Description
การศึกษาเรื่อง การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ทรัพยากรลิงในอัตลักษณ์วิถีถิ่นเมืองลพบุรี" มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาศักยภาพทางการท่องเที่ยวทรัพยากรลิงและอัตลักษณ์ทางการท่องเที่ยวของจังหวัดลพบุรี ศึกษาผลกระทบของการท่องเที่ยวจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับลิง และจัดทำรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ทรัพยากรลิงและอัตลักษณ์ทางการท่องเที่ยวของจังหวัดลพบุรี เพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ทรัพยากรลิงในอัตลักษณ์วิถีถิ่นเมืองลพบุรี การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มภาคีที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทรัพยากรลิงที่เป็นภาครัฐและภาคเอกชน โดยใช้การจัดประชุมกลุ่ม (2) กลุ่มตัวอย่างชุมชนที่อาศัยบริเวณแหล่งท่องเที่ยวทรัพยากรลิง โดยการสัมภาษณ์ (3) นักท่องเที่ยวชาวไทย โดยสุ่มตัวอย่างแบบทอดสะดวก จำนวน 400 ตัวอย่าง ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม โดยใช้วิธีการทางสถิติวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา จากนั้นจึงทำการจัดประชุมกลุ่ม เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากภาคีที่เกี่ยวข้องเพื่อความสมบูรณ์ของข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า แหล่งท่องเที่ยวและสถานที่ที่เกี่ยวเนื่องกับทรัพยากรลิงมีจำนวน 12 แห่ง และผลการประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว พบว่า แหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพระดับดีมาก จำนวน 1 แห่ง ศักยภาพระดับดี จำนวน 7 แห่ง และศักยภาพปานกลาง จำนวน 2 แห่ง ด้านผลกระทบของการท่องเที่ยวจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับลิง พบว่า ส่วนใหญ่ภาคีให้ความสำคัญกับผลกระทบทางลบมากกว่าทางบวก เช่น ผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม จากพื้นที่ทับซ้อนกันระหว่างคนกับลิง ตลอดจนผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวอยู่ในช่วงซบเซา จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แสดงให้เห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการบรรเทาปัญหาด้วยการบูรณาการจากทุกภาคส่วน ขณะเดียวกัน ได้ทำการสอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวทรัพยากรลิงลพบุรี พบว่า ส่วนใหญ่เคยเดินทางมาเที่ยวจังหวัดลพบุรีมากกว่า 2 ครั้ง เดินทางมาเป็นครอบครัวโดยรถยนต์ส่วนตัว และเมื่อกล่าวถึงจังหวัดลพบุรีจะนึกถึงลิง สิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องการ คือ ควรกำหนดจุดให้อาหารลิงให้ชัดเจน และควรมีเจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลและดูแลความปลอดภัย นอกจากนี้การกำหนดรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ทรัพยากรลิงในอัตลักษณ์วิถีถิ่นเมืองลพบุรี ที่คำนึงถึงความยั่งยืน ได้ 4 เส้นทาง ได้แก่ (1) เที่ยวดูลิงแล้วจะรัก รู้จักจะรักลิง เน้นการท่องเที่ยวสร้างสรรค์ เรียนรู้วิถีชีวิตและพฤติกรรมลิง (2) ตามรอยวานร ตำนานเมืองลพบุรี เน้นการท่องเที่ยวเรียนรู้ประวัติศาสตร์และตำนานเมืองลพบุรี (3) เยือนเมืองหนุมาน เมืองทหารเอกพระราม กิจกรรมท่องเที่ยวเรียนรู้และผจญภัย (4) ชุมชนพหุวัฒนธรรม วิถีถิ่นเมืองลพบุรีเน้นการร่วมกิจกรรมท่องเที่ยววิถีชุมชนที่หลากหลายของจังหวัดลพบุรี จากนั้น กำหนดแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ทรัพยากรลิงในอัตลักษณ์วิถีถิ่นเมืองลพบุรี ควรสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยวในแต่ละพื้นที่ พร้อมทั้งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่สะท้อนอัตลักษณ์และเหมาะสมกับบริบทพื้นที่ตามศักยภาพด้านการท่องเที่ยว และการพัฒนาการสื่อความหมาย ควรมุ่งเน้นการสร้างความรู้และความเข้าใจเรื่องวิถีชีวิตและพฤติกรรมลิงให้แก่ชุมชนและนักท่องเที่ยวที่มาเยือน ตระหนักถึงการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับลิง<br><br>The objectives of the research regarding Creative Tourism Development of Monkey-Based Attractions in Local Identity of Lop Buri City were to study the potential of monkey resource tourism and the tourism identity of Lop Buri province and the impacts of tourism on the interactions between humans and monkeys and to create a model of creative tourism activities based on monkey resources and tourism identity of Lop Buri province. This led to the formulation of guidelines for the development of creative tourism on monkey resources in the identity of the local way of Lop Buri. This study was participatory research. The sample groups and key informants consisted of 3 groups: (1) the government and private sectors involved in monkey resource tourism by organizing group meetings, (2) sample groups of communities living in monkey resource tourist attractions. The interviews were conducted by having (3) Thai tourists of 400 people participating. The data were collected from the questionnaire by using statistical methods which were conducted in the form of quantitative data analysis. For qualitative data analysis, the content analysis was performed. Then, the group meeting was categorized to acquire points of view from the related parties for the integrity of the information.The results of the study showed that there were 12 tourist attractions and places related to monkey resources and the results of the assessment of the potential of tourist attractions expressed that 1 tourist attraction was at a level of excellent potential, followed by 7 places with good potential, and 2 places with medium potential. The impact of tourism on the interactions of humans and monkeys was found that most of the parties focused more on negative impacts than positive ones, such as social and environmental impacts in terms of overlapping areas between humans and monkeys as well as the impact on the economy from tourism in the sluggish period from the Covid-19 pandemic. Additionally, the results also revealed that there was an urgent need to alleviate the problem through integration from all sectors. At the same time, a questionnaire was conducted for collecting the opinions of Thai tourists on the development of monkey tourism in Lop Buri. It was found that most of them had visited Lop Buri more than 2 times, traveling as a family in their private cars. Moreover, when talking about Lop Buri, most people thought of monkeys.Tourists expressed their thought that they wanted the location of the monkey feeding station to be properly marked. Officers should be there to offer information and ensure safety. In addition, the development of innovative tourist activities for monkey resources that are consistent with the Lop Buri way of life and are sustainable. There are four options concluded based on the information collected: (1) Visit to see monkeys you will love them, know how to adore them, which mainly focuses on creative tourism, learning about monkeys’ way of life and behaviors; (2) "Follow the monkey paths, legends of Lop Buri," prioritizing the tourism providing knowledge of the history and legends of Lop Buri; (3) "Pay a visit to Hanuman’s city, the Military Town of Phra Ram’s greatest soldier, activities for learning and adventure tourism; (4) "Lop Buris Multicultural Community Lifestyle, emphasizing on involvement in a variety of community lifestyles. The guidelines should be set next for the development of creative tourism on monkey resources in the identity of the local way of Lop Buri and build the network to connect tourism in each area as well as develop tourist attractions to provide creative tourism activities that reflect their identity and are suitable for the context of the area according to the potential of tourism and the development of communication. The priority is to focus on building knowledge and understanding of monkey lifestyle and behaviors for the community and visitors who visit the province so that they acknowledge the coexistence between humans and monkeys.
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read