Notifications

You are here

อีบุ๊ค

นวัตกรรมการย้อมสีจากมูลหนอนไหมจังหวัดศรีสะเกษ

TNRR

Description
อุตสาหกรรมผ้าทอพื้นบ้านกำลังเป็นที่นิยม เนื่องจากรัฐบาลมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตเพิ่มขึ้น การใช้สีสังเคราะห์ให้สีที่คงตัวและสม่ำเสมอ แต่พบว่าสีย้อมเคมีเป็นอันตรายต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม ส่วนสีที่ได้จากธรรมชาตินั้น สีไม่ คงตัว ไม่สม่ำเสมอ ทั้งนี้การย้อมผ้าจากสีธรรมชาติเป็นภูมิปัญญาอันชาญฉลาดของศิลปินผ้าทอชาวอีสาน ซึ่งนำสีที่สกัดจาก พืชพรรณนานาชนิดในท้องถิ่นมาย้อมให้มีเอกลักษณ์เฉพาะผืนจากความหลากหลายทางชีวภาพการให้สี ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ คือ (1) จัดการความรู้การสกัดสีและการย้อมสีจากมูลหนอนไหม (2) ศึกษานวัตกรรมการสกัดสีและการย้อมสีจากมูลหนอนไหม (3) ถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้สู่ชุมชนท้องถิ่นในการย้อมผ้าทอมือด้วยนวัตกรรมการย้อมสีจาก มูลหนอนไหมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลการวิจัยพบว่าปริมาณตัวทำละลาย (น้ำกลั่น) ลักษณะผงขี้หนอนไหมมีสีเขียวเข้มปนสีน้ำตาลเข้ม ค่า pH ในช่วง 7.38-7.92 การสกัดสีที่สภาวะการใช้น้ำกลั่นที่ 200 มิลลิลิตร เวลา 120 นาที จะให้ค่า pH สูงสุด (7.92?0.03a) พบว่าน้ำกลั่นที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อค่า pH ที่เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับเวลาที่ใช้ในการสกัดส่งผลต่อปริมาณ ค่า pH อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p?0.05) ซึ่งปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น ค่า pH มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ค่า pH มีค่าความเป็นด่างเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งพบว่าที่ปริมาณตัวทำละลาย 300 มิลลิลิตร เวลาในการสกัดที่ 120 นาที จะให้ค่าสีหลัก (Hue) ที่สูงสุด (69.31?0.92a) โดยค่าสีหลักของสารสกัดจากขี้หนอนไหมจะให้เฉดสีเขียวเข้มปนสีน้ำตาล เมื่อปริมาณของตัวทำละลายและเวลาในการสกัดเพิ่มขึ้นส่งผลให้ค่า Hue ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p?0.05) การศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการย้อมสีจากมูลหนอนไหมในผ้าไหมทอมือที่สภาวะการสกัดที่อัตราส่วน 10:100:90 (ตัวอย่าง (กรัม)) ต่อปริมาณน้ำกลั่น (มิลลิลิตร) ต่อเวลาในการสกัด (นาที) พบว่าเมื่อเติมสารช่วยย้อม ไม่มีผลต่อค่าสีต่าง ๆ ซึ่งโดยกระบวนการย้อมผ้าทั่วไป ในการใช้สารสกัดช่วยย้อมนั้นจะเติมในขั้นตอนการย้อม และหลังกระบวนการย้อม ที่สภาวะการสกัดที่ 10:300:120 ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p?0.05) เมื่อเติมน้ำขี้เถ้าลงในสารสกัดขี้หนอนไหม ค่า pH เพิ่มขึ้น เฉลี่ยประมาณ 8.95 เมื่อทดสอบการวิเคราะห์คุณภาพผ้าผืน พบว่าทดสอบความคงทนของสีต่อ การขัดถูของกลุ่มตัวอย่าง ผ้าไหม A ผ้าไหม B ผ้าไหม C ได้ผลเท่ากันทุกชนิด โดยอยู่ในเกณฑ์ 4-5 คือ สีเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยถึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสี ผลการทดสอบความคงทนของสีต่อการซักฟอก มีเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่ระดับ 3-4 คือ มีสีเปลี่ยนพอสังเกตได้ถึงสีเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย การสีตกติดผ้าขาว พบว่าในผ้าฝ้ายและผ้า SILK อยู่ในระดับ 4-5 คือ สีเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยถึงไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้สู่ชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมทอมือพื้นเมืองด้วยนวัตกรรมการย้อมสีจากมูลหนอนไหมสู่การตลาดออนไลน์ สร้างการแข่งขันการผลิตผ้าไหมทอมือพื้นเมืองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากผลการวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ (1) เชิงวิชาการ คือองค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิต กระบวนการผลิต และการเพิ่มมูลค่าผ้าทอมือพื้นเมืองด้วยนวัตกรรมการย้อมสีจากมูลหนอนไหม เพื่อยกระดับอาชีพ เสริมสร้างขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นและขยายผล สู่กลุ่มผลิตผ้าทอมือในจังหวัดศรีสะเกษ (2) เชิงชุมชนและสังคม กลุ่มผู้ผลิตผ้าทอมือเกิดองค์ความรู้ใหม่การสกัดสีและการย้อมสีจากทุนทางภูมิปัญญาของชุมชนและนวัตกรรม ข้อมูลและองค์ความรู้ที่ได้มาพัฒนาการผลิตให้มีมูลค่าสูงขึ้น และคงอัตลักษณ์ของท้องถิ่นในผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค สร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้องค์ความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ยังจะเป็นประโยชน์แก่ชุมชนอื่น ๆ ในการประยุกต์ใช้ ขยายผล และสร้างเครือข่าย เพิ่มมูลค่า เชิงพาณิชย์ให้แก่ผ้าทอมือจังหวัดศรีสะเกษเพื่อการพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน (3) เชิงนโยบาย เป็นแนวทางที่จะพัฒนานวัตกรรม การย้อมสีจากมูลหนอนไหมให้กับหน่วยงานภาครัฐ หรือเอกชนที่สนใจ ขับเคลื่อนนโยบายในการส่งเสริมอาชีพ ยกระดับขีดความสามารถในการผลิตของกลุ่มผู้ผลิตผ้าทอมือ ให้ได้มาตรฐานอันจะเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ และรายได้ให้แก่ชุมชนท้องถิ่น คำสำคัญ นวัตกรรม การย้อมสี มูลหนอนไหม <br><br>Abstract According to the promotion and support on production from the government, the local textile industry is becoming a popular industry. It was found that there is the use of synthetic colors to replace the natural colors because synthetic colors provide consistent colors and easy preparation, while the natural colors are uneven. In addition, the chemical dyes contain harmful substances that affect both users and the environment. Therefore, the use of natural dyes is considered the wise wisdom of Isan textile artists. They apply colors from various local flora to dyeing and make the textiles unique. Consequently, the researcher studied this research due to the biodiversity of colors based on the following objectives: (1) to manage the knowledge of color extraction and dyeing from silkworm manure, (2) to study the innovative color extraction and dyeing from silkworm manure, and (3) to transfer technology and knowledge to local communities on more efficiency hand-woven fabric dyeing using innovative dyeing from silkworm manure. Regarding the color extraction condition from silkworm manure under the determining amount of solvent (distilled water) with dark green mixed dark brown silkworm manure, it was found that the pH range of 7.38-7.92 with color extraction under solvent condition or 200 ml. of distilled water for a period of 120 minutes provided the maximum pH value (7.92? 0.03a). Furthermore, it was found that increasing distilled water significantly affected increased pH value, and also the extraction period could statistically (p?0.05) when the water volume increased, the pH value tended to increase with neutral pH value and tended to increase alkalinity. The silkworm manure extract found that at the 300 ml. of solvent with an extraction period of 120 minutes could provide the maximum hue value (69.31?0.92a). The hue value of silkworm manure extract provided dark green mixed brown color when the amount of solvent and extraction period increased, which resulted in a reduction of hue’s statistically significant (p?0.05). According to the study the optimal condition for hand-woven fabric dyeing from silkworm manure with the extraction condition ratio at 10:100:90 (sample (g)) per volume of distilled water (ml) per extraction period (min)), it was found that there was no effect on the color values when adding dye auxiliary. In the general dyeing process, dye auxiliary will be added during and after the dyeing process. At the extraction condition at 10:300:120, there was no statistically significant difference. The pH value was increasing and relatively neutral when added to the silkworm manure extract. According to the property of the dissolved ash before adding to the silkworm manure extract, the alkaline pH value was about 8.95. When testing the fabric quality analysis on colorfastness test against rubbing of the samples of silk A, silk B, and silk C, the result was the same in the range of 4-5, which meant the color slightly changed to no change. Moreover, the colorfastness test against washing, the result revealed a change from the original at the level of 3-4, which meant the color noticeably changed to slightly change. The color ran into white in cotton fabric was at the level of 4-5, which meant the color slightly changed to no change. The color ran into white in silk fabric was at the level of 4-5, which meant the color slightly changed to no change. The derived technology and knowledge from the result can be transferred to the local communities to develop and enhance local hand-woven silk products using innovative dyeing from silkworm manure to become competitive online marketing for more effective local hand-woven silk products. The academic use of the aforementioned research result is to gain knowledge on production, production process, and value-added of local hand-woven fabrics using innovative dyeing from silkworm manure to enhance the careers and strengthen the capacity of the local communities in Sisaket Province as well as to extend to groups of hand-woven fabrics in Sisaket Province in the future. In terms of benefits to communities and societies, the groups of hand-woven fabric producers gain new knowledge on color extraction and dyeing from intellectual capital based on community wisdom and innovation. They can apply the gained information and knowledge to increase value-added to their products by remaining local identity of the products appropriately. In addition, the products can meet the consumers’ needs continuously, which can create commercial value. Furthermore, the useful knowledge gained from knowledge management will be able to apply and expand to other communities as well as building networks among their communities including commercial value-added of hand-woven fabrics to be useful for sustainable self-reliance in Sisaket Province. Regarding the policy benefits, important information can be provided to government agencies as a guideline to develop innovative dyeing from silkworm manure to drive the career promotion policy. Moreover, it can enhance the production capacity of the hand-woven fabric producers to standardize the production capacity which helps to create jobs, careers, and income for the local communities. Keywords: Innovation, Dyeing, Silkworm Manure

Date of Publication :

10/2022

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ