Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การศึกษาวิจัยและแปลชีวประวัติพระผู้มีคุณูปการต่อพร...

TNRR

Description
คัมภีร์เกาเซิงจ้วน (???) หรือ บันทึกอัตชีวประวัติพระผู้มีคุณูปการอันสูงส่งต่อพระพุทธศาสนาจีน เป็นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ที่บันทึกอัตชีวประวัติของพระภิกษุผู้มีคุณูปการตั้งแต่ยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกจนถึงยุคราชวงศ์เหลียงใต้ รวมระยะเวลากว่า 5 ศตวรรษ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในแผ่นดินจีนยุคแรก รวมทั้งประวัติศาสตร์ของเส้นทางสายไหม ดังนั้น งานวิจัยนี้มีประเด็นการวิจัยที่มุ่งเน้นการถอดความและวิเคราะห์คัมภีร์เกาเซิงจ้วน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเส้นทางสายไหมและพระพุทธศาสนาในจีน ผ่านเรื่องราวของพระภิกษุเฉพาะหมวดพระผู้แปลคัมภีร์ ตั้งแต่ยุคราชวงศ์ฮั่นถึงราชวงศ์เว่ย ซึ่งเป็นยุคเริ่มแรกที่พระภิกษุจากอินเดียและเอเชียกลางได้เดินทางผ่านเส้นทางสายไหมมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแผ่นดินจีนงานวิจัยนี้มีระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่อาศัยการรวบรวมข้อมูลในทุกสายชั้นคัมภีร์มาทำการตรวจสอบวิพากษ์ต้นฉบับ (Textual Criticism) การอ่านวิเคราะห์ (Critical Reading) และการตีความเนื้อหา (Content Analysis) เป็นเครื่องมือในการศึกษา โดยได้ทำการตรวจชำระคัมภีร์ต้นฉบับอักษรจีนโบราณ 3 ฉบับ คือ พระปิฎกเกาหลีฉบับพิมพ์ครั้งแรก ฉบับพิมพ์ครั้งหลัง และฉบับไทโชชินชูไดโซเคียว จากนั้นจึงดำเนินการถอดความ โดยใช้หลักการแปลโดยอรรถปริวัตรศาสตร์ (Hermeneutics) และอรรถาธิบายเพิ่มเติมโดยอาศัยหลักฐานประกอบ (Inference)ผลจากงานวิจัยในครั้งนี้ ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นผลงานจากการตรวจชำระและถอดความคัมภีร์เกาเซิงจ้วนยุคเหลียง เป็นเรื่องราวอัตชีวประวัติของพระภิกษุผู้เป็นหลัก 6 รูป คือ พระกาศฺยปะ-มาตังคะและพระธรรมรัตนะ ซึ่งเป็นภิกษุคู่แรก ที่เดินทางจากอินเดียผ่านเส้นทางสายไหมสู่แผ่นดินจีน พระอันซื่อเกาและพระโลกเกษม ซึ่งถือว่าเป็นพระภิกษุนักแปลคัมภีร์ฝ่ายหินยานและมหายานที่มีชื่อเสียงอย่างมาก พระธรรมกาลผู้แปลคัมภีร์พระวินัย และวางรากฐานสำคัญในการอุปสมบทให้กับพระภิกษุชาวจีน และพระวิฆนะผู้แปลคัมภีร์ธรรมบทและคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนาอื่น ๆ อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการวางรากฐานพระพุทธศาสนาในประเทศจีน นอกจากนี้ยังได้บทวิเคราะห์เบื้องต้นที่ทำให้ทราบถึงประวัติศาสตร์ การเมือง การทูต สภาพสังคม และพัฒนาการทางพระพุทธศาสนาในยุคราชวงศ์ฮั่นจนถึงเว่ย ซึ่งจะมีนัยสำคัญอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่องานวิจัยต่อยอดในขั้นตอนต่อไป<br><br>Lives of Eminent Monks or Gaoseng Zhuan (???), is one of the most important Chinese-Buddhist scriptures, providing stories of many foreign and Chinese monks who dedicated their lives to spreading Buddhism into China. When used as a historical source, it is a vital record of the great figures in the history of the first five centuries of Chinese Buddhism and a valuable source to study the history of the Silk Road, which foreign monks used to travel into China. This study, therefore, is attempting to translate and analyze The Translators of Scripture Section (??) in The Liang Gaoseng Zhuan. This is to create a Thai translation on the text and to provide some basic research on the study of the history of the Silk Road and Buddhism in China through the stories of the monks in this section. The study focuses only on the Han and Wei period, the first period where monks from India and Central Asia traveled by the Silk Road to spread Buddhism into China.The Qualitative Method, Textual Criticism, Critical Reading, and Content Analysis are four methods used to do the research. In revising the text, three collections of the Liang Gaoseng Zhuan: two Korean collections, and the Taish? collection are used to be the base texts. After revision, the revised text is interpreted into Thai, along with footnotes to explain some difficult words or specific situation in Chinese history to make the translation easily to understood.The results given from this research including the Thai translation of the Gaoseng Zhuan, which provides the biographies of K??yapam?ta?ga (???); Dharmaratna (???); ?n Sh? G?o (???); Lokak?ema (????); Dharmak?la (????); and Vighna (???). Basic research on these biographies about history, politics, social conditions, and the development of Buddhism during the Han and Wei Dynasty are also provided, which will be of great beneficial to further research and understanding.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ