Notifications

You are here

อีบุ๊ค

นโยบายการจัดที่ดินทำกินบนพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 แ...

TNRR

Description
โครงการวิจัยเรื่องนโยบายการจัดที่ดินทำกินบนพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 : วิกฤติหรือยั่งยืน มีวัตถุประสงค์ 7 ประการ คือ (1) เพื่อรวบรวมนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำในประเทศไทย โดยเฉพาะลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ในภาพรวม (2) เพื่อจัดทำฐานข้อมูลนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่ ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 โดยเรียงลำดับตามเวลาในลักษณะจดหมายเหตุ (3) ทบทวนประสบการณ์นานาชาติในการบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำและความเชื่อมโยงกับการเกษตร (4) เพื่อทบทวนสถานภาพของพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ทั้งที่ยังคงสภาพและที่เปลี่ยนไปใช้เพื่อการเกษตรและกิจกรรมอื่นๆ อยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับภาคเกษตรในพื้นที่ตอนล่างของลุ่มน้ำ รวมทั้งภัยพิบัติ (5) เพื่อรวบรวมปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ที่ไม่สามารถบังคับใช้ ตามกฎหมายที่รัฐได้กำหนดไว้ (6) เพื่อถอดบทเรียนผลกระทบต่อการเกษตรและภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ในอดีตถึงปัจจุบัน (7) กำหนดนโยบายและมาตรการในการบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ที่เชื่อมโยงกับภาคการเกษตรไทยและลดภัยพิบัติในอนาคตกรอบแนวคิดในการศึกษาเรื่องนี้มาจากสาเหตุของปัญหาที่ว่า รัฐได้มีนโยบายการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำไว้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2525 โดยกำหนดให้ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 นั้น ให้เก็บไว้เป็นต้นน้ำลำธาร ห้ามมิให้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะพื้นที่ป่าไม้เป็นรูปแบบอื่นอย่างเด็ดขาด ต่อมาเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 เป็นที่ดินทำกินภายใต้โครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ แต่เนื่องจากพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำที่สูงที่สุดของพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งหมดและเป็นแหล่งเก็บกักน้ำและอำนวยน้ำให้กับพื้นที่ตอนล่างของลุ่มน้ำซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่การเกษตร จึงเกรงว่าหากนำมาใช้โดยไม่มีมาตรการที่เหมาะสม จะมีผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ตอนล่างของลุ่มน้ำจากภัยพิบัติทั้งดินถล่มและการชะล้างพังทลายของดิน รวมทั้งการขาดแคลนน้ำและอุทกภัย ในพื้นที่ตอนล่างของลุ่มน้ำในอนาคต จึงควรกำหนดนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ขึ้นเป็นการเฉพาะ วัตถุประสงค์หลักของโครงการวิจัยนี้คือการพัฒนาลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ให้มีสมดุลระหว่างระบบนิเวศและคุณภาพชีวิตของผู้ที่ได้รับการจัดที่ดินทำกินควบคู่กัน จึงได้มีการทบทวนวรรณกรรม เรื่องนโยบายการบริหารจัดการลุ่มน้ำในอดีตพร้อมทั้งการสำรวจในสนามทั้งด้านกายภาพ และด้านเศรษฐกิจและสังคมของผู้มีส่วนได้เสียรวม 3 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐ ภาคเอกชน และผู้บริหารท้องถิ่น (2) เกษตรกรภาคเหนือ และ(3) เกษตรกรภาคใต้ พบว่ามีปัญหาที่ถอดบทเรียนได้ 9 ประการ คือ (1) นโยบายในการบริหารจัดการลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ไม่มีเอกภาพ (2) มีการกำหนดนโยบายแต่ไม่มีการปฏิบัติ (3) การบริหารจัดการยึดกฎหมายเป็นหลัก โดยไม่คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน (4) การบังคับใช้กฎหมายไม่มีประสิทธิภาพ (5) การแก้ปัญหาบางประการดำเนินการโดยไม่มีความพร้อม (6) ขาดการบูรณาการระหว่างส่วนราชการ (7) ความล้มเหลวของการใช้เวลาเป็นหลักเกณฑ์ในการเข้าทำกินของราษฎรในพื้นที่ป่าไม้มากำหนดเป็นนโยบายในการแก้ไขปัญหา (8) การกำหนดนโยบายการเกษตรไม่สอดคล้องกับนโยบายป่าไม้ และ(9) ขาดระบบข้อมูลที่ใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการรวม 5 ด้าน คือ (1) การวางแผนการใช้ที่ดิน (2) การสร้างสมดุลในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต (3) การลดการใช้พื้นที่การเกษตร (4) การบูรณาการในการขับเคลื่อนการจัดที่ดินทำกิน และ (5) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2<br><br>The research project Policies for allocating arable land on Class 1 and Class 2 watershed areas : Critical or sustainable has seven objectives, namely: (1) to review the policies for managing watershed areas in Thailand, especially in Class 1 and Class 2 watershed areas as a whole; (2) to create a database of management policies for Class 1 and Class 2 watershed areas, arranged chronologically in an archival form; (3) to review international experiences in watershed management and its linkage with agriculture; (4) to review the current status of the Class 1 and Class 2 watershed areas, including those that remain in the original state and those that have now changed the use to agriculture and other activities, as well as the impact on agricultural activities in the lower basin and disasters; 5) to identify problems and obstacles in managing the Class 1 and Class 2 watershed areas that cannot be enforced by law; 6) to draw lessons learned from the impact of management of Class 1 and Class 2 watershed areas on agriculture and disasters from the past to the present; and 7) to formulate policies and measures for managing the Class 1 and Class 2 watershed areas that are linked to the Thai agricultural sector and to reduce future disasters.The conceptual framework of this study stems from the cause of the problem, that is the inappropriate use of the watershed area. According to the Cabinet Resolution on July 27, 1982, the government determined that watershed areas with the quality classified as Class 2 and Class 2 should be kept as water sources. It is strictly forbidden to change the feature of the forest area to other forms. Subsequently, on November 26, 2018, the government passed a resolution allowing the use of Class 1 and Class 2 watershed areas as arable land. It is operated under the Land Allocation for the Community project by the National Land Policy Committee. However, Class 1 and Class 2 watershed areas are the highest watershed forest areas of the entire watershed area. They serve both as a reservoir and water supply to the lower parts of the basin, which are mostly agricultural areas. There is concern that if such land is used without proper measures, it will affect agriculture areas in the lower basin in terms of disasters, specifically landslides and soil erosion, as well as water shortages and floods in the lower watershed areas in the future. Therefore, it is necessary to formulate specific policies to manage Class 1 and Class 2 watershed areas.The main goal of this research project is to manage Class 1 and Class 2 watershed areas so as to achieve a balance between the ecosystems and the quality of life of those who have been allocated the arable land. We reviewed the literature on watershed management policies in the past and conducted field surveys on physical, economic, and social aspects of three groups of stakeholders, as follows: (1) government officials, the private sector, and local administrators; (2) farmers in the North and (3) farmers in the South. The results showed that nine problems could be identified as the key lessons learned, as follows: (1) lack of uniformity in the policy of managing Class 1 and Class 2 watershed areas; (2) policy formulation without actual implementation; (3) strict use of law as the basis of management with little regard to public participation; (4) ineffectiveness of law enforcement; (5) solving certain problems without readiness; (6) lack of integration among government agencies; (7) failure in using time periods for farming in the forest areas as a key criterion to formulate the policy; (8) inconsistency between the agricultural policy and forest policy; and (9) lack of information systems to use as a decision-making tool.To achieve the goal and to solve the problems mentioned above, this study proposes management strategies in five areas, as follows: (1) land use planning; (2) balancing the environment and quality of life; (3) reducing agricultural land use; (4) integrating efforts to allocate arable land; and (5) enhancing efficiency in the management of Class 1 and Class 2 watershed areas.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ