Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การพัฒนาจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์อ...

TNRR

Description
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่ 2) พัฒนากระบวนการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์อาหารในจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว และ 3) จัดทำแนวทางการสร้างแบรนด์จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่ ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสัมภาษณ์ แบบสำรวจความต้องการ แบบบันทึกการประชุมและแบบประเมินผลการดำเนินการกับกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้เกี่ยวข้องในชุมชนจำนวน 120 ตัวอย่าง และกลุ่มผู้สนับสนุน จำนวน 35 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์เชิงประเด็น ผลการศึกษาพบว่าด้านรูปแบบการจัดการจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์อาหารนั้นมีองค์ประกอบ 3 ส่วนคือด้านนโยบาย ด้านการจัดการ และด้านการดำเนินการ ด้านกระบวนการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์อาหารในจุดหมายปลายทางมีกระบวนการ 5 ขั้นตอน คือ 1) กำหนดธีม 2) ค้นหาคุณค่าเชิงบวก 3) แก้ไขภาพลักษณ์เชิงลบ 4) ออกแบบเรื่องราวและวิธีการเล่าเรื่อง และ 5) ออกแบบนวัตกรรม และด้านแนวทางการสร้างแบรนด์จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์อาหารพบว่ามีแนวทางสำคัญ 3 ส่วนคือ 1) การหาเอกลักษณ์ของพื้นที่ การสร้างชื่อ สัญลักษณ์ หรือภาพจำ 2) การนำเสนอรูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อให้นักท่องเที่ยวมีความทรงจำที่ดี และ3) การกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวเกิดความชอบและสามารถจดจำสถานที่ ทั้งนี้ด้านเอกลักษณ์ของพื้นที่นั้นเป็นพืชที่โดดเด่นได้แก่ มะแขว่นปางมะกล้วย ถั่วเหลืองดอนเจียง และ ปืนนกไส้สันต้นเปาด้านการนำเสนอให้เกิดความทรงจำที่ดีใช้วิธีการสร้างประสบการณ์แก่นักท่องเที่ยว และด้านการกระตุ้นให้เกิดความชอบนั้นใช้ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์และการแพทย์แผนไทย ผลประเมินการดำเนินการพบว่าด้านการใช้นวัตกรรมท้องถิ่นนั้นชุมชนมีความโดดเด่นด้านการแสวงหาความรู้ การใช้ทุนชุมชน และด้านการมีภาคีเครือข่ายมากที่สุด มีผลการประเมินเฉลี่ยในระดับระดับมากที่สุด (4.67) ส่วนด้านการสร้างประสบการณ์นั้นพบว่าชุมชนมีความโดดเด่นในการให้ความรู้และการสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ที่หลีกหนีจากความจำเจ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (4.89) ด้านแนวทางการสร้างแบรนด์จุดหมายปลายทางพบว่าได้รับการประเมินในระดับมากที่สุด (4.89) ทั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าทุกภาคส่วนควรร่วมมือกันขับเคลื่อนงานตามภาระหน้าที่ของตน<br><br>The objectives of this research project were to: 1) develop a management model for experiential gastronomy tourism destination in Chiang Mai; 2) develop a process to add value and value to experiential gastronomy tourism in a destination; and 3) develop a destination branding guideline for experiential gastronomy tourism in Chiang Mai. A quantitative and qualitative integrated research was used. Data were collected using interview, need survey, meeting minutes, and an operation evaluation from two groups of people, 120 stakeholders and 35 supporters. The data were analyzed by using descriptive statistics, content analysis and thematic analysis.The study revealed that the management model consists of three components: policy; management and operations. The process of adding value and value in destinations involves a five-step process: 1) formulating a theme 2) finding positive values 3) correcting negative perceptions 4) designing stories and narrative methods. and 5) designing innovations. In terms of branding guidelines for experiential gastronomy tourism destinations, there were three key approaches: 1) finding the identity of the area, creating a name, symbol or image; 2) presenting tourism activities for the tourists to have good memories and 3) encouraging tourists to like and remember the places. The uniqueness of the areas is the outstanding plants, namely Ma-Kuaen in Pang Ma Kluay, Don Jiang Soybean and Spanish Needle of San Ton Pao. Presenting tourism for good memories can be done based on creation of experiences for tourists. The aspect of inducing preference is based on scientific data and Thai traditional medicine. The evaluation results revealed that for local innovation, the community was outstanding in the pursuit of knowledge, community capital, and having network of partners. The average evaluation score was at the highest level (4.67). As for the experience building, it was found that the community was outstanding in providing knowledge and creating new experiences. The results were at the highest level (4.89). As for the destination branding guidelines, the evaluation score was at the highest level (4.89). It was suggested that all sectors should work together to drive work in accordance with their missions.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ