Description
การจัดการมูลฝอยอย่างยั่งยืนเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็น แนวทางจัดการที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมุ่งเน้นเพื่อให้ประสบผลสำเร็จ โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณและองค์ประกอบมูลฝอยในชุมชนและสถานที่กำจัดมูลฝอย (Site-specific study) และเพื่อศึกษาอัตราการนำมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ด้วยการลงพื้นที่และกระจายแบบสอบถามครอบคลุมทั้ง 5 ภูมิภาค โดยแผนการดำเนินงานของโครงการนี้ มุ่งเน้นศึกษาการรวบรวม และการจัดการมูลฝอยปลายทาง ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับโครงการการศึกษาประเมินการเกิดขยะมูลฝอยโดยวิธีการวิเคราะห์การไหลวัสดุ เพื่อให้มองเห็นภาพรวมของระบบตั้งแต่การผลิต การใช้งาน การทิ้ง และการจัดการมูลฝอยที่เกิดขึ้น ข้อมูลปริมาณและองค์ประกอบมูลฝอยที่รวบรวมได้จะถูกนำมาหาความสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ เช่น ขนาด อปท. ลักษณะการใช้ที่ดิน ประชากร เป็นต้น เพื่อจัดทำสมการเชิงสถิติในการคาดการณ์ปริมาณมูลฝอย ซึ่งผลที่ได้พบว่า ในภาพรวมทั้งประเทศ เขตการปกครองพิเศษ เทศบาลนคร เทศบาลเมือง และจำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร์ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อปริมาณมูลฝอยที่เข้าสู่สถานที่กำจัด ขณะที่ขนาดของ อปท. ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน ฤดูฝน/ฤดูแล้ง วันหยุด/วันธรรมดา และ ฤดูท่องเที่ยวสูง/ต่ำ กลับไม่ส่งผลต่อลักษณะองค์ประกอบมูลฝอย ณ ปลายทาง โดยจากสมการคาดการณ์ปริมาณมูลฝอย ณ สถานที่กำจัด พบว่า ประเทศไทยมีปริมาณมูลฝอยที่เข้าสู่สถานที่กำจัด 47,363 ตัน/วัน ซึ่งประกอบด้วยมูลฝอยอินทรีย์และพลาสติกเป็นหลักกว่าร้อยละ 60-70 โดยพลาสติกส่วนมากเป็นถุงหูหิ้ว เนื่องจากมีระยะเวลาในการใช้งานสั้น ขณะที่ขวดแก้วหรือขวดพลาสติก (PET) พบได้น้อย เพราะมีการคัดแยกออกไประหว่างทาง ซึ่งในระหว่างทางการเก็บขน มีการคัดแยกมูลฝอยรีไซเคิล 3,168 ตัน/วัน ส่วนใหญ่เป็นพลาสติกร้อยละ 29 รองลงมาเป็นขวดแก้ว กระดาษ โลหะ และอื่นๆ ตามลำดับ ในส่วนของแหล่งกำเนิด พบว่า มีปริมาณมูลฝอยเกิดขึ้น 63,215 ตัน/วัน (0.96 กก./คน/วัน) โดยมีการคัดแยกมูลฝอยรีไซเคิลออกไปตั้งแต่แหล่งกำเนิดประมาณ 12,643 ตัน/วันคำสำคัญ: ขยะมูลฝอยชุมชน การจัดการของเสีย การคาดการณ์ของเสียที่เกิดขึ้น องค์ประกอบขยะมูลฝอย<br><br>Municipal waste should be sustainably managed along with a circular economy to minimize environmental impact. A good collection system and management are the keys to achieving. Therefore, this study aimed to investigate municipal waste quantity, composition, and recycling waste, especially in transfer stations and landfill/incineration. The data were collected by on-site investigation and questionnaire in 5 regions. The scope of this work included specifically waste collection and waste management. This work is related to a project Estimation of Municipal Solid Waste Generation using Material Flow Analysis to link the overall waste system i.e., product consumption, waste disposal, waste collection, landfill/incineration. The data were analyzed statistically the relationship between factors (e.g., municipality type, population) and waste quantity/composition to form the equations for waste prediction. The results showed that special administrative areas, city municipality, town municipality, and population affected the waste disposal in the landfill/incinerator. While municipality type, land use, season, weekend/weekday, and high/low season did not affect the waste composition. According to the prediction equation, there were 47,363 ton/d of waste in landfill/incineration. Organic and plastic waste was found at around 60-70%. Main plastic waste was single-used plastic because of a short lifetime. Glass and PET plastic were found less due to separation previously. During the waste transportation, recycling waste was separated 3,168 ton/d with 29%plastic. The 63,215 ton/d (0.96 kg/cap/d) of waste was generated in households. The 12,643 ton/d of waste were separated into a recycling collector.Keywords: Municipal solid waste (MSW), Waste management, Waste prediction, Waste composition
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read