Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การพัฒนาอุปกรณ์นวัตกรรมทางการยศาสตร์เพื่อป้องกันกา...

TNRR

Description
ปัจจุบันผู้ใช้สมาร์ทโฟนมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีอรรถประโยชน์ที่หลากหลาย โดยขณะใช้สมาร์ทโฟน ผู้ใช้มักใช้งานขณะที่คอและไหล่อยู่ท่าทางที่ไม่ถูกต้องตลอดระยะเวลาการใช้งาน ส่งผลทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อของคอและไหล่ได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องตระหนักและท้าทายในการป้องกันโดยการศึกษาถึงสาเหตุเชิงชีวกลศาสตร์ได้แก่ จลนศาสตร์ โมเมนต์โน้มถ่วง และการทำงานของกล้ามเนื้อ รวมถึงการหาท่าทางของคอและไหล่ที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้สมาร์ทโฟนในท่ายืน นอกจากนี้การศึกษานี้ยังได้พัฒนาอุปกรณ์นวัตกรรมสำหรับพยุงแขนซึ่งถูกออกแบบตามหลักการทางชีวกลศาสตร์ โดยน้ำหนักของแขนถูกถ่ายแรงไปยังอุปกรณ์ ซึ่งส่งผลทำให้สามารถลดโมเมนต์โน้มถ่วงของรยางค์ส่วนบนและทำให้ลดการทำงานของกล้ามเนื้อคอและไหล่ได้ วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์นวัตกรรมสำหรับพยุงแขนร่วมกับการปรับท่าทางของคอและไหล่ต่อการทำงานของกล้ามเนื้อขณะใช้งานสมาร์ทโฟน รวมถึงการล้าของกล้ามเนื้อและความรู้สึกไม่สบายของคอและไหล่ดังนั้นการศึกษานี้จึงประกอบไปด้วย 3 การศึกษาย่อยคือ 1) ศึกษาผลของมุมก้มคอต่อโมเมนต์โน้มถ่วงและการทำงานของกล้ามเนื้อคอขณะใช้งานสมาร์ทโฟนในท่ายืน 2) ศึกษาผลของท่าทางของไหล่ต่อการทำงานของกล้ามเนื้อคอและไหล่และความรู้สึกไม่สบายขณะใช้งานสมาร์ทโฟน และ 3) ศึกษาผลของอุปกรณ์นวัตกรรมสำหรับพยุงแขนในการลดการทำงานและความล้าของกล้ามเนื้อคอและไหล่ผลการศึกษาพบว่าเมื่อมุมก้มคอเพิ่มขึ้นทำให้โมเมนต์โน้มถ่วงของคอเพิ่มขึ้น การทำงานของกล้ามเนื้อ cervical erector spinae (CES) เพิ่มขึ้น ในขณะที่การทำงานของกล้ามเนื้อ upper trapezius (UT) ลดลง โมเมนต์โน้มถ่วงของคอที่น้อยที่สุดพบในมุมก้มคอ 0o องศา ซึ่งสอดคล้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อ CES และความรู้สึกไม่สบายบริเวณน้อยที่สุดในมุมนี้เช่นกัน ส่วนกล้ามเนื้อ anterior deltoid (AD) และกล้ามเนื้อ lower trapezius (LT) พบว่ามีการทำงานเพิ่มขึ้นเมื่อมุมงอไหล่เพิ่มขึ้น ซึ่งตรงกันข้ามกับการทำงานของกล้ามเนื้อ CES และกล้ามเนื้อ UT มุมงอไหล่ที่มีการทำงานของกล้ามเนื้อที่ยอมรับได้มากที่สุดคือ 30o องศา ซึ่งในมุมนี้ยังพบว่ามีความไม่สบายของคอและไหล่น้อยที่สุด การใช้อุปกรณ์นวัตกรรมสำหรับพยุงแขนพบว่าลดการทำงานของกล้ามเนื้อทุกมัดกล้ามเนื้อ ในกลุ่มควบคุมพบว่าการล้าของกล้ามเนื้อทุกมัดมีความล้าเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาการทดสอบ ยกเว้นกล้ามเนื้อ LT ในขณะที่กลุ่มที่ใช้อุปกรณ์นวัตกรรมสำหรับพยุงแขนไม่พบความแตกต่างความล้าของกล้ามเนื้อในแต่ช่วงเวลาของการทดสอบดังนั้นจากผลการศึกษาทั้ง 3 การศึกษาจึงแนะนำให้ผู้ใช้สมาร์ทโฟนควรใช้งานในท่าทางที่คอตั้งตรง 0o องศา เพื่อลดโมเมนต์โน้มถ่วงของคอที่กระทำต่อกระดูกสันหลังส่วนคอ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดความไม่สบายบริเวณคอได้ นอกจากนี้ ผู้ใช้สมาร์ทโฟนควรถืออุปกรณ์สมาร์ทโฟนอยู่ในท่างอไหล่ประมาณ 30o องศาร่วมกับการปรับมุมคอท่าตั้งตรงร่วมด้วย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อของคอและไหล่ อุปกรณ์นวัตกรรมสำหรับพยุงแขนสามารถใช้เป็นคำแนะนำทางการยศาสตร์เพื่อลดการทำงานและการล้าของกล้ามเนื้อคอและไหล่ขณะใช้งานสมาร์ทโฟนได้<br><br>The number of smartphone users is growing dramatically because of their various advantageous features. While using smartphone, the user tended to adopt awkward postures of neck and shoulder for extended duration. Such postures impose the risk of musculoskeletal disorders on those body parts. This is of concern and challenges to preventive initiatives by studying biomechanical causes based on kinematics, gravitational moment, and muscle activation, as well as find the appropriate neck and shoulder posture for smartphone users while standing. Moreover, this study developed the ergonomic arm support prototype device and designed based on biomechanical principles. The whole arm weight is transferred to the device, which could reduce the gravitational moment of the upper extremities resulting in decreased neck and shoulder muscle loading. The purpose of this study was to evaluate the effect of an ergonomic arm support prototype device with appropriate neck and shoulder posture adjustment on muscle activity during smartphone use to determine muscle fatigue and discomfort in the neck and shoulders. Accordingly, the current study conducted three sub-studied including: 1) Influence of neck flexion angle on gravitational moment and neck muscle activity when using a smartphone while standing; 2) The effects of shoulder posture on neck and shoulder musculoskeletal loading and discomfort during smartphone usage; 3) Ergonomic arm support prototype device for smartphone users reduces neck and shoulder musculoskeletal loading and fatigue. When the neck flexion angle increased, the gravitational moment of the neck increased significantly. The muscle activity of cervical erector spinae (CES) significantly increased when the neck flexion angle increased, whereas that of upper trapezius (UT) decreased. The lowest gravitational moment of the neck at 0? flexion was consistent with the lowest CES muscle activity and the lowest neck discomfort score. Anterior deltoid (AD) and lower trapezius (LT) muscle activity were significantly increased when the shoulder flexion angle increased with an opposite effect on CES and UT. The most compromised activity of these four muscles was found at 30o shoulder flexion. This angle also induced the lowest neck/shoulder discomfort score. The ergonomic arm support prototype device (intervention) condition showed significantly decreased activity of all muscles. Fatigue of all muscles, except LT, significantly increased over time compared to the start point in the control condition. There was no significant difference in muscle fatigue between each time point in the intervention condition.According to all these results, for texting while standing, smartphone users should maintain their neck posture at 0? flexion to reduce the gravitational force acting on the cervical spine and alleviate neck discomfort. Moreover, they should hold their device at approximately 30o shoulder flexion angle with their neck in a neutral posture to reduce the risk of shoulder and neck musculoskeletal disorders. The ergonomic arm support prototype device can be used as ergonomic intervention to further reduce neck and shoulder muscular loading and fatigue when smartphone texting.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ