Notifications

You are here

อีบุ๊ค

ระบบต้นแบบสำหรับติดตามตัวและแจ้งเหตุด้วยเสียงสำหรั...

TNRR

Description
ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ เป็นภาวะพึ่งพาที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด มีค่าใช้จ่าย การรักษาสูง อาจกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ และจิตใจของคนในครอบครัวตามมา และงานวิจัยนี้อาจตอบโจทย์การพัฒนาคนในทุกช่วงวัยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตด้วยตนเองได้อย่างมีคุณค่า และสร้าง กลไกที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข พร้อมรับสังคมสูงวัย โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่ช่วยเหลือการดำรงชีวิต (Assisted living) สำหรับผู้สูงอายุและคนพิการให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพได้ตามมาตรฐานสากล ครอบคลุม ผู้สูงอายุและคนพิการที่เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยคือ การพัฒนาระบบต้นแบบสำหรับติดตามตัวและแจ้งเหตุด้วยเสียงสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ หรือ A Prototype of Tracking and Alarming System for Caretakers of Elderly Persons with Alzheimer via Voice หรือ ระบบซีพาว โดยมีวิธีการวิจัยหลัก คือ ใช้การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อใช้งานกับสมาร์ตวอตช์และสมาร์ตโฟน โดยยึดตำแหน่งพิกัดของผู้ป่วยที่สวมสมาร์ตวอตช์ซึ่งมีระบบจีพีเอส และยึดตำแหน่งพิกัดของสมาร์ตโฟนของผู้ดูแล เพื่อคำนวณระยะหว่างสองพิกัดดังกล่าว แล้วระบบซีพาวจะพิจารณาระยะห่างว่าต้องแจ้งเตือนแก่ผู้ดูแลเมื่อระยะห่างระหว่างสองพิกัดนั้นห่างเกินไป ซึ่งผลการวิจัย คือ ระบบอาจช่วยเหลือผู้ป่วยในเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ เช่น เมื่อผู้ป่วยเกิดเหตุการณ์ที่รู้สึกว่าต้องการ ความช่วยเหลือจากผู้ดูแล ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้ป่วยติดอยู่ในห้องน้ำ แล้วผู้ป่วยก็สามารถกดปุ่มเอสโอเอส ในหน้าจอหลักของสมาร์ตวอตช์ของระบบซีพาวเพื่อขอความช่วยเหลือไปยังผู้ดูแลได้ และเหตุการณ์ฉุกเฉิน อื่น ๆ เช่น ผู้ดูแลสามารถดูตำแหน่งของผู้ป่วยได้ ผ่านกูเกิลแมพในโมบายแอปพลิเคชันของผู้ดูแลได้ทันที และผู้ดูแลสามารถโทรเข้าสมาร์ตวอตช์ของระบบซีพาวที่อยู่บนข้อมือของผู้ป่วยได้ทันที เพื่อให้ผู้ดูแลติดต่อกับผู้ป่วยได้แบบด่วน เพื่อให้การช่วยเหลือฉุกเฉินกรณีผู้ป่วยเดินออกนอกเขตปลอดภัย เป็นต้น และผลลัพธ์ของการทดสอบและประเมินประสิทธิภาพของระบบซีพาวภาคสนามได้รับความพึงพอใจ อยู่ที่ 92.56 บทสรุปของงานวิจัยและข้อเสนอแนะ คือ งานวิจัยนี้อาจมีประโยชน์กับผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นอัลไซเมอร์ ถ้าผู้ดูแลได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ‘ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นอัลไซเมอร์’ ที่อยู่ภายใต้ความดูแลของตน ยังมีลักษณะตาม คือ 1) อยู่ในระยะการดำเนินโรคที่ 1 หรือ ระยะที่ 2 และ 2) ต้องไม่เป็นคนหูตึง สุดท้าย 3) เข้าเกณฑ์ตามการทดสอบภาคสนามกับผู้สูงอายุ เช่น มีอายุระหว่าง 60-80 ปี และ สามารถเดินได้ เป็นต้น คำสำคัญ : ภาวะสมองเสื่อม, โรคอัลไซเมอร์, อุปกรณ์ติดตามตัว, นาฬิกาอัจฉริยะ, แวร์โอเอส, จีพีเอส <br><br>Dependency of the patients who are elderly and with Alzheimer causes a high cost of care. Consequently, the family members of the patients may also face mental health. Providing innovations for all age ranges of Thai people to allow them to live by themself successfully is essential. Especially the technologies and innovations for assisted living for the elderly and disabled people are also very significant. The main objective is that this research developed a prototype of a tracking and alarming system for caretakers of elderly persons with Alzheimer via voice or SEPAW system. The research method is to develop applications for smartwatches and smartphones. This is with the two GPS locations of the user who wears the smartwatch and the caretaker who holds his/her smartphone. Then SEPAW calculates the distance between the two locations to further makes the decision to generate an alert message to the caretaker or not. The main results are that the two main functions of the eight ones are the following. The first is the alarming function of a mobile application on the caretaker’s mobile phone when his/her patient is out of the caretaker’s preferred safe zone. The function can help the caretaker to locate and reach the patient immediately. This is because the system allows the caretaker to view and check the current position of a patient in real-time all the time. The system automatically works with Google Maps to help the caretaker to reach the patient as soon as possible when needed. The reaching process can be done by calling the smartwatch as well. The second primary function is the SOS function for the emergency cases, such as when the patient is locked in a toilet or bathroom and when the patient needs any emergency help when walking out of the safe zone. In our testing environment, a patient can use the SOS function of SEPAW system to communicate with the caretaker to seek help. This can also be done by calling the smartwatch. The users’ satisfaction score of the system is 92.56%. The conclusion is that SEPAW might be helpful in an actual patient if the following conditions are considered and stratified by the adjustment of the patient’s caretaker. These conditions are the patient should stage 1 or 2 Alzheimer, is with good hearing, finally is with requirements from the field test, such as the age is between 60-80 years old and can be able to walk. Key words : Dementia, Alzheimer, Tracking Device, Smartwatch, Were OS, GPS

Date of Publication :

12/2022

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ