Notifications

You are here

อีบุ๊ค

ศึกษาการเรียนรู้ร่วมกันของชาวนาและสร้างกลไกการบริห...

TNRR

Description
หมู่ที่ 6 บ้านคอกช้าง ตำบลฉาง อาชีพของคนในชุมชนปัจจุบันคือทำเกษตรสวนยางพาราร้อยละ 95 รายได้เฉลี่ยของคนในพื้นที่เท่ากับ 4,627.19 บาท/คน/เดือน ก่อนปี 2524 ชาวบ้านมีอาชีพทำนาและเป็นเจ้าของที่นาเกือบทุกครัวเรือน แต่ปัจจุบันเหลือเพียงร้อยละ 56 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด ส่วนหนึ่งเพราะนากลายเป็นพื้นที่นาร้างน้ำท่วมขังไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ปี 2563 นักวิจัยชุมชนได้ค้นพบปัญหาเชิงโครงสร้างในการจัดการน้ำแต่ยังไม่มีการแก้ไข จึงต้องการะศึกษาเงื่อนไขกลไกการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ มีส่วนร่วม สร้างการรับรู้และความเข้าใจให้กับคนในพื้นที่ต่อเรื่องการใช้น้ำร่วมกัน และกลไกการจัดการน้ำของชุมชนไปสู่การจัดการน้ำที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ได้จริงจากการศึกษารูปแบบกลไกการจัดการน้ำของพื้นที่เครือข่าย รวมถึงการจัดการน้ำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายคือน้ำเพื่อการฟื้นฟูนาร้างของชาวนาในพื้นที่หมู่ที่ 6 ตำบลฉาง วิธีวิจัยแบบเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ จำแนกข้อมูล และการวิเคราะห์เหตุการณ์ตามเรื่องราวแล้วนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตารางประกอบการวิเคราะห์ แบบบันทึกสังเกตแบบมีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มแบบ focus group วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อค้นพบจากการวิจัยมาเชื่อมโยงสร้างเป็นข้อสรุป พบว่าเงื่อนไขที่จะสร้างกลไกการบริหารจัดการน้ำของหมู่ที่ 6 ตำบลฉางในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่นาร้าง ด้วยองค์ประกอบหลัก 4 ส่วน คือ (1) คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ (2) โครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมสำหรับส่งน้ำเข้า-น้ำออก (3) ชาวนาที่มีความตั้งใจทำนาผลิตข้าว (4) งบประมาณโดยส่วนสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างกระบวนการขับเคลื่อนของกลไกการบริหารจัดการน้ำของหมู่ที่ 6 ตำบลฉางที่สามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่นาร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านกระบวนการเรียนรู้จากการดูงานในพื้นที่ประสบปัญหาในรูปแบบที่คล้ายกันแล้วถอดเงื่อนไขความสำเร็จในการบริหารจัดการน้ำและพัฒนากระบวนการทำนาที่ประสบผลสำเร็จ คือ ชุมชน ม.7 บ้านหัวกระทิง ต.ขุนตัดหวาย สู่การร่วมตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำของชุมชนตนเอง การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง และกระบวนการสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมให้กับชาวนาในพื้นที่ ผู้นำหมู่บ้าน และหน่วยงานที่รับผิดชอบได้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันต่อการบริหารจัดการน้ำท่วมขังและการพัฒนาการทำนาของชุมชนบ้านคอกช้าง ต.ฉางคำสำคัญ กลไกการบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม นาร้าง การทำนา<br><br>Moo 6, Ban Khok Chang, Chang, the 95 percent of people is to farm rubber plantations. The average income of locals is 4,627.19 baht/person/month. Before 1981, the villagers had a rice farming career and owned paddy fields almost every household. At the present, there are only 56 percent of the total household being the rice farmer . Partly, the paddy fields became abandoned areas because floodwaters could not be exploited. By 2020, community researchers discovered structural problems in water management but have not yet solved them. Therefore, we want to study the conditions of effective water management mechanisms, participate raising awareness and understanding for local people on water sharing and the communitys water management mechanism that is suitable for the conditions of this area, according to the study of the water management mechanism model of the network area. This includes water management to achieve the goal for the restoration of the abandoned fields in Moo 6, Chang Sub-district. Qualitative and quantitative research methods were applied, classify data and story-based event analysis then present the data as an analysis table, participatory note, in-depth interview and focus group discussions. Analyze and synthesize research findings to link, forming conclusions. Finding of the conditions to establish the effective water management mechanism of Moo 6, Chang Sub-district is leading the drive to tackle flooding in wastelands with four main components: (1) the Water Management Committee, (2) the infrastructure ready to send water in and out, (3) farmers with the intention of rice farming, (4) budget by contributing to the development of infrastructure for efficient water management. Create the driving process of the water management mechanism of Moo 6, Chang sub-district, which can effectively lead to the solution of flooding in abandoned areas. Through the process of learning from viewing work in the area, experiencing problems in a similar way. Then remove the conditions of success in water management and develop successful farming processes is the community of 7th grade, Ban Hua Krathing. T.Khun That Wai to jointly establish the water management committee of the community itself, structural solutions, and the process of raising awareness and participation for local farmers, village Leader and responsible agencies to Together we learned about flood management and farming development of Ban Khok Chang community.Keywords: participatory water management mechanism, abandoned fields, Rice farming

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ