Description
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์กระบวนการการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มสำหรับการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่ด้วยนวัตกรรมท้องถิ่น 2) พัฒนากลยุทธ์การตลาดการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มสำหรับการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์อาหาร ใช้การวิจัยแบบผสานวิธีทั้งเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ กับกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ 1) ผู้ประกอบการร้านอาหารและโรงแรมที่ใช้วัตถุดิบท้องถิ่น จำนวน 20 ตัวอย่าง กลุ่มผู้ใส่ใจสุขภาพ จำนวน 157 ตัวอย่าง 2) กลุ่มบริษัทนำเที่ยว มัคคุเทศก์ หน่วยงานสนับสนุนทางการท่องเที่ยว จำนวน 9 ตัวอย่าง และ 3) ชุมชนเป้าหมาย องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการร้านอาหาร บริษัทนำเที่ยว ผู้ใส่ใจสุขภาพ สื่อมวลชน หน่วยงานสนับสนุนทางการท่องเที่ยว จำนวน 20 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยายหรือสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์เชิงประเด็น ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) กำหนดความโดดเด่นทางวัตถุดิบที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนเพื่อกำหนดธีมสำหรับการเพิ่มคุณค่าและมูลค่า 2) ใช้ภูมิปัญญาการแปรรูปของชุมชน 3) ออกแบบนวัตกรรมด้วยการร่วมมือกับเชฟ 4) ใช้แนวคิดรสสมุนไพรตามแนวคิดของแพทย์แผนไทยเพื่อเสริมภาพลักษณ์เชิงบวกและแก้ไขภาพเชิงลบ 5) ใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพืชเพื่อเสริมภาพลักษณ์เชิงบวกแก้ไขภาพลักษณ์เชิงลบ และ6) เล่าเรื่องราวภูมิปัญญาอาหาร และผลการพัฒนากลยุทธ์การตลาดการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม พบว่า กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ทั้งที่จับต้องได้และไม่ได้มีระดับคะแนนความพึงพอใจทั้งทางด้านคุณค่าและมูลค่าผลิตภัณฑ์ ด้านการสร้างแบรนด์จุดหมายปลายทาง และ ภาพรวมของโปรแกรมการท่องเที่ยวอยู่ในระดับมากที่สุด และคะแนนเฉลี่ยรวมของแต่ละด้านก็อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน โดยมีค่าเฉลี่ย 4.75 4.85 และ 4.76 ตามลำดับ โดยมีประเด็นที่น่าสนใจคือ ด้านคุณค่าและมูลค่าผลิตภัณฑ์ ในหัวข้อประทับใจเกี่ยวกับเรื่องราวที่มาของวัตถุดิบได้ระดับคะแนน 5.00 ความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน (4.89) รู้สึกสนุกเมื่อได้เห็นการใช้วัตถุดิบหรือเครื่องปรุงที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น (4.78) รู้สึกถึงประสบการณ์แปลกใหม่ในการได้ใช้ผลิตภัณฑ์ (4.78) ผลิตภัณฑ์ประกอบไปด้วยสรรพคุณของสมุนไพรซึ่งเป็นประโยชน์ทางสารอาหารต่อผู้บริโภค (4.78) ผลิตภัณฑ์มีความคุ้มค่ากับราคาและมีความเชื่อมั่นในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ (4.78) และด้านการสร้างแบรนด์จุดหมายปลายทาง ในหัวข้อมีเอกลักษณ์หรือลักษณะเด่น และการนำเสนอเพื่อให้มีความทรงจำที่ดี (4.89) ด้านภาพรวมของโปรแกรมการท่องเที่ยว ในหัวข้อประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรม (5.00) บรรยากาศในการท่องเที่ยว และการท่องเที่ยวแปลกใหม่ (4.89)<br><br>This research aims to: 1) synthesize the process of creating added value and value for experiential gastronomy tourism in Chiang Mai through local innovation; 2) develop a marketing strategy to create added value and value for food experiential tourism. A mixed method of quantitative and qualitative approach was employed. Data were collected by using questionnaires and interviews from 3 groups of samples: 1) 20 restaurant and hotel operators and 157 health-conscious Thai tourists. 2) 9 samples from tour operators, tour guides, and tourism support agencies, and 3) 20 samples from community members, local governments restaurant operators, travel agencies, tourists, press, and tourism support agencies. Data were analyzed by using descriptive statistics, content analysis and thematic analysis.The results showed that the process of creating added value and value consisted of 6 steps: 1) determining the unique raw material and defining themes for adding value and value, 2) applying the community wisdom, 3. ) designing innovations in collaboration with chefs, 4) using the concept of Thai traditional medicine to enhance positive image and correct negative image, 5) using scientific information to enhance positive image and correct negative image, and 6) telling stories about food wisdom. In terms of the development of marketing strategies to create added value and value, it was found that both tangible and intangible product strategies were rated very high level of satisfaction on the value and value of products, destination branding, and overall program with the average score of of 4.75, 4.85 and 4.76, respectively. The most interesting aspect was the story of the origin of raw materials which rated 5.00. The pride to be a supporter of local products was rated 4.89. The enjoyment when seeing the use of unique ingredients or seasonings was rated 4.78. The feeling of exotic new experience when using the product was rated 4.78. The fact that the product contains medicinal properties which provide nutritional benefits was rated 4.78. The value for money and the confidence in the product quality were rated 4.78. For destination branding, the uniqueness and the presentations for good memories were rated 4.89. The overall program and benefits from activities were rated 5.00. And the exotic tourism atmosphere was rated 4.89.
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read