Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การสร้างระบบ กลไก รูปแบบเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบ...

TNRR

Description
การวิจัยเรื่อง การสร้างระบบ กลไก รูปแบบเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่การศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบ กลไกการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่การศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี 2) พัฒนารูปแบบเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่การศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี และ 3) พัฒนาเกณฑ์และตัวชี้วัดระบบ กลไก รูปแบบเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่การศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) มีวิธีการดำเนินการวิจัยโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) ในการวิเคราะห์หาองค์ประกอบ ตรวจสอบยืนยันองค์ประกอบด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) สร้างรูปแบบเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่การศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี โดยใช้การวิเคราะห์เส้นทางหรือความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (Path Analysis: PA) นำรูปแบบเครือข่ายฯ ที่ได้จากการวิจัยเชิงปริมาณมาประยุกต์ใช้ร่วมกับการดำเนินงานตามบริบทของโรงเรียน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) โดยมีโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเป็นกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 5 โรง ได้แก่ โรงเรียนเทพมงคลรังษี โรงเรียนทองผาภูมิ โรงเรียนบ้านซ่อง โรงเรียนบ้านตลุงเหนือ และโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) วิเคราะห์และตรวจสอบเกณฑ์ และตัวชี้วัดโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบสอบถามยืนยันเกณฑ์และตัวชี้วัดโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัย พบว่า1. องค์ประกอบของระบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่การศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ระบบการบริหารจัดการเครือข่าย และ 2) ข้อตกลงหรือพันธสัญญาในเครือข่าย ส่วนองค์ประกอบของกลไกการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่การศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) โครงสร้างและหน้าที่ของเครือข่าย 2) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร และ 3) บทบาทสมาชิกในเครือข่าย 2. รูปแบบเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่การศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของข้อตกลงหรือพันธสัญญาในเครือข่าย ได้รับอิทธิพลรวมสูงสุดจากการบริหารจัดการเครือข่าย รองลงมาคือ โครงสร้างและหน้าที่ของเครือข่าย บทบาทสมาชิกในเครือข่าย และภาวะผู้นำของผู้บริหาร ตามลำดับ 3. เกณฑ์ และตัวชี้วัดระบบ กลไก รูปเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่การศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี ได้แก่ 1) ด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ นโยบาย แผนกลยุทธ์ สมรรถนะผู้บริหาร บทบาทของครู บทบาทของกรรมการสถานศึกษา ภาคีเครือข่าย และโครงสร้างเครือข่ายความร่วมมือ 2) ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย การบริหารจัดการเครือข่ายที่ดี ได้แก่ การมีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมประจำปีร่วมกับภาคีเครือข่าย มีการดำเนินการตามแผน มีการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และมีการรายงานความสำเร็จให้ภาคีเครือข่าย 3) ด้านผลผลิต ประกอบด้วย นวัตกรรมการบริหาร นวัตกรรมการจัดการเรียนการรู้ของครู นวัตกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนคำสำคัญ: ระบบ กลไก รูปแบบเครือข่าย การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา<br><br>The research objectives of Building the systems, mechanism and networking model for collaborative educational administration of Educational Service Office Area in Kanchanaburi Province were to develop (1) systems and mechanism for collaborative educational administration of Educational Service Office Area in Kanchanaburi Province, (2) networking model for collaborative educational administration of Educational Service Office Area in Kanchanaburi Province, and (3) criterions and indicators of the systems, mechanism and networking model for collaborative educational administration of Educational Service Office Area in Kanchanaburi Province. It can be categorized as a mixed method research design. The procedure included: analyze the components of systems and mechanism by using Exploratory Factor Analysis (EFA), comfrim the component of systems and mechanism by using Comfirmatory Factor Analysis (CFA), develop networking model by using Path Analysis (PA), try out networking model in 5 school; there were Thepmongkhonrangsri School, Thongphaphomwittaya School, Banzong School, Bantalungnua School, and Tessaban 3 Banbor School by using Partcipatory Action Research (PAR), and determine criterions and indicators by using 9 jury experts. The research instruments were interview, questionnaire, and questionnaire for comfirmation criterions and indicators by jury experts. The research findings were as follows;1. Components of systems for collaborative educational administration of Educational Service Office Area in Kanchanaburi Province comprised networking management, and networking commitment, while components of mechanism for collaborative educational administration of Educational Service Office Area in Kanchanaburi Province comprised networking structure, leadership, and member roles2. Networking model for collaborative educational administration of Educational Service Office Area in Kanchanaburi Province found out causal effect fortors influencing networking commitment were networking management, networking structure, member roles, and leadership, respectively.3. Criterions and indicators of the systems, mechanism and networking model for collaborative educational administration of Educational Service Office Area in Kanchanaburi found that (1) inputs comprised vision, policy, strategic planning, administrator competencies, teacher’s roles, school board committee’s roles, networking partners, and networking structure, (2) process comprised networking management; there were networking project planning, implementation, monitoring, evaluating and reporting the result to networking partners, (3) outputs comprised management innovation, teaching innovation, learning innovation, and desirable characteristic of student. Keywords: systems, mechanism, networking model, collaborative educational administration, Educational Sandbox

Date of Publication :

05/2024

Publisher :

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

82223 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ