Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การวิจัยและสร้างนวัตกรรม การเพิ่มมูลค่าทรัพยากรท้อ...

TNRR

Description
โครงการวิจัยและสร้างนวัตกรรม การเพิ่มมูลค่าทรัพยากรท้องถิ่น การฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเค็มโดยชุมชนมีส่วนร่วม ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อจัดการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเค็มโดยระบบการจัดการน้ำและพัฒนาการปลูกพืชและผลิตภัณฑ์ที่มี มูลค่าสูงโดยชุมชนมีส่วนร่วม ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร 2)เพื่อส่งเสริมการผลิตสินค้าและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตในพื้นที่สู่การค้าและการตลาด 3) เพื่อพัฒนารูปแบบและการปรับใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่และสภาพเศรษฐกิจสังคมของครัวเรือนเกษตรกร 4) เพื่อพัฒนาทักษะในการเป็นนักวิจัยของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการผ่านการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 5) เพื่อเพิ่มมูลค่าทรัพยากรในชุมชนจากการใช้นวัตกรรม โดยการผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากมูลกระบือ และ 6) เพื่อฟื้นฟูและใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเค็มโดยการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชน โดยดำเนินการวิจัยใน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลทรายมูล อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ตำบลหัวหนอง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น และตำบลเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ผลการดำเนินงานในพื้นที่ชุมชนบ้านหัวบึง ตำบลทรายมูล อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น พบว่า เกิดการสร้างมูลค่าของ ข้าว ผัก และสมุนไพรจากน้ำแร่ธรรมชาติที่มีธาตุอาหารซิลิกอนสูง และเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในชุมชน มีการจัดหาตลาดอินทรีย์และส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์โดยใช้เทคโนโลยีไส้เดือนดิน เพื่อส่งเสริมมูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น และได้มีการสร้างศูนย์เรียนรู้และตลาดชุมชน เกิดแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติที่สำคัญ ชุมชนบ้านหัวหนอง ตำบลหัวหนอง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น พบว่าปัญหาหลักของเกษตรกรคือ การขาดแคลนน้ำในการทำการเกษตร และยังคงขาดตลาดรับซื้อผลิตผลจากชาวบ้าน ทางคณะโครงการจึงได้ดำเนินการจัดการและติดตั้งระบบน้ำ ปั้มน้ำ ถังน้ำและโซลาร์เซลสำหรับพื้นที่ 11 ไร่ ในการรวมกลุ่มของเกษตรกรในการผลิตแบบการเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ดินเค็ม การขุดบ่อน้ำบาดาลเพื่อแก้ปัญหาให้เกษตรกรในพื้นที่ดินเค็มเป็นจำนวน 6 จุด และนำเอาองค์ความรู้ไปบริหารจัดการดินและน้ำ และการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็ม และมีการขับเคลื่อนและผลักดันให้เกษตรกรทั้ง 2 ชุมชน มีการรวมกลุ่ม ส่งเสริมข้าวและพืชผัก พริกอินทรีย์ดินเค็มและได้รับมาตราฐานเกษตรอินทรีย์และมาตราฐาน GAP เพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่าของสินค้าทางการเกษตรให้เป็นที่ต้องการของตลาดได้ ตำบลเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่ส่วนมากในที่ราบใช้ในการทำนา และจัดเป็นพื้นที่ดินเค็ม มีการทำปศุสัตว์ที่สำคัญ ได้แก่ การเลี้ยงกระบือกว่า 2,000 ตัว จากการดำเนินโครงการพบว่า ส่วนใหญ่คนในชุมชนมีรายได้จากการทำนา ซึ่งจะทำได้เพียงในช่วงฤดูฝนเท่านั้นเนื่องจากมีฝนตกชะล้างพื้นที่ดินเค็ม การจำหน่ายกระบือ และมูลกระบือ พบว่า มูลกระบือมีราคาต่ำ ดังนั้นชุมชนจึงต้องการเพิ่มมูลค่าของทรัพยากรในชุมชน โดยเฉพาะมูลกระบือ นวัตกรผู้ใช้เทคโนโลยีไส้เดือนดินเพื่อผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน โดยใช้มูลกระบือ สามารถใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มให้สามารถปลูกหญ้าอาหารสัตว์ได้ และมีนวัตกรผู้ทำสวนเกษตรผสมผสาน โดยมีเป้าหมายเป็นแหล่งสร้างอาหารปลอดภัย ซึ่งเข้าร่วมโครงการและสามารถถ่ายทอดความรู้การเลี้ยงไส้เดือนดินให้กับผู้ที่สนใจในชุมชนนำไปเลี้ยงในครัวเรือนของตนเองต่อไปได้ ดังนั้นโครงการนี้จึงมีส่วนสำคัญในการช่วยพัฒนาองค์ความรู้คนในชุมชน ทำให้มีระบบการจัดการน้ำที่ดีขึ้น และสามารถฟื้นฟูดินและพัฒนาระบบการผลิตพืชมูลค่าสูงให้แก่เกษตรกรได้ ซึ่งจัดเป็นการสร้างเครือข่ายเกษตรกร เพื่อผลิตเกษตรปลอดภัยหรืออินทรีย์ต่อไป<br><br>Projects on Research and Innovation to adding value to local resources and rehabilitation and utilization of salt affected area with community participation were conducted. The objectives of this project were 1) to manage, restore and utilize the saline land area by soil and water management system and develop crop and product cultivation with High value with community involvement and promote quality of life and increase income for farmers 2) to promote product production and create added value for local produce for trade and marketing; 3) to develop models and adaptation of technology and innovations that are suitable for the local context and socio-economic conditions of farm households; 4) to Develop skills as a researcher of participating farmers through participatory action research; 5) To study the marketing of products from the innovations made in this project; 6) to increase the value of resources in the community through the use of innovations. by producing earthworm fertilizer from buffalo dung; and 7) to restore and utilize the saline land area by developing community tourist attractions. The research was conducted in 3 sub-districts, namely Sai Mun Sub-district, Nam Phong District, Khon Kaen Province, Hua Nong Sub-district, Ban Phai District, Khon Kaen Province. and Mueang Pia Sub-district, Ban Phai District, Khon Kaen Province. The outcome of the project in Ban Hua Bueng community, Sai Mun sub-district, Nam Phong district, Khon Kaen province showed that the value creation of rice, vegetables and herbs from natural mineral water with high silicon nutrients were created because this area has an important natural resource as the ecological services supporting the community. Organic market is provided and organic vegetable cultivation is promoted using earthworm technology to promote higher valued product. Moreover, the learning center and a community market have been built. The emergence of important eco-tourism sites was created. Ban Hua Nong Community, Hua Nong Subdistrict, Ban Phai District, Khon Kaen Province, It was found that the main problem of farmers was water shortage in agriculture and still lack of market to sell produce from villagers. Therefore, the project team set up the water irrigation system and dug grownd wells to solve problems in 6 points to provide knowledge on water management systems. Promote the cultivation of rice and value crops to increase income for people in the community and pushing farmers in the community to receive organic farming standards in order to increase the value of agricultural products to be marketable. Mueang Pia Subdistrict, Ban Phai District, Khon Kaen Province Most of the area in the plain is used for farming. and classified as a saline land area and there are important livestock production, including raising more than 2,000 buffaloes. Most of the people in the community earn their income from farming. This can only be done during the rainy season because the rain washes off the saline soil area. The sale of buffalo and buffalo dung was found to be low in price. Therefore, the community wants to increase the value of resources in the community. especially buffalo dung An innovator who uses earthworm technology to produce earthworm manure using buffalo dung Earthworm manure can be used to restore saline soil to be able to grow forage grass. and there are innovators who make integrated agricultural gardens with the goal of creating a source of safe food who participate in the project and can transfer knowledge on raising earthworms to those who are interested in the community to raise them in their own households However, in Tambon Muang Pia, there are many beautiful ecosystems, including the activities of people in the community. and cultural traditions Therefore, it is an opportunity to develop into a community tourist attraction. to add value to resources and generate income for people in the community. Therefore, this project plays an important role in helping to develop the knowledge of people in the community. resulting in a better water management system and able to restore soil and develop a high-value crop production system for farmers which is organized to create a network of farmers to produce safe or organic agriculture.

Date of Publication :

05/2024

Publisher :

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

82223 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ