Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การพัฒนาพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ด้วยแนวคิดเมืองน่าอย...

TNRR

Description
โครงการการพัฒนาพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ด้วยแนวคิดเมืองน่าอยู่ มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดคุณสมบัติความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ที่ตื่นรู้ (Active Citizenship) ของพลเมืองในเมืองลำปาง ภายใต้แนวคิดเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ เพื่อเสริมสร้างทักษะใหม่ (Upskill) และพัฒนาทักษะที่มีอยู่ (Reskill) แก่พลเมืองลำปางสู่การเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ในเมืองน่าอยู่ และเพื่อบ่มเพาะแกนนำและเครือข่ายพลเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ เป็นการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพมุ่งเน้นที่การปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) โดยคณะผู้วิจัยและกลุ่มชุมชนร่วมกันขับเคลื่อนและวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและความต้องการ สะท้อนความคิดร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้และวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงและลงมือปฏิบัติตามแผน พื้นที่การดำเนินการได้แก่เขตเทศบาลนครลำปาง และเทศบาลเมืองเขลางค์นคร ในอำเภอเมือง จังหวัดลำปางคณะผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยการจัดประชุมระดมสมองระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อกำหนดเป้าหมายการพัฒนา เพื่อร่วมวิเคราะห์และกำหนด Flagship ด้านการพัฒนาพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ กำหนดกลุ่มพลเมืองสร้างสรรค์ ลักษณะของเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ และคุณสมบัติอันพึงประสงค์ของพลเมืองสร้างสรรค์ เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อย และการระดมสมอง วัดและประเมินคุณสมบัติความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ที่ตื่นรู้ โดยข้อคำถามได้รับการตรวจสอบความถูกต้องเที่ยงตรง (validity) โดยผู้เชี่ยวชาญ การประชุม Focus group เพื่อดำเนินการวัดและประเมินคุณสมบัติความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ที่ตื่นรู้ (Active Citizenship) ของพลเมืองในเมืองลำปาง เมื่อได้ลักษณะของคุณสมบัติความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ที่ตื่นรู้ของพลเมืองในเมืองลำปางแล้ว จึงสร้างหลักสูตรการพัฒนาและเสริมสร้างทักษะใหม่ (Upskill) และพัฒนาทักษะที่มีอยู่ (Reskill) แก่พลเมืองลำปางสู่การเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ การจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะใหม่ (Upskill) และกิจกรรมการพัฒนาทักษะที่มีอยู่ (Reskill) แก่พลเมืองลำปางสรร้างสรรค์นำร่อง ในขณะเดียวกันก็จัดกิจกรรรมเพื่อสอดแทรกการบ่มเพาะแกนนำและเครือข่ายพลเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ รรวมถึงส่งเสริมให้ผู้แทนพลเมืองลำปางสร้างสรรค์นำร่องได้นำเสนออัตลักษณ์พลเมืองสร้างสรรค์ ลำปางเมืองน่าอยู่สู่พื้นที่อื่น ๆ ในประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยน และเผยแพร่ผลการดำเนินงานสามารถวิเคราะห์ความต้องการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะของพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ในด้านทัศนคติ องค์ความรู้ ทักษะ และความสร้างสรรค์เฉพาะกลุ่ม ผลการวิเคราะห์พลเมืองลำปางสร้างสรรค์นำร่อง ได้แก่ กลุ่มคนขับรถม้า กลุ่มผู้ประกอบการสร้างสรรค์ กลุ่มบุคลากรภาครัฐ กลุ่มชุมชนวัฒนธรรม และกลุ่มกาดกองต้า หลักสูตรและรูปแบบกิจกรรมการพัฒนาที่ต้องการ ได้แก่ การพัฒนารูปแบบบริการของรถม้าลำปางสร้างสรรค์ (Upskill) การพัฒนาผู้ประกอบการสร้างสรรค์ด้านการตลาดบนสื่อออนไลน์และโซเซียลมีเดีย (Reskill) บุคลากรลำปางสร้างสรรค์ สานฝันสู่ลำปาง-เรียนรู้-น่าอยู่-ยั่งยืน (Reskill) การสร้างสรรค์งานอีเว้นท์จากต้นทุนทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชุมชน (Upskill) เมนูลับกาดกองต้าสู่วิถีเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Reskill) และการเพิ่มมูลค่าอาหารเฉพาะถิ่นของกาดกองต้าให้เป็นเมนูสร้างสรรค์ (Upskill) ในระหว่างการรดำเนินงานได้ส่งเสริมและสอดแทรกกิจกรรมเพื่อบ่มเพาะแกนนำและเครือข่ายพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ และสามารถส่งเสริมแกนนำที่มีศักยภาพเพื่อร่วมขับเคลื่อนเมืองและสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านพลเมืองสร้างสรรค์แก่สมาชิกในกลุ่มได้ รวมทั้งได้ส่งเสริมและนำเสนออัตลักษณ์พลเมืองสร้างสรรค์ลำปางเมืองน่าอยู่สู่เครือข่ายต่างพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ผลการดำเนินงาน รวมถึงได้นำเสนอผ่านการเสวนาออนไลน์และได้รับความสนใจเป็นอย่างดีสรุปผลการดำเนินงานชื่อโครงการ : การพัฒนาพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ด้วยแนวคิดเมืองน่าอยู่วัตถุประสงค์ของการวิจัย :1) เพื่อวัดคุณสมบัติความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ที่ตื่นรู้ (Active Citizenship) ของพลเมืองในเมืองลำปาง ภายใต้แนวคิดเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่ต้นแบบตามตัวชี้วัดลำปางเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์2) เพื่อเสริมสร้างทักษะใหม่ (Upskill) และพัฒนาทักษะที่มีอยู่ (Reskill) แก่พลเมืองลำปางสู่การเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ในเมืองน่าอยู3) เพื่อบ่มเพาะแกนนำและเครือข่ายพลเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ที่มาของการวิจัย :จังหวัดลำปางได้กำหนดวิสัยทัศน์ของพื้นที่ไว้ว่า ลำปาง เมืองน่าอยู่ นครแห่งความสุข แต่ในปัจจุบันพื้นที่ในเขตเมืองลำปางยังพบอุปสรรคที่ไม่อาจพัฒนาเมืองให้เติบโตไปตามทิศทางที่วางไว้ได้ สาเหตุหลักมาจากการขยายตัวของประชากรและเศรษฐกิจ และการพัฒนาความเจริญที่ไม่สัมพันธ์กับการพัฒนาคน และปัญหาข้างต้นส่งผลให้ลำปางที่เคยเป็นเมืองอันเงียบสงบและมีมนตร์เสน่ห์งดงามเปลี่ยนแปลงไปเป็นสังคมเมืองที่มีความวุ่นวายมากขึ้น ค่าครองชีพสูง ตรงกันข้ามกับระดับคุณภาพชีวิตที่ลดลง ประชาชนที่เคยอยู่อาศัยกันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยเริ่มปรับวิถีเป็นต่างคนต่างอยู่ เกิดพฤติกรรมละเลยสังคมไม่สนใจพัฒนาตนเอง และขาดตกในเรื่องจิตสำนึกสาธารณะ อันเป็นจุดที่เริ่มต้นและอุปสรรคที่ทำให้เมืองไม่สามารถพัฒนาได้ตามวิสัยทัศน์สู่อนาคตของเมืองน่าอยู่ได้ แนวคิดสำคัญเพื่อพัฒนาเมืองลำปางภายใต้การขยายตัวที่รวดเร็วนี้ ประกอบกับผลการศึกษาวิจัยในโครงการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาเมืองยั่งยืนเพื่อรองรับท่องเที่ยวไทย 4.0 แผนเมืองท่องเที่ยววัฒนธรรมลำปางเซรามิกซิตี้ พบข้อเสนอจากเครือข่ายในพื้นที่เกี่ยวกับแบบแผนหรือทิศทาง โดยมีเป้าหมายพัฒนาเมืองลำปางให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจด้วยกลไกพัฒนาเมืองร่วมกับองค์กรปกครองในพื้นที่เพื่อที่จะทำให้เกิดความสร้างสรรค์แปลกใหม่บนฐานต้นทุนทางสังคม ปะวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบลำปาง รักษาคุณค่าเดิมและเพิ่มมูลค่าใหม่ให้แก่เมืองลำปาง การวิจัยนี้ได้ดำเนินการขับเคลื่อนกิจกรรมการพัฒนาพลเมืองลำปางสร้างสรรค์และร่วมมือกับหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงานราชการในพื้นที่ หน่วยงานเอกชน นักวิชาการ ผู้นำชุมชน และประชาชนชาวลำปางในการบ่มเพาะพลเมืองสร้างสรรค์ ผ่านกระบวนการหลักได้แก่ จัดการประชุมระดมสมองระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การรร่วมกำหนดเป้าหมายการพัฒนาจากผลการศึกษาและผลการดำเนินงาน การวิเคราะห์และกำหนด Flagship ด้านการพัฒนาพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ด้วยแนวคิดเมืองน่าอยู่ การประเมินและวัดทักษะและความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์กลุ่มประชากรที่อยู่อาศัยในเมืองลำปางการจัดทำหลักสูตรการพัฒนาและเสริมสร้างทักษะใหม่ (Upskill) และพัฒนาทักษะที่มีอยู่ (Reskill) ให้มีศักยภาพยิ่งขึ้น จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างทักษะใหม่และพัฒนาทักษะที่มีอยู่แก่ทรัพยากรและทุนมนุษย์ในเขตเทศบาลนครลำปาง และเทศบาลเมืองเขลางค์นคร รวมถึงการจัดกิจกรรมสนับสนุนและบ่มเพาะแกนนำเครือข่ายพลเมืองลำปางรุ่นใหม่ เพื่อเติมเต็มองค์ความรู้ที่จำเป็นและเสริมทักษะเดิมให้พลเมืองลำปางเกิดคุณสมบัติพลเมืองสร้างสรรค์ สามารถถ่ายทอดปลูกฝังกระบวนการเสริมทักษะใหม่และการพัฒนาทักษะที่มีอยู่ให้ไปสู่เยาวชนรุ่นหลัง เหนือสิ่งอื่นใดคือการได้จุดประกายให้พลเมืองมีความพร้อมที่จะร่วมมือกันสรรค์สร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมในการดำเนินชีวิต ตามนิยามของเมืองน่าอยู่และสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของเมืองลำปางระเบียบวิธีวิจัย :การวิจัยนี้เป็นการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพมุ่งเน้นที่การปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) โดยคณะผู้วิจัยและกลุ่มชุมชนร่วมกันขับเคลื่อนและวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและความต้องการ สะท้อนความคิดร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้และวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลง และลงมือปฏิบัติตามแผน คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยการจัดประชุมระดมสมองระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อกำหนดเป้าหมายการพัฒนา เพื่อร่วมวิเคราะห์และกำหนด Flagship ด้านการพัฒนาพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ กำหนดกลุ่มพลเมืองสร้างสรรค์ ลักษณะของเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ และคุณสมบัติอันพึงประสงค์ของพลเมืองสร้างสรรค์ เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อย และการระดมสมอง วัดและประเมินคุณสมบัติความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ที่ตื่นรู้ โดยข้อคำถามได้รับการตรวจสอบความถูกต้องเที่ยงตรง (validity) โดยผู้เชี่ยวชาญ การประชุม Focus group เพื่อดำเนินการวัดและประเมินคุณสมบัติความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ที่ตื่นรู้ (Active Citizenship) ของพลเมืองในเมืองลำปาง เมื่อได้ลักษณะของคุณสมบัติความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ที่ตื่นรู้ของพลเมืองในเมืองลำปางแล้ว จึงสร้างหลักสูตรการพัฒนาและเสริมสร้างทักษะใหม่ (Upskill) และพัฒนาทักษะที่มีอยู่ (Reskill) แก่พลเมืองลำปาง สู่การเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ การจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะใหม่ (Upskill) และกิจกรรมการพัฒนาทักษะ ที่มีอยู่ (Reskill) แก่พลเมืองลำปางสร้างสรรค์นำร่อง ในขณะเดียวกันก็จัดกิจกรรรมเพื่อสอดแทรกการบ่มเพาะแกนนำและเครือข่ายพลเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ รรวมถึงส่งเสริมให้ผู้แทนพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ นำร่องได้นำเสนออัตลักษณ์พลเมืองสร้างสรรค์ ลำปางเมืองน่าอยู่สู่พื้นที่อื่น ๆ เพื่อแลกเปลี่ยน และเผยแพร่ โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัยดังนี้1. ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเมืองสร้างสรรค์ เมืองน่าอยู่ และกระบวนการพัฒนาพลเมือง จากเอกสาร งานวิจัย รายงาน เว็บไซต์ เป็นต้น 2. จัดประชุมระดมสมองระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อกำหนดเป้าหมายการพัฒนาและกำหนด Flagship ด้านการพัฒนาพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ด้วยแนวคิดเมืองน่าอยู่ 3. สร้างเครื่องมือวัดและประเมินคุณสมบัติความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ที่ตื่นรู้ (Active Citizenship) ของพลเมืองในเมืองลำปาง ภายใต้แนวคิดเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ 4. จัดประชุม Focus Group เพื่อวัดและประเมินคุณสมบัติความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ที่ตื่นรู้ (Active Citizenship) ของกลุ่มพลเมืองสร้างสรรค์นำร่องในเมืองลำปาง ภายใต้แนวคิดเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์5. วิเคราะห์ข้อมูลและสร้างหลักสูตรการพัฒนาและเสริมสร้างทักษะใหม่ (Upskill) และพัฒนาทักษะ ที่มีอยู่ (Reskill) แก่พลเมืองลำปางสู่การเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ในเมืองน่าอยู่6. พัฒนาและประเมินคุณค่าและความเป็นไปได้ของหลักสูตรการพัฒนา ฯ 7. จัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะใหม่ (Upskill) แก่พลเมืองลำปางสร้างสรรค์นำร่องตามผล การวิเคราะห์8. จัดกิจกรรมการพัฒนาทักษะที่มีอยู่ (Reskill) แก่พลเมืองลำปางสร้างสรรค์นำร่องตามผล การวิเคราะห์9. จัดกิจกรรมบ่มเพาะแกนนำและเครือข่ายพลเมืองลำปางสร้างสรรค์10. เข้าร่วมเวทีการนำเสนออัตลักษณ์พลเมืองสร้างสรรค์ ลำปางเมืองน่าอยู่สู่พื้นที่อื่น ๆ เพื่อแลกเปลี่ยน และเผยแพร่การดำเนินงานผลการวิจัย :ความเป็นพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ในบริบทของเมืองน่าอยู่หมายถึงความเป็นพลเมืองในมิติ ของการรวมตัวกันเป็นกลุ่มชุมชนหรือสังคม โดยพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ถูกคาดหวังให้เป็นผู้ที่มีคุณลักษณะ ที่เมืองต้องการเพื่อส่งเสริมให้ก้าวไปข้างหน้าในแบบที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับของสมาชิกของเมืองโดยทั่วไปนั่นคือมีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติที่แสดงให้เห็นถึงทัศนคติ องค์ความรู้ และทักษะของพลเมือง ที่สามารถเสริมสร้างและทำให้เมืองมีความน่าอยู่มากขึ้น และส่งเสริมความเป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ในอนาคตได้อย่างยั่งยืนด้วยโดยทัศนคติ หมายถึงความคิด ความรู้สึก ความเข้าใจ ฯลฯ ของบุคคล หรือสมาชิกกลุ่ม ที่มีต่อกลุ่มและเมืองลำปางในด้านต่าง ๆ องค์ความรู้ หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ชุมชน และสังคม และทักษะ หมายถึงความถนัด ความเชี่ยวชาญ ในการทำสิ่งต่าง ๆ ของบุคคล หรือสมาชิกกลุ่มในการอยู่อาศัยในกลุ่มและเมืองลำปางในด้านต่าง ๆ และสิ่งที่จำเป็นอีกประการสำหรับพลเมืองลำปางสร้างสรรค์คือความรู้และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับทักษะและกระบวนการสมัยใหม่ เช่น ทักษะการใช้อุปกรณ์สื่อโซเชียลมีเดีย กระบวนการคิดแบบ systems thinking กระบวนการคิดแบบการฉายภาพอนาคต ทักษะการติดต่อสื่อสารและโน้มน้าวใจ ทักษะการบริการที่เป็นเลิศ เป็นต้น ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้นำเสนอคุณลักษณะที่ดีของความเป็นพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ในบริบทของเมืองน่าอยู่ประกอบด้วยคุณลักษณะหลัก 4 ด้าน ได้แก่ 1. คุณลักษณะด้านทัศนคติพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ ประกอบด้วยคุณลักษณะย่อย 4 ประการ ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อตนเองและการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชน จิตสาธารณะ จิตสำนึกเมืองลำปาง และจิตวิทยาการอยู่ร่วมกัน 2. คุณลักษณะด้านองค์ความรู้ของพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ ประกอบด้วยคุณลักษณะย่อย 4 ประการ ได้แก่ องค์ความรู้เกี่ยวกับเมืองน่าอยู่และเมืองสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือกระบวนการใหม่ ลำปางเมื่อวันวาน..เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่อนาคต และการประกอบสัมมาชีพ 3. คุณลักษณะด้านทักษะของพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ ประกอบด้วยคุณลักษณะย่อย 4 ประการ ได้แก่ ทักษะด้านการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ การคิดเชิงระบบ การทำงานเป็นทีม และทักษะความสามารถ ในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา 4. คุณลักษณะด้านการสร้างสรรค์เฉพาะกลุ่มของพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ หมายถึง ความคิด แปลกใหม่ การกระทำที่แตกต่างไปจากเดิมแต่ไม่ขัดแย้งกับแนวคิดเดิมเพื่อส่งเสริม ต่อยอด และขยายขอบเขตของคุณค่าให้กว้างไปมากกว่าเดิม เช่น การพัฒนาการบริการของคนขับถม้าด้วยการรกระทำที่แปลกแตกต่างไปจากเดิม เพื่อทำให้เกิดความประทับใจเพิ่มมากขึ้น การพัฒนารูปแบบการจำหน่ายและรรูปแบบผลิตภัณฑ์ของสินค้าเซรามิก เป็นต้น ซึ่งหากนำคุณลักษณะที่ดีของพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ทั้ง 4 ด้านนี้ไปขยายและพัฒนากลุ่มพลเมืองกลุ่มอื่น ๆ เพิ่มเติม ก็จะได้พลเมืองสร้างสรรค์ที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกัน แต่จะแตกต่างกันในคุณลักษณะ ด้านการสร้างสรรค์เฉพาะกลุ่มเท่านั้นซึ่งถือเป็นวิชาชีพเฉพาะที่สามารถพัฒนาได้ ในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศไทย หากต้องการพัฒนาพลเมืองของตนเองให้มีความสร้างสรรค์แปลกใหม่ดังเช่นเมืองลำปาง ก็สามารถนำรูปแบบการพัฒนานี้ไปประยุกต์ใช้ได้ เนื่องจากมีกระบวนการที่ไม่ซับซ้อนและสามารถนำไปต่อยอดลงมือปฏิบัติได้ทันที ประเด็นสำคัญของการพัฒนาพลเมืองสร้างสรรค์ได้แก่ความร่วมมือร่วมใจและความต้องการที่ระเบิด จากภายใน คณะผู้วิจัยไม่สามารถดำเนินการเพียงแค่ทบทวนวรรณกรรม ศึกษาเอกสาร แล้วชี้นำทางความคิดแก่สมาชิกของเมืองสร้างสรรค์ให้พัฒนาในจุดที่คณะผู้วิจัยต้องการได้ เนื่องจากจะเป็นการมองจากภายนอกและเป็นการพัฒนาที่คนในพื้นที่ไม่ได้ต้องการ การดำเนินงานจะสำเร็จได้ผลดีมากยิ่งขึ้นหากมีการระดมความคิด การวิเคราะห์ความต้องการร่วมกัน การฉายภาพอนาคตให้เห็นร่วมกัน และการสรุปความต้องการเป็นของเมืองที่ไม่ใช่เป็นความต้องการของคนภายนอก และการร่วมมือกันขับเคลื่อนอย่างช้า ๆ แต่มั่นคงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ :1. เผยแพร่และประกาศใช้คุณลักษณะที่ดีของพลเมืองลำปางสร้างสรรค์อย่างจริงจัง โดยเฉพาะควรวางแผนเพื่อปลูกฝังคุณลักษณะเช่นนี้ในเยาวชน ผ่านสถาบันการศึกษาทุกระดับในพื้นที่ เพื่อบ่มเพาะพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นมาในอีก 5-10 ปีข้างหน้า2. ส่งเสริมการใช้หลักสูตรการพัฒนาพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ที่พัฒนาขึ้น เช่น อาจนำเสนอต่อสถาบันการศึกษาในพื้นที่ให้นำไปประยุกต์เป็นหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาเยาวชนลำปาง เป็นต้น3. ส่งเสริม สนับสนุน ปลูกฝังและให้ความรู้อย่างจริงจังในเรื่องของการขับเคลื่อนเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ที่ต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการสร้างจิตสำนึกในประวัติศาสตร์ ประเพณี วิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่ดีและถูกต้องทั้งต่อบุคคลภายนอกและคนในพื้นที่อย่างสมดุล 4. ส่งเสริมให้เกิดการสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มพลเมืองกลุ่มต่าง ๆ ในการดำเนินงานด้านการขับเคลื่อนความเป็นเมืองสร้างสรรค์และเมืองน่าอยู่ของจังหวัดลำปาง ให้ดำเนินงานสอดคล้องกัน สัมพันธ์กัน หรือเป็นไปในทิศทางเดียวกัน5. หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ทุกหน่วย ควรส่งเสริมเชื่อมโยงกาพัฒนาคนร่วมกันนอกเหนือไปจาก การดำเนินงานตามหน้าที่หลัก 6. ส่งเสริมให้เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านพลเมืองสร้างสรรค์ในพื้นที่เขตในเมืองกับเขตท้องถิ่นอื่น7. ขยายพื้นที่และขอบเขตการพัฒนาพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ไปยังกลุ่มอื่น ๆ และพื้นที่อื่น ๆ อาทิ กลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกท้องถิ่น กลุ่มผู้ประกอบการที่ได้รรับผลกระทบจากโควิด-19 พื้นที่อำเภอรอบนอก เช่น เกาะคา ห้างฉัตร แม่ทะ เป็นต้น 8. ขยายพื้นที่และขอบเขตการพัฒนาพลเมืองสร้างสรรค์ไปยังกลุ่มอื่น ๆ และพื้นที่อื่น ๆ อาทิ จังหวัด อื่น ๆ โดยอาจปรับเปลี่ยนคุณลักษณะบางประการไปตามบริบทของพื้นที่นั้น ๆ 9. กระบวนการทำงานและการออกแบบโครงการในลักษณะการขับเคลื่อนเมืองหรือความร่วมมือ จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบและความร่วมมือจากหลายฝ่าย บางครั้งการทำความเข้าใจมีความละเอียดอ่อนที่เกี่ยวข้องในมิติของเมืองที่มีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเฉพาะตน ควรมีดำเนินงานอย่างค่อยเป็นค่อยไป อาจมีการปรับเปลี่ยนแนวทางระหว่างดำเนินงานในลักษณะของการทำและ เรียนรู้และแก้ไขสถานการณ์ปัญหาไป พร้อม ๆ กัน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความร่วมมือเชิงสร้างสรรค์ระหว่างผู้คนในชุมชนและคณะ ผู้ดำเนินงาน10. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจระหว่างสมาชิกของเมืองในกลุ่มต่าง ๆ โดยการจัดเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในมุมมองของการพัฒนาคน และการพัฒนาคุณภาพที่ไม่ใช่กายภาพแต่เพียงอย่างเดียว เพื่อเป็นการสรางความเข้าใจระหว่างกันให้ตรงกันและแก้ไขปัญหาชุมชนร่วมกัน11. ส่งเสริมให้มีกิจกรรมพัฒนาอาชีพเสริมและอาชีพทางเลือกแก่กลุ่มประชาชนในพื้นที่เพื่อสร้างรายได้เสริมและเพื่อจูงใจในการรวมตัวและการสร้างปฏิสัมพันธ์ของผู้คนในชุมชนที่มาจากกลุ่มที่แตกต่างกัน 12. การดำเนินโครงการในระยะต่อไปควรมีจุดเน้นส่งต่อให้กับคนรุ่นใหม่ ให้ได้สานต่อกิจกรรมและความสัมพันธ์ของกลุ่มพลเมืองให้เกิดความต่อเนื่อง และมีรูปธรรมยิ่งขึ้น นอกจากนี้ควรประสานให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการ เล่าปูมลำปาง และมิติของการอยู่ร่วมกันของพลเมืองช่วงวัยต่าง ๆ ในเมืองลำปาง เพื่อถอดองค์ความรู้เกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิดและภูมิปัญญาแล้วถ่ายทอดและส่งต่อให้คนรุ่นใหม่ได้สืบทอดต่อไป<br><br>The project of Lampang Creative Citizen Development with a Livable City Concept aimed to 1) evaluate the qualifications of Lampang’s creative people under the concept of Lampang livable and creative city 2) enhance the new required skills (Upskilling) and develop the existing skills (Reskilling) for Lampang creative people and 3) nurture leaders and network of Lampang’s creative people. The research used a qualitative research methodology focusing on the participatory action research (PAR) by researchers and people in the community groups collaborated in driving and analyzing the current conditions and desired development, reflecting on common ideas, exchanging, learning and conducting and implementing the plan. The research was operated in Lampang City Municipality and Khelang Nakhon Town Municipality area, Lampang Province. The tools used to collect the data and conduct the research were brainstorming sessions between stakeholders, focused group discussion, in-depth interview, reskilling workshops, upskilling workshops, seminar and face-to-face conversation. Upon obtaining the characteristics of the active and creative people qualifications of people in Lampang, therefore, it created courses for developing and enhancing new skills (Upskilling) and developing existing skills (Reskilling) for Lampang creative people. When organizing activities and workshops, the operation of creative people leaders cultivating and encouraging representatives from the groups of Lampang’s creative people. While operating the project, network building and leader cultivating activities were organized to encourage the expanded collaboration, as well as the presentation of Lampang creative people’s identity. The operation was analyzed and developed as Lampang creative people’s desired characteristics, which were attitudes, knowledge, skills and Lampang’s creativity for each of the specific group. The results of the analysis on Lampang’s pilot creative people were the horse-drawn carriage drivers, creative entrepreneurs, government personnel, cultural community people and the Kad Kongta community people. The creative people improvement curriculums and desired development activities included: the development of desired and creative service by Lampang’s horse-drawn carriage drivers (Upskill), the development of creative entrepreneurs in online marketing and social media (Reskill), the creative Lampang government personnel for the creative and livable city (Reskill), creating cultural events based on cultural capital and community’s life-style (Upskill), Kad Kong Tas secret menu to creative economy (Reskill) and adding value to Kad Kong Ta’s local food as creative menu (Upskill). During the research operation, activities for nurturing creative leaders and Lampang creative people networks were promoted and encouraged. It was able to promote potential leaders to drive the city and create the creative people to change among members of the groups. Lampang’s creative people’s identity was also presented to the public including online and offline forums in different areas to exchange and disseminate the research results.SummaryProject title: Lampang Creative Citizen Development with a Livable ConceptResearch objectives:1. To evaluate the qualifications of Lampang’s creative people under the concept of Lampang livable and creative city.2. To enhance the new required skills (Upskilling) and develop the existing skills (Reskilling) for Lampang creative people.3. To nurture leaders and network of Lampang’s creative people.Research backgroundLampang province has set the vision for the area as "Lampang, a Livable and Happy City". However, at present, areas in Lampang city are still facing obstacles that prevent the city from progressing in the direction of its vision. This was primarily due to population and economic growth, as well as the development of civilizations which was unassociated to human development. As a result of the aforementioned issues, Lampang, which was once a peaceful city with beautiful charm, has evolved into a more chaotic urban society. The high living expenses, in contrast to the declining level of life quality, have made people who used to live in modest ways begin to become different people. Neglect of social behavior and a lack of public consciousness are the starting point and obstacles that prevent the city from developing in accordance with its future vision of a livable city. Under this rapid expansion, the important ideas for the development of Lampang, together with the results of the research project, will drive the strategic plan for sustainable city development to support Thai tourism 4.0. Lampang Ceramic City Cultural Tourism City Plan finds offers about patterns or directions from local networks. The goal was to develop Lampang City into an economic center by implementing a city development mechanism in collaboration with local government organizations in order to generate creativity based on social costs. The history, culture, and way of life of Lampang have preserved old values while adding new ones. The development of Lampang citizens is creative and collaborative across many sectors. Government agencies in the area, Private agencies, academics, community leaders and Lampang people were all involved in cultivating creative citizens through the main processes including holding a brainstorming session between stakeholders, participating in development goals based on study results and results analysis and determination. The flagship of Lampang Citizen Development, is creativity with the concept of livable city, assessment and measurement of skills and creative citizenship among the population living in Lampang. Creating courses for developing and enhancing new skills (Upskill) and developing existing skills (Reskill) to generate greater potential. Organizing workshops to enhance new skills and develop existing skills for resources and human capital in Lampang City Municipality and Khelang Nakhon City Municipality. As well as organizing activities to support and nurture the new generation of Lampang citizen network leaders in order to fill the necessary knowledge and enhance the old skills so that the citizens of Lampang could have the qualities of a creative citizen who is able to transfer the process of enhancing new skills and developing existing skills to the next generation of youth. Above all, was to inspire the citizens to be ready to work together to create an environment suitable for living in accordance with the definition of a livable city and the vision of Lampang city. Research methodologyThe research used a qualitative research methodology focusing on participatory action research (PAR) by researchers and people in the community groups collaborating in driving and analyzing the current conditions and desired development, reflecting on common ideas, exchanging, learning and conducting and implementing the plan. The researchers collected data by organizing a brainstorming session between stakeholders to set the development goals, and participating in the analysis and determination of the Flagship of Creative Lampang Citizen Development, defining creative citizen groups characteristics of a livable and creative city and desirable qualities of creative citizens, measuring and assessing the qualities of an active creative citizen.The questions were checked for validity by experts and focus group discussion to measure and assess the qualifications of active citizenship of Lampang citizens. Upon obtaining the characteristics of the active and creative people qualifications of people in Lampang, therefore, it created courses for developing and enhancing new skills (Upskilling) and developing existing skills (Reskilling) for Lampang creative people. When organizing activities and workshops, the operation of creative people leaders cultivating and encouraging representatives from the groups of Lampang’s creative people. While operating the project, network building and leader cultivating activities were organized to encourage the expanded collaboration, as well as the presentation of Lampang creative people’s identity. The research process was as follows:1. Reviewed literature on creative cities, livable cities, and civic development processes from documents, research, reports, websites, etc.2. Organized a brainstorming meeting between stakeholders to set development goals and set a Flagship for the development of Lampang citizens, as well as create a concept of livable city.3. Created a tool to measure and assess the qualifications of active citizenship of citizens in Lampang under the concept of livable and creative Lampang city.4. Organized a focus group discussion to measure and assess the qualities of active citizenship among pilot creative citizens in Lampang under the concept of the livable and creative Lampang city.5. Analyzed data and create courses to help Lampang citizens develop and build new skills (Upskill) and enhance existing skills (Reskill) in order to become creative citizens in livable cities.6. Developed and evaluate the value and feasibility of development courses.7. Organized activities to build new skills (Upskill) for the citizens of Lampang to create a pilot based on the results of the analysis.8. Organized activities to enhance existing skills (Reskill) for the citizens of Lampang to create a pilot based on the results of the analysis.9. Organized activities to foster Lampang citizens leadership and creative networks.10. Participated in the forum to showcase creative citizen identity, and to show Lampang is a livable city for other areas to exchange, then publish the operation.Research resultsCreative Lampang citizenship in the context of a livable city meant citizenship in dimensions of the incorporation into a community or society. Creative Lampang citizens were expected to have characteristics. The city requires attributes or qualities that demonstrated attitudes in order to encourage it to move forward in a way that was appropriate and acceptable to its members in general. Citizens knowledge and skills could help to strengthen and improve the citys livability, promoting a more sustainable and livable city in the future. Attitude refers to a persons or group members thoughts, feelings, understandings, and so on toward the group and the city of Lampang in various aspects. Knowledge refers to the ability to understand and apply knowledge for the benefit of oneself, ones community, and society, whereas skill refers to a persons or a group members aptitude and expertise in carrying out the work. Another requirement for creative Lampang citizens living in various areas and cities is knowledge and expertise in modern skills and processes, such as the ability to use social media devices, systems thinking, and the process of imagining the future through the use of systems, communication and persuasive skills, excellent customer service abilities, etc. In this research project, the research team presented the positive characteristics of creative Lampang citizenship in the context of a livable city. There were four main characteristics:1. Attitude characteristics of creative Lampang citizens consists of four sub-features, namely self-responsibility and participation in community development, public consciousness, Lampang city consciousness, and coexistence psychology.2. Knowledge characteristics of creative Lampang citizens consist of four sub-features: knowledge of livable cities and creative cities, creativity, innovation or new process, and Lampang history in order to transit to the future and occupation.3. Skill characteristics of creative Lampang citizens consist of four sub-features: creative communication skills, systematic thinking, teamwork and skills in analyzing and solving problems.4. Specific characteristics of Lampang citizens. Creativity refers to new ideas and actions that differ from but do not contradict the original ideas while promoting, building on, and broadening the scope of values. To be more broad than before, for example, the development of the carriage drivers service with a different action could make more impression, the development of sales patterns and product forms of ceramic products, etc.If Lampang citizens good qualities were creative in these four areas to expand and develop more groups of citizens, then creative citizens with similar forms would be obtained. However, they only differ in terms of a specific groups creative abilities, which were considered specific professions that could be developed in other areas of Thailand. If you want to develop your own citizens to be creative, as in Lampang, the same development mode could be taken as the process is not complicated and could be implemented right away.The focus of creative citizenship development was collaboration and explosive needs, which means that researchers could not simply review the literature, study the papers, and direct their ideas to members of the creative city to develop where they need, because this will be seen from the outside and it was a development that the local people do not want. Operations will be more effective with brainstorming, joint needs analysis, projecting the future together and summarizing the needs of the city, rather than the needs of outsiders. And the cooperation was moving slowly but steadily.Recommendations and suggestions1. Publicize and proclaim the good qualities of Lampang citizens seriously. In particular, plans should be made to instill such qualities in youth through educational institutions at all levels in the area, in order to nurture and create the citizens of Lampang in the next 5-10 years.2. Promote the use of creative Lampang citizen development curricula, for example, it may be presented to educational institutions in the area to apply as a local curriculum for Lampang youth development, etc.3. Promote, support, cultivate, and educate seriously in the matter of driving creative livable cities, which must be performed in conjunction with creating awareness of the good and correct history, traditions, way of life, and culture, both to outsiders and people in the area in balance.4. Promote the creation of collaboration among various groups of citizens in the operation of driving creative and livable cities in Lampang Province, in order to operate in a consistent, related, or the same direction.5. In addition to carrying out the primary functions, all government agencies in the area should promote connecting and developing people.6. Encourage urban areas to connect and exchange creative civic knowledge with other local districts.7. Expand the area and scope of creative Lampang citizen development to other groups and areas, such as local ceramic product manufacturers, COVID-19-affected entrepreneurs, and outer district areas such as Koh Kha, Hang Chat, Mae Tha, etc.8. Expand the scope and area of creative citizen development to other groups and areas, such as other provinces, by adjusting certain characteristics to the context of that area.9. Work processes and project design that are city-driven or collaborative in nature, requiring the approval and cooperation of multiple parties. There are nuances involved in the dimensions of cities with their own distinct history and culture. As a result, implementation should be phased in. During the operation, the guidelines may change, and it was necessary to learn and solve problems at the same time, with the aim of fostering constructive cooperation between members of the community and the working group.10. Strengthen knowledge and understanding among city members in various groups by hosting forums for knowledge exchange in the context of people development. and the development of non-physical qualities solely for the purpose of fostering mutual understanding and working together to solve community problems.11. Promote activities to develop additional and alternative occupations for people in the area in order to generate additional income and to incentivize the integration and interaction of people from different groups in the community.12. The next phase of the project should focus on passing on to the next generation the activities and relationships of civic groups in order to ensure continuity and concreteness. In addition, knowledge exchange should be coordinated with "Pass and tell about Lampang" and the dimension of coexistence among Lampang citizens of various ages in order to extract the body of knowledge about feelings and wisdom and pass it on to the next generation.

Date of Publication :

05/2024

Publisher :

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

82223 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ