Description
โครงการนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการด้วยการนำกระบวนการมีส่วนร่วมเป็นหลักทุกขั้นตอน วัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการใช้พื้นที่กิจกรรมสาธารณะระดับเมืองและระดับชุมชนในประเด็นตำแหน่งที่ตั้ง ช่วงเวลา รูปแบบกิจกรรม ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพในขั้นตอนการให้ข้อมูลและแสดงความคิดเห็นภาคประชาสังคม ร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณในขั้นตอนการเก็บข้อมูลการใช้พื้นที่ทำกิจกรรมระดับชุมชนพื้นที่เทศบาลนครสงขลา และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อจัดกลุ่มคำตอบในประเด็นการเลือกตำแหน่งที่ตั้งกิจกรรม แนวทางการออกแบบพื้นที่ด้านกายภาพ และรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้ใช้ทุกกลุ่มวัย จากนั้นใช้ผลการวิเคราะห์ทั้งสองประเด็นมาทำการระบุและอภิปรายสถานการณ์พื้นที่กิจกรรมสาธารณะเมือง ผลการศึกษาที่ได้คืนกลับสู่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อหามติจัดทำพื้นที่กิจกรรมสาธารณะต้นแบบ ผลการศึกษาบ่งชี้ว่า มีการขยายพื้นที่ทำกิจกรรมสาธารณะเมืองจากบริเวณหาดชลาทัศน์ ไปยังพื้นที่โล่งบริเวณสระบัวและแหลมสนอ่อน โดยมีสถานการณ์การแพร่ระบาด Covid-19 เป็นเงื่อนไขหลักทำให้ความต้องการพื้นที่โล่งสาธารณะทำกิจกรรมเพิ่มขึ้น ข้อสรุปร่วมกันของกิจกรรมเวทีเชิงปฏิบัติได้เลือกพัฒนาพื้นที่สะพานดาวเป็นพื้นที่กิจกรรมสาธารณะต้นแบบภายใต้แนวคิดหลัก 1) การเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร (Social distancing) 2) รูปแบบกิจกรรมสำหรับผู้ใช้ทุกกลุ่มวัย 3) รูปแบบการพัฒนาจะต้องไม่ทำลายสภาพแวดล้อมเดิม 4) เพิ่มไฟฟ้าส่องสว่างเวลากลางคืน ทั้ง 4 แนวคิดมีความสัมพันธ์ที่ยึดโยงกันในกระบวนการออกแบบผังบริเวณและรูปแบบกิจกรรมที่มีการขับเคลื่อนผ่านกลไกความสัมพันธ์ 3 องค์ประกอบหลัก หรือ 3S คือ 1) Smart social 2) Smart people 3) Smart technology ข้อเสนอแนะการขับเคลื่อนให้บรรลุผลเชิงประจักษ์ตามเป้าหมาย การพัฒนาเมืองจำเป็นต้องมีการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและบูรณาการการทำงานร่วมกันกับทุกภาคีเครือข่าย ด้วยการนำการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนมาเป็นกำลังหลักของกลไกช่วยขับเคลื่อน และหน่วยงานท้องถิ่นเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณจึงจะสามารถผลักดันไปสู่การพัฒนาเมืองที่ยั่งยืนได้ คำสำคัญ : พื้นที่สาธารณะ เมืองน่าอยู่ เมืองอัจฉริยะ สงขลา<br><br>This participatory action research was purposed to investigate public space in city and community levels in terms of locations, durations, and activities. The quality method was conducted by providing information and expressing public opinions, together with the quantitative method by collecting the data of space use for communal activities in Songkhla Municipality. The data were then analyzed in order to classify the answers to location selection for activities, physical space design, and suitable activities for people at all ages. After that, the analyses were used to identify and describe situations of public space for activities. The search results were finally delivered to related people in order to find out resolutions for a model public space. The research results indicated that the public space for activities was expanded from Charatat Beach to the open space at Sra Bua and Laem Son On. According to the strict condition of COVID-19 pandemic, the open space for activities is more needed. The mutual conclusions of practical stage activities were agreed to develop Sapan Dao as a model public space under the following concepts: social distancing, activities for people at all ages, undestroyed environmental activities, and increase of lights at night. All these four concepts were also related to the design process of the layout plan and three elements of activity mechanism or 3S—smart society, smart people, and smart technology. Regarding the suggestions to achieve empirical purpose, city development needs communication for understanding and collaboration of every sector by having public participation as a main mechanism and a local organization as a budget supporter in order to enhance the city sustainably. Keywords: Public space, Livable city, Smart city, Songkhla
Date of Publication :
05/2024
Publisher :
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
82223 pages
People Who Read This Also Read