Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การยกระดับนวัตกรรมชุมชนและพัฒนาชุมชนต้นแบบการพัฒนา...

TNRR

Description
บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง: การยกระดับนวัตกรรมชุมชนและพัฒนาชุมชนต้นแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยผลงานวิจัยและนวัตกรรม ผู้วิจัย: พลอากาศตรีหญิง ดร.ชญาดา เข็มเพชร หน่วยงาน: กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ทุนอุดหนุนการวิจัย: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ปีที่พิมพ์: ๒๕๖๔ งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) บริหารจัดการการถ่ายทอดนวัตกรรมภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่าง กอ.รมน. และ วช. สู่การใช้ประโยชน์ของชุมชนเชิงพื้นที่ ๒) ประเมินผลการนำผลงานการวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ในการยกระดับนวัตกรรมชุมชน และ ๓) นำเสนอชุมชนต้นแบบการพัฒนา วัตถุประสงค์ข้อ ๑ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตารางเหตุผลสัมพันธ์ และแบบประเมินผลเมื่อโครงการแล้วเสร็จ ประชากรคัดเลือกแบบเจาะจงจากโครงการที่นำเทคโนโลยีไปถ่ายทอด จำนวน ๒๑ โครงการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติแบบพรรณนา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย วัตถุประสงค์ข้อ ๒ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลหลักคัดเลือกแบบเจาะจงจากหัวหน้ากลุ่ม/ประธานชุมชน/ปราชญ์เพื่อความมั่นคง หรือผู้ที่รับผิดชอบการดำเนินงานของแต่ละพื้นที่ๆ ละ ๑-๒ คน รวมจำนวนทั้งสิ้น ๖๖ คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท การวิเคราะห์แบบอุปนัย สถิติแบบพรรณนา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย วัตถุประสงค์ข้อ ๓ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ประชากรคือชุมชนเป้าหมายที่ได้รับการสนับสนุนนวัตกรรม จำนวน ๙๐ พื้นที่ (๖๒ หมู่บ้าน ใน ๒๑ จังหวัด) การสนทนากลุ่มเฉพาะ และการลงพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติแบบพรรณนา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัย พบว่า ๑) โครงการที่มีคะแนนการประเมินผลเมื่อโครงการแล้วเสร็จมากกว่าร้อยละ ๗๐ จำนวน ๒๑ โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ โดยมีผลการประเมินในระดับดีมาก จำนวน ๑๕ โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๗๑.๔๓ และระดับดี จำนวน ๖ โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๒๘.๕๗ ในขณะที่ร้อยละค่าเฉลี่ยผลการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ที่ระดับดีมาก ค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๘๕.๕ ๒) ร้อยละของพื้นที่เป้าหมายที่สามารถยกระดับนวัตกรรมชุมชน จำนวน ๙๐ พื้นที่ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ส่วนใหญ่เป็นนวัตกรรมที่สร้างขึ้นมาใหม่ จำนวน ๖๘ พื้นที่ คิดเป็นร้อยละ ๗๕.๕๖ และเป็นการยกระดับจากนวัตกรรมเดิม จำนวน ๒๒ พื้นที่ คิดเป็นร้อยละ ๒๔.๔๔ คุณสมบัติการเป็นนวัตกรรมชุมชนที่พบมากที่สุดคือ มีการเรียนรู้และมีการทดลองปฏิบัติจริง จำนวน ๙๐ พื้นที่ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ รองลงมาคือ เกิดจากความต้องการแก้ปัญหาจากสมาชิกในชุมชน จำนวน ๗๙ พื้นที่ คิดเป็นร้อยละ ๘๗.๗๘ และสามารถประยุกต์ใช้ในชุมชน จำนวน ๖๒ พื้นที่ คิดเป็นร้อยละ ๖๘.๘๙ ตามลำดับ คุณสมบัติที่พบน้อยที่สุดคือการนำไปเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่น จำนวน ๗ พื้นที่ คิดเป็นร้อยละ ๗.๗๘ ค่าเฉลี่ยร้อยละของครอบครัวที่มีสมาชิกครบ ๓ ช่วงวัย คิดเป็นร้อยละ ๕๖.๙๓ และเมื่อพิจารณาแยกรายภาค พบว่า ค่าเฉลี่ยร้อยละของครอบครัวที่มีสมาชิกครบ ๓ ช่วงวัยรายภาค สูงที่สุดคือ พื้นที่ กอ.รมน.ภาค ๑ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ๖๘.๓๓ รองลงมาคือ พื้นที่ กอ.รมน.ภาค ๔ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ๖๒.๕๐ และพื้นที่ กอ.รมน.ภาค ๓ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ๕๐.๘๗ ตามลำดับ โดยค่าเฉลี่ยร้อยละของครอบครัวที่มีสมาชิกครบ ๓ ช่วงวัยน้อยที่สุดคือ พื้นที่ กอ.รมน.ภาค ๒ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ๔๖.๐๐ ๓) จำนวนชุมชนที่มีผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ที่เกิดขึ้นจากการต่อยอดองค์ความรู้หรือเทคโนโลยีที่ได้รับ จำนวน ๑ ชุมชน คือ วิสาหกิจชุมชนเกษตรกรผู้แปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านดอน หมู่ที่ ๖ ตำบลบ้านลำ อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี และผลการคัดเลือกชุมชนต้นแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย ชุมชนต้นแบบ กอ.รมน.ภาค ๑ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนสมุนไพรเกษตรอินทรีย์บ้านดงบัง หมู่ที่ ๖ ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี, ชุมชนต้นแบบ กอ.รมน.ภาค ๒ ได้แก่ ชุมชนบ้านทุ่งนาค หมู่ที่ ๗ ตำบลเมืองลีง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์, ชุมชนต้นแบบ กอ.รมน.ภาค ๓ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนบ้านไผ่เขียว หมู่ที่ ๒ ตำบลไผ่ล้อม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ และชุมชนต้นแบบ กอ.รมน.ภาค ๔ ได้แก่ ชุมชนบ้านโหนดหมู่ หมู่ที่ ๙ ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง การที่ชุมชนสามารถพัฒนาเป็นชุมชนต้นแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืนเกิดจากปัจจัยสำคัญต่างๆ คือ ปัจจัยด้านสภาพภูมิสังคม ปัจจัยด้านนวัตกรรม และปัจจัยด้านผู้นำและทีมของผู้นำ คำสำคัญ: นวัตกรรมชุมชน, ชุมชนต้นแบบ, ยกระดับ, นวัตกรรม, ผลงานวิจัย, การพัฒนาอย่างยั่งยืน <br><br>Research Title: Enhancing Community Innovation and Sustainable Development model by Research and Innovation Researcher: Air Vice Marshal Chayada Kempetch Faculty/Department: Internal Security Operations Command (ISOC) Research Fund Source: National Research Council of Thailand (NRCT) Published Year: 2022 Abstract Objectives: To analyse 1) Management of transfering the innovations to local communities under the cooperation project between Internal Security Operations Command (ISOC) and National Research Council of Thailand (NRCT); 2) Utilization of research and innovations to enhance communities; 3) Presentation of the Sustainable Development Community Model. Methods: This study was an Action Research utilizing the mixed methods of qualitative and quantitative approach for each objective: 1) The sample included 21 projects. Logical Frameworks and Terminal Evaluation were used for data collection. Descriptive analysis was used for frequency, percentages and mean. 2) The study participants included 66 folk philosophers or community leaders trained in the Sufficiency Economy Philosophy and New Agricultural Theory in the target communities. Semi-Structured Interviews were used for data collection. Data were analyzed by using context content analysis, inductive analysis and descriptive statistics for frequency, percentages and mean. 3) The sample included 90 target communities (62 villages from 21 provinces), data collected using Sustainable Development Community of self-assessment, focus group discussion and site visits. Data were analyzed by descriptive statistics for frequency, percentages and mean. Results: 1) Terminal Evaluation of 21 (100%) projects were more than 70% completion, 15 (71.43%) projects were at a very good level, and 6 (28.57%) at a good level. Average score was 85.5%, i.e., a very good level. 2) All 90 (100%) communities were successful in enhancing community innovation, of which 68 (75.56%) were new community innovations, and 22 (24.44%) enhanced community innovations. The most significant characteristics of community innovations were learning and practical experiments found in 90 (100%) communities, in 79 (87.78%) the need to solve problems were found from community members, and in 62 (68.89%) communities the solutions were applied. The least significant characteristics were found in 7 (7.78%) communities and could be model for others. In average 56.93% of families had three groups of different age group of members including children and youth, working-age people and elderly. By region, the highest was ISOC Region-1, with 68.33%, 2nd ISOC Region-4 with 62.50%, 3rd ISOC Region-3 with 50.87% and 4th ISOC Region-2 with 46.00%. 3) Community which created new products or services arising from knowledge or technology was only one, the Ban Don Agricultural Processing Community Enterprise, Village No. 6, Ban Lam Subdistrict, Wihan Daeng District, Saraburi Province. - Sustainable Development Community by Research and Innovation models were: (1) Ban Dong Bang Organic Herb Community Enterprise, Village No. 6, Dong Khi Lek Subdistrict, Mueang Prachinburi District, Prachinburi Province. (2) Ban Thung Nak Community, Village No. 7, Mueang Ling Subdistrict, Chom Phra District, Surin Province. (3) Ban Phai Khiao Soil Management Center Community Enterprise, Village No. 2, Phai Lom Subdistrict, Laplae District, Uttaradit Province. (4) Ban Nod Mu Community, Village No. 9, Han Tao Subdistrict, Pak Phayun District, Phatthalung Province. Sustainable Development Community by Research and Innovation Model were successful from 3 important factors: Geosocial, Innovation, and leader and team. Keywords: Community Innovation, Community Model, Enhancing, Innovation, Research, Sustainable Development

Date of Publication :

12/2022

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ