Description
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดเล็กด้าน Thai SME ของภาคเหนือให้มีช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านระบบ E-Marketplace พัฒนาอัลกอริทึมในการแนะนำลูกค้าที่ชอบสินค้าชนิดเดียวกันให้มาซื้อสินค้าแบบจัดกลุ่มซื้อโดยใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) และพัฒนานวัตกรรม ระบบการขายสินค้าที่เหมาะสมกับ Thai SME สำหรับ E-Marketplace โดยมีกระบวนการในการพัฒนา แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ 2) ระยะดำเนินการ และ 3) ระยะประเมินผล ผลการวิจัย พบว่าการใช้งานในส่วนของการซื้อขายสินค้าจากการแพลตฟอร์มการซื้อขายตลาดกลางโดยการประยุกต์การใช้งานระบบปัญญาประดิษฐ์พบว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่สนใจซื้อสินค้าประเภทเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม 43.22% รองลงมา ของใช้ของตกแต่ง 30.02% อาหารและเครื่องดื่ม 9.08% เครื่องใช้หัตถกรรม 7.99% สุขภาพและความงาม 4.83% เครื่องประดับ 3.60% และ อื่นๆ 1.26% ตามลำดับ พฤติกรรมการซื้อสินค้าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ประเภทสินค้า 3 อันดับแรก ได้แก่เสื้อผ้าในเขตจังหวัดน่าน แพร่ ลำปาง เพราะมีความเป็นเอกลักษณ์และราคาที่เหมาะสม รองลงมาเป็นประเภทของใช้ของตกแต่งในเขตจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย น่าน เนื่องสินค้ามีลักษณะเฉพาะ หรือ handmade และอันดับที่ 3 คือประเภทอาหารในเขตจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา เนื่องจากเป็นอาหารประจำถิ่นและราคาถูก จากข้อมูลข้างต้นนั้นผู้วิจัยเสนอว่าควรใช้ความนิยมในด้านปริมาณการซื้อ 3 อันดับแรกมาใช้ในการประกอบการวางแผนส่งเสริมและโฆษณาเพราะว่า อัตรากำไรสุทธิ ( net profit margin ) ค่อนข้างสูง และเนื่องจากเป็น E-marketplace ขนาดเล็กการลงทุนส่งเสริมการขาย ไม่สามารถจะสู้ยักษ์ใหญ่ในตลาดได้ จึงจำเป็นต้องมีกลยุทธิ์ที่ ลงทุนส่งเสริมการขายที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ผลการประเมินความเป็นไปได้ของแพลตฟอร์มการซื้อขายตลาดกลางโดยการประยุกต์การใช้งานระบบปัญญาประดิษฐ์และระบบการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x ? = 2.57, SD. = 0.55) ด้านเนื้อหาของระบบ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x ? = 2.51, SD. = 0.53) ด้านการออกแบบ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x ? = 2.42 , SD. = 0.59 ) ด้านการใช้งาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x ? = 2.52, SD. = 0.54) ด้านประโยชน์ที่ได้รับ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x ? = 2.57 , SD. = 0.55 )
<br><br>This study was a research and development project. The goal is to encourage small entrepreneurs in Thai SME of the North to establish a distribution channel through an E-Marketplace system. We developed an algorithm called "Groub buy" that utilizes Big Data to recommend customers who like the same product, and we develop innovations that are suitable for Thai SMEs. The development process is divided into three stages: 1) situation analysis, 2) implementation, and 3) evaluation.
According to the findings of the study, the majority of users are interested in purchasing clothing items (43.22 percent), followed by decorative items (30.02 percent), food and beverages (9.08 percent), handicrafts (7.99 percent), health and beauty (4.83 percent), jewelry (3.60 percent), and others (1.26 percent). Females make the majority of purchases. Clothing is the top three-product category in Nan, Phrae, and Lampang provinces due to its uniqueness and reasonable price. The type of decorative items in Chiang Mai, Chiang Rai, Nan because the products are unique or handmade, and the type of food and beverages in Chiang Mai, Chiang Rai, Phayao because it is represent in local food and cheap. Based on that information, the researcher proposed that the top three-purchase volume popularity be used in promotion and advertising planning because, the net profit margin (net profit margin) is quite high and promotional investment is relatively low. It is impossible for a small e-marketplace to compete with the market giants. As a result, a strategy that invests in the most effective promotion is required. The outcomes of evaluating the feasibility of an innovative e-marketplace with applied artificial intelligence and data analytic. Overall, we achieve a high level (x ? = 2.57, SD. = 0.55).The system content was very high (x ? = 2.51, SD. = 0.53), it was moderate in design (x ? = 2.42 , SD. = 0.59 ), it was at a high level of usage มาก (x ? = 2.52, SD. = 0.54) and a high level in terms of benefits (x ? = 2.57 , SD. = 0.55 ).
Date of Publication :
12/2022
Publisher :
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read