Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวพันธุ์พื้นเมือง ด้วยการพัฒน...

TNRR

Description
จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่ลุ่มที่มีความอุดมสมบูรณ์ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จนเป็นที่รู้จักกันของผู้คนอย่างกว้างขวางในนาม “เมืองแห่ง อู่ข้าวอู่น้ำ” โดยพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวมากที่สุดได้แก่ อำเภอหัวไทร และอำเภอปากพนัง ซึ่งในปัจจุบันผู้บริโภคนิยมข้าวนุ่ม ส่งผลให้ข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีลักษณะแข็งมีการปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองลดลง ดังนั้นเพื่ออนุรักษณ์ให้ข้าวพันธุ์พื้นเมืองเหล่านี้คงอยู่คู่กับจังหวัดนครศรีธรรมราช และสร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาด โดยการวิจัยเรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวพันธุ์พื้นเมืองด้วยการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์และการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้ ภูมิปัญญาการปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง ออกแบบ และพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับข้าวพันธุ์พื้นเมืองในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ข้าวพันธุ์พื้นเมือง พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตข้าวพันธุ์พื้นเมืองและเป็นช่องทางในการกระจายผลผลิตข้าวพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งได้รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับข้าวพันธุ์พื้นเมือง 3 สายพันธุ์ คือ ข้าวไข่มดริ้น ข้าวไอ้เฉี้ยง และข้าวลูกลาย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม สอบถามข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเว็บแอปพลิเคชัน จำนวน 3 ท่าน เกษตรกรที่ปลูกข้าวพื้นเมือง จำนวน 10 คน และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 800 คน ผลการวิจัยปรากฏว่าดังนี้ องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง แบ่งเป็น 4 ด้าน คือ 1) ภูมิปัญญาการจัดการพื้นที่นา พื้นที่อำเภอหัวไทรทำนาทั้งแบบนาปีและนาปรัง เกษตรกรแบ่งพื้นที่ในการทำนาปีเพื่อปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองไว้บริโภคในครัวเรือน และทำนาปรังปลูกข้าวเศรษฐกิจเพื่อนำไปจำหน่าย 2) ภูมิปัญญาการจัดการน้ำ ชาวนาจะใช้รถไถสูบน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเข้าแปลงนา 3) ภูมิปัญญาในเรื่องพันธุ์ข้าว ชาวนาคัดเลือกพันธุ์ข้าวโดยเลือกรวงข้าวที่มีเมล็ดข้าวสมบูรณ์ เก็บข้าวด้วยแกะ 4) ภูมิปัญญาการปลูกข้าว 6 ขั้นตอน คือ เตรียมนา เตรียมพันธุ์ข้าว หว่านข้าว ใส่ปุ๋ย เก็บเกี่ยว และกำจัดตอซังข้าว การออกแบบ และพัฒนาตราสินค้า บรรจุภัณฑ์สำหรับข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้ข้าวพันธุ์พื้นเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ดำเนินการผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มในการคัดเลือกตราสินค้า และบรรจุภัณฑ์ที่สื่อถึงอัตลักษณ์ชุมชนบ้านโคกสูง ที่มีพื้นที่ที่เป็นเนินหรือโคกสูงกว่าพื้นที่หมู่บ้านอื่นในตำบลเดียวกัน มีขนำ ต้นตาลโตนดซึ่งมีอยู่ในพื้นที่นาจำนวนมาก ผลการประเมินความพึงพอใจตราสินค้า บรรจุภัณฑ์จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน อยู่ในระดับมากที่สุดในทุกด้าน (x ? = 4.31, SD = 0.60) โดยเรียงลำดับตามรายด้าน คือ ด้านรูปแบบของบรรจุภัณฑ์มีความเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ ด้านการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ และด้านกรรมวิธีการผลิตบรรจุภัณฑ์และการตลาด การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตข้าวพันธุ์พื้นเมืองและเป็นช่องทางในการกระจายผลผลิตข้าวพันธุ์พื้นเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการนำข้อมูลมาพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน ประกอบด้วยเมนูหลัก 6 เมนู คือ 1) เมนูหน้าหลัก 2) เมนูเรื่องของข้าว 3) เมนูสินค้า 4) เมนูเกี่ยวกับเรา 5) เมนูติดต่อสอบถาม 6) เมนูล็อกอิน และนำเว็บแอปพลิเคชัน ให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเว็บแอปพลิเคชันประเมินประสิทธิภาพเว็บแอปพลิเคชัน จำนวน 3 ท่าน พบว่า เว็บแอปพลิเคชันมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุดในทุกด้าน (x ? = 4.56, SD = 0.44) และผู้วิจัยได้นำเว็บแอปพลิเคชันให้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ประเมินความพึงพอใจการใช้งานเว็บแอปพลิเคชัน พบว่ามีความพึงพอใจต่อการใช้งานเว็บแอปพลิเคชันในทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (x ? = 4.32, SD = 0.60) <br><br>Nakhon Si Thammarat areas of lowland to the abundance, people are engaged in agriculture. Its known as “The city breadbasket”. Huasai district and Pak Phanang district has the biggest planted area of paddy which the present of rice preference consumers preferred softer. Recently, the native rice seed decreased area planting. So, the conservation of local rice seed for Nakhon Si Thammarat province and increase marketing value by research creating value added to native rice corresponding to packaging design and web development in accordance with local identity, Nakhon Si Thammarat province. The objective of this research was to study native rice planting knowledge, to design and develop of native rice packaging for creating value added, to web development for native rice planting knowledge and distribution channel. The keep data stored native rice 3 seed: Khai Mod Rin, Chiang and Looklai. The data was collected by in-depth interviews, focus group and sampling group was selected by the purposive sampling was application expert 3 people, farmers 10 people and accidental sampling 800 people. The research findings found that: The knowledge of native rice planting 4 part; 1) wisdom of Farmer in managing agricultural resources in Huasai district one rice crop is grown a year for household consumption and rice farming off-season rice only for the distribution 2) wisdom of water management; the farmer use Walk behind tractor to pump natural water to rice field 3) wisdom of native rice; farmer select rice varieties by selecting the best seeds and use “Kea” for harvest 4) wisdom of rice planting 6 step; prepare soil, Prepare rice varieties, sow seeded rice, fertilize, harvest and rice stubble removal. The design and develop of native rice packaging for creating value added, Nakhon Si Thammarat ware participatory action research by farmer group select brand and packaging. The identity on brand and packaging of Baan Khok Sung; has a higher area than other areas in Thumbon Laam, makeshift hut, Sugar palm trees in the field. The satisfaction brand and packaging of target group was found to be in highest level (x ? = 4.31, SD = 0.60) by ranking from the highest to the lowest mean as follows; suitable packaging style, graphic design on packaging and packaging methods and marketing. Development of web knowledge about native rice production and Channels for distribution of native rice product, Nakhon Si Thammarat. The web include 6 menu 1) main menu 2) rice menu 3) product menu 4) about menu 5) contact menu 6) login menu. The web expert assess efficiency 3 people was found to be in highest level (x ? = 4.56, SD = 0.44) and web assess satisfaction by sample group 400 people found to be in highest level (x ? = 4.32, SD = 0.60)

Date of Publication :

10/2022

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ