Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับการสร้างความรอบรู้ด้านสุ...

TNRR

Description
ผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังเป็นบุคคลสำคัญในระบบสุขภาพ ที่ช่วยเหลือดูแลและทำหน้าที่แทนผู้ป่วย ส่งผลให้ได้รับผลกระทบสุขภาพกายและใจของผู้ดูแล การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลของผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง และพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง จำนวน 30 คน ซึ่งมีขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาดังนี้ คือ 1) ศึกษาข้อมูล ผลกระทบจากการดูแลผู้ป่วยและความต้องการของผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่นจากการสนทนากลุ่มผู้ดูแล 2) การพัฒนาแอพพลิเคชั่น วางแผนงาน ออกแบบ ด้วยเทคโนโลยี Flutter SDK (Software Development Kit) โดยนักวิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาพและเทคโนโลยีสารสนเทศตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ จำนวน 9 คน 3) ทดลองและประเมินผลการทดลองการใช้แอพพลิเคชั่นกับกลุ่มตัวอย่างและปรับปรุงพัฒนา จำนวน 2 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ paired sample t-test 4) ประเมินผลความพึงพอใจต่อการใช้งานแอพพลิเคชั่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า แอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นใช้ชื่อว่า “ผู้ดูแล” รอบรู้สุขภาพ (Caregiver health literacy app.) มีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ 1) ส่วนการใช้งานของผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง สามารถบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ประเมินระดับความรอบรู้ทางสุขภาพและเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยสื่อการสอน 2) ส่วนการใช้งานของผู้ดูแลระบบ สามารถสนทนาข้อความกับผู้ใช้งาน กำกับติดตาม และนำออกข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลได้ ซึ่งพบว่า หลังการทดลองใช้งานแอพพลิเคชั่นผู้ดูแลมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ อยู่ในระดับดีและค่าเฉลี่ยของคะแนน (M = 90.03, SD = 7.83) สูงกว่า ก่อนใช้งานแอพพลิเคชั่น (M = 65.10, SD = 12.50) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t =9.18, p<0.01) และมีความพึงพอใจต่อการใช้งานแอพพลิเคชั่นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.43, SD = 0.72) ผลงานวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การใช้สื่อเทคโนโลยี แอพพลิเคชั่น ที่ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว และเข้าถึงระบบริการสุขภาพได้อย่างทั่วถึง ในการส่งเสริมสุขภาพและให้บริการของบุคลากรด้านสุขภาพแก่ผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง อีกทั้งสามารถประยุกต์ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการเยี่ยมบ้านได้ในอนาคตต่อไป <br><br>Caregivers of chronic disease patients are important in the health system that helping and take care acting on behalf of the patient. That causes of health effects is physical and mental health from care. This study was research and development aimed to determine the information of caregivers and development of application for health literacy among caregiver of chronic disease patients. Sample of study included 30 caregivers that care chronic disease patients. The process is follows 1) Studied the impact from care the patients with chronic disease and user requirements for use of the application from focus group discussion. 2) Application developed, planned, designed by Flutter SDK (Software Development Kit) and 9 people consist of researcher, health professional, information technologist. 3) Application tested, evaluated and improved two time. Health literacy questionnaires and satisfaction questionnaire have been used as data collection tools. Frequency, Percentage, average, standard deviation and paired sample t-test were used for data analysis. Application development is call “Caregiver health literacy app.” consist of 2 section 1) caregiver section that can record personal information, assessment health literacy level and health literacy enhancement by instructional media. 2) Administrator section that can communicate with caregiver, follow up and data export for analysis. The result revealed that after usage application the health literacy score of caregivers (M=90.03, S.D.=7.83) were significantly (t=9.18, p<0.01) higher than before (M=65.10, S.D.=12.50). Satisfied score with usage the application is at high level (M=4.45, S.D.=0.72). This research showed that usage modern technology media and application is convenient, fast, and access to health service system thoroughly for health promotion and service to caregiver from health provider. It can also be apply collect information from home visit in future.

Date of Publication :

10/2022

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ