Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าวัสดุเศษเหลือจากกระบวน...

TNRR

Description
งานวิจัยนี้ทำเพื่อการพัฒนาแนวทางการลดขยะทางการเกษตร คือ เปลือกแมคคาเดเมียให้เป็นศูนย์ (zero waste) โดยการผลิตถ่านกัมมันต์จากเปลือกแมคคาเดเมีย ถ่านจากเปลือกแมคคาเดเมีย มีปริมาณผลผลิต 25.94%จากน้ำหนักเปลือกสด (รวมเปลือกชั้นนอกและกะลา) และกระตุ้นด้วยกรดฟอสฟอริกในอัตราส่วน ถ่าน:กรด 1:1 1:2 และ 1:3 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร จากการศึกษาคุณสมบัติของถ่านและถ่านกัมมันต์ที่ได้ พบว่า ถ่านกัมมันต์จากการกระตุ้นที่อัตราส่วนถ่าน:กรด 1:2 (AC2) และ 1:3 (AC3) โดยน้ำหนัก ให้ค่าความพรุน ความหนาแน่นเชิงปริมาตร และการดูดซับไอโอดีนที่สูงกว่าถ่านและถ่านกัมมันต์จากอัตราส่วน 1:1 โดยคุณสมบัติดังกล่าวของทั้งถ่านและถ่านกัมมันต์จากเปลือกแมคคาเดเมีย ล้วนอยู่ในช่วงที่เป็นค่ามาตรฐานของถ่านกัมมันต์ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมไทย (มอก.) และเมื่อทดสอบความสามารถในการดูดซับแก๊สเอทิลีน ก็พบว่าทั้งถ่านและถ่านกัมมันต์จากเปลือกแมคคาเดเมียสามารถดูดซับแก๊สเอทิลีนในภาชนะบรรจุได้ โดยมีความสามารถในการดูดซับเอทิลีนประมาณ 60-80% ของความเข้มข้นทั้งหมด จากนั้นจึงศึกษาการประยุกต์ใช้กับการเก็บมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง พบว่า ถ่านกัมมันต์จากเปลือกแมคคาเดเมีย AC2, AC3 และถาดเยื่อขึ้นรูปที่เติม AC3 สามารถชะลอการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและเคมีของมะม่วงที่เป็นผลจากแก๊สเอทิลีนที่มะม่วงผลิต แสดงให้เห็นว่าสามารถช่วยชะลอการสุกและยืดอายุการเก็บของมะม่วงเพื่อการขนส่งและการส่งออกได้ แต่การที่ดูดซับเอทิลีนมากเกินไปกลับทำให้เกิดโรค anthracnose ได้เร็วในทุกชุดการทดลอง ในการฟื้นฟูสภาพถ่านกัมมันต์เพื่อการนำกลับมาใช้ พบว่า การอบที่ 180 องศาเซลเซียส 30 นาที สามารถทำให้ถ่านกัมมันต์นำกลับมาใช้ได้ด้วยประสิทธิภาพการดูดซับเอทิลีนประมาณ 50% ของความเข้มข้นทั้งหมด และสามารถฟื้นฟูสภาพของถ่านกัมมันต์ AC2 และ AC3 ได้ 70 และ 41 รอบ ตามลำดับ จึงจะหมดประสิทธิภาพ <br><br>This study aims to develop the reduction process of agricultural waste, macadamia nutshell for becoming zero waste by producing the activated carbon. The yield (%) of charcoal (Char) from macadamia shell was 25.94 % by dry weight. The charcoal was activated with various ratios of charcoal: phosphoric acid as 1:1 (AC1), 1:2 (AC2), and 1:3 (AC3) weight by volume. The properties (porosity, bulky density, and iodine number) of charcoal and activated carbon from the macadamia nutshell were determined. The AC2 and AC3 showed better properties than AC1 and Char. These properties of AC2 and AC3 were at a similar level to those of the Thai Industrial Standards. The ethylene absorption capacity of the Char and activated carbons were also investigated. The result showed that the Char and activated carbons could absorb the ethylene gas in the range of 60-80% of total volume. The application of activated carbon from macadamia nutshell as the ethylene absorber in mangoes cv. ‘Namdokmai Sithong’ resulted that AC2, AC3, and tray with AC3 (Tray) could delay the changes of TSS/TA ratio, weight loss, color, and firmness of mangoes during storage for 15 days at 13?C which indicated the retarding of mango ripening. Oppositely, lack of ethylene in the container by absorbing caused the higher disease incidence and disease severity in mango during storage. The used activated carbons could be regenerated by heating at 180?C for 30 min and showed the ethylene absorption efficacy as 50% of the total volume. From the calculation, the regeneration of AC2 and AC3 could be done for 70 and 41 cycles, respectively.

Date of Publication :

12/2022

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ