Description
การศึกษาเรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์และเส้นทางท่องเที่ยวทางเลือกตามวิถีธรรมชาติบำบัดเพื่อรองรับการท่องเที่ยวผู้สูงอายุในเมืองต้องห้ามพลาด (พลัส) ในจังหวัดนครปฐม ราชบุรี สมุทรสงคราม และสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการสร้างมูลค่าเพิ่มทรัพยากรการท่องเที่ยวตามวิถีธรรมชาติบำบัด 2) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึกเชิงสุขภาพจากทรัพยากรท้องถิ่นตามวิถีธรรมชาติบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ 3) เพื่อสร้างเส้นทาง แผนที่ และโปรแกรมการท่องเที่ยวทางเลือกตามวิถีธรรมชาติบำบัด และ 4) เพื่อพัฒนาการตลาด การขาย และการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวตามวิถีธรรมชาติบำบัด ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 108 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามด้านความต้องการผลิตภัณฑ์และเส้นท่องเที่ยวกับผู้สูงอายุจำนวน 390 คน จากนั้นลงพื้นที่ให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผู้ประกอบการจำนวน 32 คน และสร้างเส้นทางด้วยการสนทนากลุ่มกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 31 คน พร้อมกับทดสอบเส้นทางท่องเที่ยว และลำดับสุดท้ายพัฒนาการตลาดและการขายด้วยการจัดอบรมให้กับผู้ประกอบการ และสร้างเครือข่ายกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ผลการวิจัยพบว่า 1) ทรัพยากรจังหวัดนครปฐม ราชบุรี สมุทรสงคราม และสุพรรณบุรี สามารถนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มการท่องเที่ยวทางเลือกตามวิถีธรรมชาติบำบัด 9 รูปแบบ คือ การอาบป่า การย้อนรอยอดีต การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ สมาธิบำบัด การนวดและสปาสมุนไพร การสปาเกลือ ธาราบำบัด การเรียนรู้และการกายบริหารเพื่อสุขภาพ และดนตรีบำบัด 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์จำนวน 32 ผลิตภัณฑ์ มีแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุที่สำคัญประกอบด้วย การปรับผลิตภัณฑ์ให้มีความแตกต่าง การสร้างมูลค่าเพิ่มและการนำเสนอมูลค่า การปรับภาพลักษณ์ และพัฒนาสู่โมเดิร์นเทรด 3) การสร้างเส้นทางท่องเที่ยวทางเลือกตามวิถีธรรมชาติบำบัดเพื่อรองรับผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐม ราชบุรี สมุทรสงคราม และสุพรรณบุรี ทั้งหมดจำนวน 12 เส้นทาง ประกอบด้วยเส้นทางสำหรับผู้สูงอายุที่เดินทางด้วยตนเองจำนวน 4 เส้นทาง สำหรับผู้สูงอายุที่เดินกับครอบครัวจำนวน 4 เส้นทาง และสำหรับผู้สูงอายุที่เดินทางแบบหมู่คณะ 4 เส้นทาง 4) ผลการพัฒนาด้านการตลาด การขาย และการสร้างเครือข่ายพบว่า ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ด้านการตลาดและการขายเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมาก และผลการทดสอบตลาดพบว่า ความพึงพอใจด้านผลิตภัณฑ์และเส้นทางท่องเที่ยวเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และผลการสร้างเครือข่ายกับ 20 ภาคส่วน นำไปสุ่ความร่วมมือ 7 ประการ คือ 1) ด้านการให้คำปรึกษาและการขับเคลื่อนการท่องเที่ยว 2) ด้านการประชาสัมพันธ์ 3) ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการท่องเที่ยวชุมชน 4) ด้านท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อคนทั้งมวล 5) ด้านช่องทางการขายของผลิตภัณฑ์ 6) ด้านการขายแพ็กเกจและสินค้าบริการร่วมกัน และ 7) ด้านการเงิน
<br><br>The study of Product development and alternative tourist routes based on naturopathy support senior tourism in The Hidden Gem Cities (Plus) in Nakhon Pathom, Ratchaburi, Samut Songkhram and Suphan Buri provinces had research aim to 1) study creating value-added of naturopathy tourism resources, 2) develop health souvenir products from naturopathy local resources for Silver age, 3) create naturopathy routes, maps and alternative tourism programs, and 4) develop marketing, sales, and build a naturopathy tourism network. The researchs technique of mixed-method was as follows; the qualitative data was collected by in-depth interviews with 108 key informants. the quantitative data was gathered by questionnaires about the product demand and travel routes from 390 Silver-age samples. Next, a field trip was conducted for consulting on product development for 32 entrepreneurs and travelling routes were created by a focus group for 31 stakeholders, then tested. Finally, marketing and sales developed by organizing training for entrepreneurs and building networks among stakeholders
The results revealed that 1) resources in Nakhon Pathom, Ratchaburi, Samut Songkhram, and Suphan Buri can create the value-added for nine patterns of natural healing alternative tourism: Forest Bathing, Nostalgia therapy, healthy eating, meditation therapy, massage and herbal spa, Thalassotherapy, Hydrotherapy, exercise and health learning, and music therapy. 2) The developing guideline of 32 products for the elderly: product differentiation, value creation and value proposition, image adjustment, and the development for modern trade. 3) Creating 12 alternative tourism routes based on naturopathy to support the Silver Age in Nakhon Pathom, Ratchaburi, Samut Songkhram and Suphan Buri provinces. There were four routes for FIT, routes for travelling with their families, and four routes for groups. 4) the development of marketing, sales, and networking results found that the participants in the training had increased their knowledge of marketing and sales at a high level. The market testing results disclosed that the satisfaction with products and travel routes was high. The results of networking with 20 sectors led to 7 cooperation: 1) tourism consulting and driving 2) public relations 3) development of product and community-based tourism 4) sustainable tourism for all; 5) sales channels of products; 6) sales combination of package and service products; and 7) finance.
Date of Publication :
10/2022
Publisher :
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read