Notifications

You are here

อีบุ๊ค

โครงการพัฒนาและผลิตท่อนพันธุ์สะอาดนำร่องเพื่อช่วยเ...

TNRR

Description
ปีการผลิตอ้อย 2562/63 ประเทศไทยกำลังเกิดสภาวะแล้งเนื่องจากฤดูฝนมาช้าและมีปริมาณน้ำฝนน้อย จึงเป็นปัญหากับเกษตรกรทุกภาคส่วน โดยเฉพาะเกษตรกรที่ปลูกอ้อย เนื่องจากการปลูกอ้อยในช่วงแรกต้องใช้น้ำเพื่อการเจริญเติบโตของอ้อย เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคเหนือ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งเป็นส่วนจำนวนมากโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการงานวิจัยในการผลิตท่อนพันธุ์อ้อยสะอาด สามารถต่อยอดการนำไปใช้ประโยชน์ในภาวะที่เกษตรกรขาดแคลนท่อนพันธุ์เป็นการผลิตท่อนพันธุ์สะอาดในระดับนำร่องเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในภาวะขาดแคลนท่อนพันธุ์และเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศในเรื่องปัญหาภัยแล้งโดยมีการช่วยเหลือและกระจายท่อนพันธุ์สะอาดให้กับเกษตรกรต้นแบบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคกลาง และภาคเหนือ วางแผนการดำเนินงานออกเป็น 4 กิจกรรม คือ 1. แปลงพันธุ์อ้อยสำหรับกระจายท่อนพันธุ์สะอาด 2. การถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาและผลิตท่อนพันธุ์สะอาดนำร่องแก่เกษตรกรในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3. การขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแช่ข้อตาด้วยยาปฏิชีวนะร้อน และ 4. การขยายพันธุ์อ้อยด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแบบจุ่มชั่วคราว (Bioreactor) ซึ่งทางโครงการฯ ได้ดำเนินการขยายพันธุ์อ้อยแบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและท่อนพันธุ์สะอาดการผลิตท่อนพันธุ์อ้อยสะอาดใช้พันธุ์KK3 LK92-11 Kps01-12 K95-84 และทองภูมิ 6 และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ใช้พันธุ์ KK3 KK07-599 Kps01-12 ทองภูมิ 6 KKU99-02 KKU99-06 CSB09-24 CSB11-612 CSB11-614 และ CSB11-615 ติดต่อประสานงานกับทางโรงงานน้ำตาลต่างๆ เพื่อดำเนินการแจกท่อนพันธุ์ให้กับเกษตรกร และอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตท่อนพันธุ์อ้อยสะอาดนำร่องให้แก่เกษตรกร ด้วยความร่วมมือกับโรงงานน้ำตาล โรงงานน้ำตาลบุรีรัมย์ โรงงานน้ำตาลวังขนาย(มหาวัง) โรงงานไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม(สกลนคร) โรงงานเกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น (รวมผล) โรงงานน้ำตาลนครเพชร โรงงานน้ำตาลสระบุรี(สระโบสถ์) และโรงงานน้ำตาลรีไฟน์ชัยมงคล(อู่ทอง) จำนวนท่อนพันธุ์ส่งมอบให้กับเกษตรกรจำนวน 1,016 ตัน เกษตรกรจำนวน 334 ราย พื้นที่ปลูก 676 ไร่ ในปีการผลิต 2564/65 การอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตท่อนพันธุ์สะอาดนำร่อง มีเกษตรกรและเจ้าหน้าที่เข้าร่วมการอบรม 303 ราย การขยายพันธุ์อ้อยด้วยเทคนิคยาปฏิชีวนะร้อน ร่วมกับโรงงาน 2 โรงงาน คือโรงงานน้ำตาลบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ และโรงงานเกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น (รวมผล) จ.นครสวรรค์ เพื่อทำเป็นแปลงพันธุ์ได้ในปีการผลิตต่อไป จำนวน 25 ไร่และการขยายพันธุ์อ้อยด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จำนวนกล้าอ้อย 50,500 ต้น ปลูกได้ในพื้นที่ 15 ไร่ ในปีการผลิต 2564/65 ไร่ คำสำคัญ: อ้อยสะอาด การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การขยายพันธุ์อ้อยด้วยเทคนิคยาปฏิชีวะร้อน<br><br>Thailand had the problem from the drought status in 2563/64 because the rainy seasons had been come late and low the rain levels which had some problem the most of sugarcane farmers. Nevertheless, sugarcane farmers on north central and northeast areas of Thailand needed the water for vegetative growth of sugarcane. This objective is integration of research projects for seed cane production on drought areas and reduced pathologen in sugarcane for sugarcane farmers in North Central and Northeast regions. This project had 4 activities: seed cane production, transfer hot antiobiotic technology, seed cane production by hot antibiotic technique and cane plants production by tissue culture technique. This project is use KK3 LK92-11 Kps01-12 K95-84 and Thongphum6 by seed cane production to give the sugcane farmer in 3 regions of Thailand. Sugarcane vaieties are used: KK3 LK92-11 Kps01-12 K95-84 Thongphum6 KK07-599 KKU99-02 KKU99-06 CSB09-24 CSB11-612 CSB11-614 CSB11-615 by tiisue culture (Bioreactor). The co-ordinator millers are Buriram, Wangkanai (Mahawang), Thai roong ruang sugar (Sakon Nakhon), Kaset thai international sugar corporation (Ruamphol), Nahornphet, Saraburi (Sa Bot) and U-thong industry.Seed cane production is 1,016 tons for 334 sugarcane farmers in 676 rai and 50,500 plants by tissue culture in 15 rai. Seed cane by hot antibiotic technique is 80,000 plants in 25 rai. Hot antibiotic technique transfer techonology by training is 303 persons on sugarcane farmers and field representative of millers. Key word: seed cane hot antibiotic technique tissue culture

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ