Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การวิจัยและพัฒนาจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรครา...

TNRR

Description
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการควบคุมโรครากเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Pythium aphanidermatum ในพื้นที่แปลงเพาะปลูกผักสลัดของเกษตรกร และพัฒนาชีวภัณฑ์แบคทีเรีย Bacillus subtilis ต้นแบบให้มีรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการเก็บรักษาได้ระยะเวลานานขึ้น รูปแบบพร้อมใช้ และมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคใบจุดผักสลัดที่เกิดจาก Alternaria brassicicola ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีการควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธีให้กับเกษตรกร การดำเนินโครงการประกอบด้วย 3 กิจกรรมดังนี้ กิจกรรมที่ 1 การทดสอบประสิทธิภาพชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่อยู่ในรูปแบบผงพร้อมใช้ในการควบคุมโรครากเน่าที่เกิดจากเชื้อรา P. aphanidermatum ในพื้นที่แปลงเพาะปลูกผักสลัดของเกษตรกร จากการทดลองในแปลงปลูกจำนวน 5 พื้นที่แปลงเพาะปลูก พบว่าการใช้ชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มา ในอัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร จำนวน 1 ครั้ง ในระยะย้ายกล้าที่อายุ 14 วัน (กรรมวิธีทดสอบที่ 1) มีประสิทธิภาพและเหมาะสมที่สุดในการควบคุมโรครากเน่าของผักสลัด ที่มีอัตราการเกิดโรครากเน่าต่ำ โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับการควบคุมโรครากเน่าในแต่ละพื้นที่ กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาชีวภัณฑ์เชื้อแบคทีเรีย B. subtilis ต้นแบบที่เหมาะสมในระดับห้องปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมในการควบคุมโรคใบจุดผักสลัด พบว่า เชื้อแบคทีเรีย B. subtilis ไอโซเลท Bs 096 สามารถควบคุมโรคใบจุดได้สูงถึง 88.21 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม และเมื่อนำมาพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบชีวภัณฑ์เชื้อแบคทีเรีย B. subtilis จำนวน 3 สูตรชีวภัณฑ์ พบว่า สูตรชีวภัณฑ์ที่ 3 มีจำนวนโคโลนี (cfu) ของเชื้อแบคทีเรีย B. subtilis มากกว่าสูตรชีวภัณฑ์ที่ 1 และ 2 เมื่อทำการประเมินความมีชีวิตของเชื้อหลังจากเก็บรักษาเป็นเวลา 30, 90 และ 180 วัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ จากนั้นได้นำสูตรชีวภัณฑ์ จำนวน 3 สูตร ที่อายุการเก็บรักษา 6 เดือน มาทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมโรคภายใต้สภาพโรงเรือนปลูกพืชทดลองพบว่า สูตรชีวภัณฑ์ที่ 3 สามารถควบคุมโรคใบจุดได้สูงถึง 93.62 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม กิจกรรมที่ 3 การถ่ายทอดเทคโนโลยีการควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธีอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการจำนวน 1 ครั้ง ผู้เข้าร่วมจำนวน 12 คน การร่วมแสดงนิทรรศการจำนวน 1 ครั้ง มีผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการ จำนวน 42 คน ผลจากการเยี่ยมแปลงเพาะปลูกพบว่า จากจำนวนเกษตรกรจำนวน 23 คน มีเกษตรกรจำนวน 13 ราย นำการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีไปใช้กับพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด และมีจำนวน 10 ราย ใช้วิธีนี้กับครึ่งหนึ่งของพื้นที่ การขยายผลจากหน่วยงานเครือข่ายไปยังพื้นที่อื่นจำนวน 4 โรงเรียน ในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ จากข้อมูลของกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรผ่านการสัมภาษณ์ออนไลน์กับเกษตรกรจำนวน 18 รายพบว่า มีการนำเอาการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีไปใช้กับพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดจำนวน 17 คน มีเพียงหนึ่งรายที่ใช้วิธีนี้กับครึ่งหนึ่งของพื้นที่<br><br>The purposes of this research were to evaluate the efficacy of Trichoderma bioproduct in controlling root rot caused by Pythium aphanidermatum in farmers plantations and to develop an effective prototype of Bacillus bioproduct to control leaf spot disease of lettuce caused by Alternaria brassicicola, as well as to transfer technology of biological control to farmers. The implementation of the project consisted of three activities as following: Firstly, evaluation of the efficacy of Trichoderma bioproduct in the control of root rot of lettuce caused by P. aphanidermatum in Farmers cultivation areas. Based on the experiments in five different planting farmer field, the results showed that the applications of Trichoderma bioproduct and at the rate of 1 g/liter of water at 14 days after seed transplantation (treatment 1) were the most effective and optimal in controlling root rot of lettuce with a low percentage of root rot incidence with a statistically significant difference in comparison on control treatment. Secondly, production of Bacillus bioproduct (developing suitable prototype formulations at the laboratory level) is effective and suitable for controlling lettuce leaf spot. This was found that Bacillus isolate Bs 096 was able to control leaf spot disease up to 88.21 percent when compared to the control treatment. Bacillus isolate Bs 096 was developed into three different bioformulations. Bioformulation 3 had more colony forming units (cfu) than bioformulation 1 and 2. The viability of three bioformulations were assessed after 30, 90, and 180 days after storage. Under greenhouse conditions, three biologic formulations with a shelf life of six months were tested on effectiveness in disease control. The result showed that the bioformulation 3 was able to control leaf spot disease up to 93.62 percent in comparison on control treatment. Effective biological control technology was suggested to growers. Twelve participants were attended in the workshop arranged at Pa Sak Natural Farming Learning Center, Lamphun. The project participated in the exhibition one time and 42 people were interested to visit the exhibition. As a result of the field visits of this project, this was found that a total of 23 farmers visited the planting plots, of which 13 farmers applied biological pest control methods to cover their entire area. Ten farmers have applied the methods to cover half of their land. There were extensions from network agencies to other areas of 4 schools in Omkoi District, Chiang Mai. According to the information of the Farmers Network Group through online interviews with a total of 18 farmers, it was found that 17 farmers applied biological disease control methods to cover the entire area. Only one farmer who applied biological pest control covers half of his area.

Date of Publication :

12/2022

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ