีพื้นที่ปลูกอ้อยมากกว่า 600 ไร่ระยะห่างจากโรงงานหรือลานรับซื้ออ้อยไม่เกิน 80 กิโลเมตร ส่วนเกษตรกรรายกลาง ที่มีปริมาณอ้อยมากกว่า 2,500 ตัน และมีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยมากกว่า 250 ไร่ ระยะห่างจากโรงงานหรือลานรับซื้ออ้อยไม่เกิน 80 กิโลเมตร ควรรวมกลุ่มกับเกษตรกรรายกลางหรือรายเล็กในพื้นที่ใกล้เคียง ที่มีปริมาณอ้อยระหว่าง 200-2,500 ตัน และมีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยมากกว่า 20-250 ไร่รูปแบบที่ 3 เครื่องสางใบร่วมกับเครื่องตัดอ้อยลำแบบมีกระบะรวมกองและรถคีบอ้อย มีระยะเวลาการคืนทุนประมาณ 5.5 ปีขึ้นไป ควรตัดอ้อยให้ได้ปีละ 800 ตันขึ้นไป เหมาะสำหรับ เกษตรกรรายกลาง ที่มีปริมาณอ้อยระหว่าง 800 ตันขึ้นไป และมีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยมากกว่า 80 ไร่ ระยะห่างจากโรงงานหรือลานรับซื้ออ้อยไม่เกิน 50 กิโลเมตร สำหรับ เกษตรกรรายเล็ก ที่มีปริมาณอ้อยระหว่าง 50-200 ตัน และมีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยมากกว่า 5-20 ไร่ ระยะห่างจากโรงงานหรือลานรับซื้ออ้อยไม่เกิน 50 กิโลเมตร ควรส่งเสริมการรวมกลุ่มกับเกษตรกรรายอื่นให้ได้ผลผลิตอ้อยส่งโรงงานประมาณ 800 ตัน โดยเน้นการเพิ่มผลผลิต และควบคุมเงื่อนไขแปลงให้เหมาะสมกับเครื่องจักรรูปแบบที่ 4 เครื่องสางใบร่วมกับแรงงานคนตัดและรถคีบอ้อย มีระยะเวลาการคืนทุนประมาณ 5.1 ปีขึ้นไป ควรตัดอ้อยให้ได้ปีละ 600 ตันขึ้นไปจึงจะคุ้มทุน เหมาะสำหรับ เกษตรกรรายเล็ก ที่มีปริมาณอ้อยระหว่าง 600 ตันขึ้นไป และมีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยมากกว่า 60 ไร่ ระยะห่างจากโรงงานหรือลานรับซื้ออ้อยไม่เกิน 50 กิโลเมตร สำหรับ เกษตรกรรายเล็ก ที่มีปริมาณอ้อยระหว่าง 10-100 ตัน และมีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยมากกว่า 1-5 ไร่ ระยะห่างจากโรงงานหรือลานรับซื้ออ้อยไม่เกิน 50 กิโลเมตรควรส่งเสริมการรวมกลุ่มกับเกษตรกรรายอื่นให้ได้ผลผลิตอ้อยส่งโรงงานประมาณ 600 ตัน โดยเน้นการใช้แรงงานครัวเรือน และช่องทางในการติดต่อกับผู้รับเหมารถบรรทุก 10 ล้อเพื่อทำงานร่วมกัน หรือกรณีเกษตรกรรายเล็กที่อยู่ห่างจากโรงงานหรือลานรับซื้ออ้อยไม่เกิน 20 กิโลเมตร อาจใช้รถบรรทุกเกษตร (รถอีแต๋น) ในการขนส่งจะทำให้ประหยัดค่าขนส่งได้รูปแบบการใช้เครื่องจักรกลเกษตรเก็บเกี่ยวอ้อยกับการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 สรุปได้ว่า การส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรให้สอดคล้องกับสภาพข้อจำกัดของพื้นที่และบริบทด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย จะสามารถลดการเผาใบอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่เผาใบอ้อยในปัจจุบัน โดยวิธีการที่เกษตรกรให้ความสนใจและพร้อมใช้มากที่สุด คือ วิธีการใช้รถตัดอ้อยร่วมกับรถบรรทุก และวิธีการใช้เครื่องสางใบอ้อยร่วมกับแรงงานคนตัดและเครื่องคีบอ้อยคำสำคัญ: PM2.5, การเผาอ้อย, เครื่องจักรกลเกษตร, การเก็บเกี่ยว<br><br>The objective of this research was to study and develop agricultural machinery practicesas an alternative choice for farmers in order to mitigate the PM 2. 5 problem caused by in-fieldburning. From the results, four suitable agricultural machinery practices can be summarized asfollows:Practice I: Large-scale sugarcane harvester. This practice has a payback period ofapproximately 6.6 years. The farmer should harvest more than 20,000 ton sugarcane per yearfrom a cultivation area of 2,000 rai, and the distance between the sugar mill and the cultivationarea should not exceed 50 km.Practice II: Sugarcane harvester with self-storage and storage loader. This practice hasa payback period of more than 6 years. This practice is suitable for medium-scale farmers that canprovide more than 6,000 ton per year from a cultivation area of 600 rai, and for whom the distancebetween the sugar mill and the cultivation area does not exceed 80 km.Practice III: Sugarcane leaf remover and base cutter machine and sugarcane loader.This practice has a payback period of more than 5.5 years. The farmer should harvest more than800 ton sugarcane per year.Practice IV: Sugarcane leaf remover and manual cutting by labors and sugarcaneloader. This practice has a payback period of more than 5.1 years. The farmer should harvestmore than 600 ton sugarcane per year. This practice is suitable for small-scale farmers that providemore than 600 ton per year from a cultivation area of 60 rai where the distance between thesugar mill and the cultivation area does not exceed 50 km.The practice of using agricultural machinery to mitigate PM2.5 problem can be summarizedas follows. The promotion of using agricultural machinery according to a specific area limitationand economic and social background of a farmer could reduce more than 50% of the currentsugarcane burning area in northeastern of Thailand. The practices that farmer is most interestedin and ready to adopt are combining sugarcane harvester with truck and using sugarcane leafremover and manual cutting by labors and sugarcane loader.Key words: PM2.5, burning sugar cane, agricultural machinery, harvesting

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ