Notifications

You are here

อีบุ๊ค

นโยบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวในเมือง...

TNRR

Description
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำตัวชี้วัดเพื่อประเมินและจัดกลุ่มเมืองรองทางการท่องเที่ยว จัดกลุ่มเมืองรองทางการท่องเที่ยวตามตัวชี้วัดที่สร้างขึ้น วิเคราะห์แนวปฏิบัติที่ดีของเมืองรองทางการท่องเที่ยว สังเคราะห์ข้อมูลด้านศักยภาพของฐานทรัพยากร กลไกการจัดการการท่องเที่ยว การตลาดและคุณภาพการบริการทางการท่องเที่ยวในเมืองรอง และจัดทำนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวในเมืองรองของประเทศไทยสู่ความยั่งยืน ซึ่งใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ การประชุม และการจัดส่งเอกสารเพื่อตรวจสอบผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้แทนภาครัฐส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ชุมชนท่องเที่ยว และนักวิชาการในเมืองรอง 55 จังหวัด ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการศึกษา พบว่า ตัวชี้วัดเมืองรองทางการท่องเที่ยวของประเทศไทย ประกอบด้วย 100 ตัวชี้วัด การจัดกลุ่มเมืองรองทางการท่องเที่ยวใช้ 2 เกณฑ์ ได้แก่ การจัดกลุ่มเมืองรองทางการท่องเที่ยวตามบทบาทและศักยภาพของเมืองรอง และประเด็นการท่องเที่ยว แนวปฏิบัติที่ดีของเมืองรองทางการท่องเที่ยวของไทยด้านเมืองศักยภาพเป็นสุโขทัยโมเดลและด้านเมืองนวัตกรรมเป็นบุรีรัมย์โมเดล ฐานทรัพยากรการท่องเที่ยวในเมืองรองของไทยมีระดับศักยภาพสูงกว่าความพร้อม ปัจจัยแวดล้อมทางการท่องเที่ยว ประกอบด้วย พื้นที่ ทรัพยากรการท่องเที่ยว บุคลากรทางการท่องเที่ยว การบริหารจัดการการท่องเที่ยว คุณภาพการบริการทางการท่องเที่ยว การตลาดการท่องเที่ยว พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว และกระแสจากภายนอก ส่วนกลไกการจัดการการท่องเที่ยวในเมืองรองยังอ่อนแอทั้งโครงสร้างและการติดตามการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ขาดความคล่องตัวในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ความเชื่อมั่นทางการท่องเที่ยวลดลง และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวไม่ทันสมัยนักท่องเที่ยวในเมืองรองส่วนใหญ่เป็นอยู่ในภาคและภูมิภาคเดียวกัน นิยมการเดินทางในระยะใกล้ จัดการการท่องเที่ยวด้วยตนเอง ใช้สื่อสังคมออนไลน์สืบค้นข้อมูล ปัจจัยประกอบการตัดสินใจเลือกแหล่งท่องเที่ยวเป็นค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก วางแผนล่วงหน้าน้อย วัตถุประสงค์หลักเพื่อการท่องเที่ยว/พักผ่อน ไม่จัดสรรเงินค่าท่องเที่ยวล่วงหน้า ระยะเวลาพำนักน้อย เดินทางกับครอบครัว/ญาติ โดยรถยนต์ส่วนตัว เลือกพักโรงแรม เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาประวัติศาสตร์/วัฒนธรรมท้องถิ่น จ่ายค่าอาหารสูงสุด และรู้สึกผ่อนคลายจากการเดินทางท่องเที่ยว (นักท่องเที่ยวชาวไทย) จ่ายค่าที่พักสูงสุด รู้สึกสนุกสนานจากการเดินทางท่องเที่ยว (นักท่องเที่ยวชาวไทย) จะกลับมาท่องเที่ยวซ้ำในอนาคต และจะบอกต่อคนอื่นให้มาท่องเที่ยวด้วย แต่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยด้านสุขภาพ นอกจากนี้ มีความคาดหวังต่อส่วนประสมทางการตลาดของการท่องเที่ยวทั้งในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทั้งหมด ในขณะที่คุณภาพการบริการมีศักยภาพอยู่ในระดับน้อย แต่มีความต้องการคุณภาพการบริการดังกล่าวอยู่ในระดับมากนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรองอย่างยั่งยืน เรียกว่า SIHMHR ประกอบด้วย การยกระดับฐานทรัพยากรการท่องเที่ยวเมืองรองอย่างยั่งยืน การส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในเมืองรอง การยกระดับทรัพยากรมนุษย์และกลไกการจัดการในเขตเมืองรอง การสร้างมูลค่าและคุณค่าการท่องเที่ยวเมืองรอง และการยกระดับมาตรการและเครื่องมือการจัดการการท่องเที่ยวในเขตเมืองรอง ส่วนยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรองของประเทศไทยสู่ความยั่งยืน มีวิสัยทัศน์ การยกระดับการท่องเที่ยวเมืองรองคุณค่าสูงบนฐานนวัตกรรมสู่ความยั่งยืน และยุทธศาสตร์ 5 ประเด็น ได้แก่ ส่งเสริมและรักษาฐานทรัพยากรการท่องเที่ยวเมืองรองอย่างยั่งยืนและสมดุล สนับสนุนและผลักดันการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในพื้นที่จังหวัดเมืองรอง พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และกลไกการจัดการในเขตเมืองรองอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการสร้างมูลค่าและคุณค่าทางการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดเมืองรองอย่างยั่งยืน และผลักดันการใช้มาตรการและเครื่องมือการจัดการการท่องเที่ยวในเขตเมืองรองที่ครอบคลุมทุกมิติอย่างมีประสิทธิภาพ<br><br>This study aimed to create indicators to assess and classify the tourism secondary cities, classify the tourism secondary cities as the created indicators, analyze the best practices, synthesis of the potential resources, tourism management mechanism, marketing and quality of tourism services, and formulate policies and strategic plan for sustainable tourism development in secondary cities of Thailand. The qualitative research was conducted for this study which the data were collected by interviewing, meeting and data triangulating of representatives of the central and local governments, the private sectors, the communities and academics in tourism of 55 secondary cities. The data were analyzed by content analysis.The results showed that the indicators for tourism secondary cities in Thailand consisted of 100 indicators. There were two criteria for categorizing tourism secondary cities such as their roles and potential, and tourism issues. The best practices of tourism secondary citie...

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ