Description
การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาทางการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยชุมชนมีส่วนร่วม และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อร่วมกับชุมชน/ชาวบ้าน/เกษตรกร นำนวัตกรรมความรู้และเทคโนโลยีจากสถาบันการศึกษามาใช้ในการแก้ปัญหาสำคัญของชุมชนด้วยตัวชุมชนเอง 2) เพื่อร่วมกับชุมชน/ชาวบ้าน/เกษตรกร นำนวัตกรรมความรู้และเทคโนโลยีจากสถาบันการศึกษามาใช้ในการสร้างความมั่งคงทางด้านเศรษฐกิจให้กับชุมชน และ 3) เพื่อพัฒนาทักษะในการเป็นนักวิจัยของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการผ่านการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยดำเนินการในพื้นที่ 4 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และสุรินทร์ มีวิธีการวิจัยดังนี้ 1) การสำรวจชุมชนและเก็บข้อมูลพื้นฐานการเกษตร 2) วางเป้าหมายร่วมกัน ทำการวิเคราะห์ บริหารพื้นที่และโจทย์วิจัยที่จัดเจนตามแต่ละบริบทของชุมชน 3) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัย 4) สร้างพื้นที่เรียนรู้ 5) การให้ความรู้และจัดกิจกรรม 6) วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และ 7) สรุปผลการศึกษาวิจัยร่วมกับคนในชุมชน ผลการดำเนินงานตลอดโครงการ ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 1 ปี ใน 16 ตำบล พบว่า สามารถยกระดับรายได้ของครัวเรือนเกษตรกรโดยการประยุกต์ใช้ระบบน้ำจากพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อเพิ่มทางเลือกในการผลิตพืชเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในพื้นที่ ต.เขาพระนอน อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ ได้ โดยการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์และผักบนแปลงอิฐบล็อก ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบการปลูกพืชทางเลือกใหม่ที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้ ด้านการพัฒนาระบบการปลูกไม้ผลและการจัดการแปลงไม้ผลเชิงนิเวศน์แบบมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างอัตลักษณ์เฉพาะพื้นที่ ต.บ้านดง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น พบว่ามีเกษตรกรสนใจร่วมทดสอบเทคโนโลยี จำนวน 12 ราย จำนวนพื้นที่รวม 12 ไร่ โดยเป็นการปลูกมะม่วงโชคอนันต์ สลับแถวร่วมกับกล้วยน้ำว้า และเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงใจในระดับมาก-มากที่สุด ต.ท่ากระเสริม อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น พบว่า มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวน 12 คน มีพื้นที่การผลิตไม้ผล โดยเฉพาะฝรั่งและมะม่วง ประมาณ 600 ไร่ จากการดำเนินการเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการมีต้นทุนการผลิตลดลง เนื่องจากเกษตรกรมีการลดปริมาณของปุ๋ยเคมี และปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ โดยรวมเกษตรกรมีความพึงพอใจต่อโครงการระดับมาก และการดำเนินโครงการในพื้นที่ ต.โคกสง่า อ.พล จ.ขอนแก่น พบว่า มีเกษตรกรที่ร่วมโครงการ 9 คน มีพื้นที่ปลูกไม้ผลรวม 13.3 ไร่ ซึ่งได้วิจัยเรื่องการพัฒนาคุณภาพของมะม่วงแก้วขมิ้น เป็นหลัก และหลังสิ้นสุดโครงการเกษตรกรมีระดับความพึงพอใจต่อโครงการระดับมากที่สุด การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูหลุมโดยใช้นวัตกรรมและพัฒนานวัตกรรมเพื่อพัฒนาสู่เกษตรอินทรีย์แบบยั่งยืนในพื้นที่ ต. เฉนียง อ.เมือง จ.สุรินทร์ และ ต.ทมอ อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ พบว่าการนำพันธุกรรมสุกรพันธุ์ดีส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูหลุมในรูปแบบน้ำเชื้อและสุกรมีชีวิต ส่งผลให้เกษตรกรพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตดีขึ้น และมีการใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่นของเกษตรกรมีการนำมาใช้เพื่อสนับสนุนระบบการเลี้ยงแบบสุกรขุน นอกจากนี้มูลหมูหลุมที่ได้สามารถใช้ในระบบการเกษตรอินทรีย์ในชุมชนได้ การถ่ายทอดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม และการจัดการเพื่อให้ได้รับการรับรองมาตรฐานหมูหลุม ส่งผลให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงและจัดการหมูหลุมได้ดียิ่งขึ้น นำไปสู่การพัฒนาการผลิตหมูหลุมให้มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน และได้รับการยอมรับในวงกว้างในอนาคต การนำเทคโนโลยี Smart Farms มาพัฒนาคุณภาพ และปริมาณผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ ทำให้มีการผลิตผักอย่างมีคุณภาพ ผลผลิตเพิ่ม รายได้เพิ่มขึ้น มีการผลิตมะม่วงที่ได้คุณภาพ ราคาดี สามารถส่งออกต่างประเทศได้ และเกิดวิสาหกิจชุมชน ต.ป่าปอ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น และ ต.หนองแวง อ.พระยืน จ.ขอนแก่น และด้านการวิจัยและสร้างนวัตกรรมการผลิตและเพิ่มมูลค่าพืชผักโดยชุมชนมีส่วนร่วมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในพื้นที่ ต. โคกสูง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ต. หนองแซง อ.บ้านแฮด จ.ขอนแก่น ต.โพธิ์สัย อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด และ ต.สระแก้ว อ.เปือยน้อย จ.ขอนแก่น พบว่า เกษตรกรมีความรู้เพิ่มขึ้นในการพัฒนาศักยภาพการผลิตพืชผัก สามารถสร้างพื้นที่การเรียนรู้ในกับเกษตรกร พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพิ่มมุมมอง ปรับเปลี่ยนแนวคิด และสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเองต่อไปได้ การวิจัยและสร้างนวัตกรรม การเพิ่มมูลค่าทรัพยากรท้องถิ่น การฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเค็มโดยชุมชนมีส่วนร่วม ได้นำองค์ความรู้ วิจัยและนวัตกรรมลงไปส่งเสริมและขับเคลื่อนการผลิตข้าวและผักอินทรีย์ที่มีปริมาณธาตุอาหารสูงจากน้ำแร่จากป่าชุมชนในหมู่บ้าน และมีการกำหนดเส้นทางและแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน บ้านหัวบึง ต.ทรายมูล อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น มีการฟื้นฟู แก้ไข และการใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเค็มใน ต.หัวหนอง อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น โดยจัดการและติดตั้งระบบน้ำ ปั้มน้ำ ถังน้ำและโซลาร์เซล ขุดบ่อน้ำบาดาลเพื่อแก้ปัญหาเป็นจำนวน 6 จุด และนำเอาองค์ความรู้ไปบริหารจัดการดินและน้ำ และการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็ม เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในการทำการเกษตร ปัญหินเค็ม และปลูกพืชทนเค็มที่มีมูลค่าสูง และมีการขับเคลื่อนและผลักดันให้เกษตรกรทั้ง 2 ชุมชน มีการรวมกลุ่ม ส่งเสริมข้าวและพืชผัก พริกอินทรีย์จากดินเค็มและได้รับมาตราฐานเกษตรอินทรีย์และมาตราฐาน GAP เพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่าของสินค้าทางการเกษตรให้เป็นที่ต้องการของตลาดได้ การนำเทคโนโลยีไส้เดือนดินไปใช้ผลิตปุ๋ยและน้ำหมักมูลไส้เดือนจากมูลกระบือในชุมชนต.เมืองเพีย อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น สามารถให้ปุ๋ยที่มีปริมาณธาตุอาหารสูง นำไประยุกต์ใช้ในกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดภัยและผักอินทรีย์ได้ดี และมีการกำหนดเส้นทางและแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน นอกจากนี้คนในชุมชนทั้ง 3 ตำบล ยังเกิดการรวมกลุ่มปลูกพืชอินทรีย์ และขับเคลื่อนให้ได้รับรับรองมาตราฐานอินทรีย์และ GAP อีกด้วย ด้านการพัฒนาอาชีพบนฐานทรัพยากรในท้องถิ่นแก่ประชาชนผู้สูงอายุ ในพื้นที่ ต.กุดเค้า อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น โดยมีการสร้างอาชีพให้ผู้สูงอายุในชุมชน กลุ่มอาชีพชื่อ กลุ่มประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์บ้านบัว ที่มอบทั้งรายได้และความภาคภูมิใจในตนเอง อันเนื่องจากความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ดังนั้นการดำเนินโครงการการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนโดยชุมชนมีส่วนร่วม และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งนี้จึงเป็นการนำนวัตกรรมความรู้และเทคโนโลยีจากสถาบันการศึกษามาใช้ในการแก้ปัญหาสำคัญของชุมชน สร้างความมั่งคงทางด้านเศรษฐกิจให้กับชุมชน และสามารถพัฒนาทักษะในการเป็นนักวิจัยของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการผ่านการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมได้<br><br>The objectives of this research were 1) To collaborate with communities/ villagers/farmers and apply the knowledge of innovative and technology from University educational to solve important problems of the community by themselves; 2) to collaborate with communities/villagers/farmers apply innovative knowledge and technology from University to create economic stability for communities, and 3) to develop research skills for participating farmers through participatory action research. This project was conducted in 16 Tumbons in four Provinces in Northeast Thailand (Khon Kaen, Kalasin, Roi Et, and Surin province). The research methods were as follows: 1) Community survey and collecting agricultural database. 2) Setting common goals, analysis, area management, and research problems that are clearly understood in each community context, 3) application of technology and innovation from the university, 4) creating a learning area, 5) providing knowledge and organizing activities, 6) statistical data analysis, and 7) summarizing the results of the study with people in the community. Performance throughout the project which was completed within 1 year in 16 sub-districts, it was found that farmers households could be upgraded by applying water systems from solar energy to increase crop production options for sustainable development in the Khao Phra Non-subdistrict, Yang Talat District, Kalasin Province obtained by growing hydroponics vegetables and vegetables on a brick block plot. This is considered a new alternative cropping model that generates income for farmers. Regarding the development of fruit planting systems and participatory ecological fruit plant management to add value and create a unique identity in Ban Dong subdistrict, Ubonrat District, Khon Kaen Province, it was found that 12 farmers were interested in participating in the technology testing. The total area of 12 rai is the cultivation of Chok Anan mangoes strip cropping with bananas and the farmers participating in the project were satisfied at the high - the most level. Tha Kraserm Sub-district, Nam Phong District, Khon Kaen Province, found that 12 farmers participated in the project. The total area of fruit cultivation especially, guava and mango, is about 600 hectares. As a result of the operation, farmers who participated in the project have reduced production costs because farmers have decreased the content of chemical fertilizers and bio-fertilizer. Overall, the farmers were satisfied with the project at a high level. And the result of the project in Khok Sa Nga Subdistrict, Phon District, Khon Kaen Province, it was found that there were 9 farmers participating in the project with a total area of 13.3 rai, who mainly researched the quality development of Kaew Khamin mangoes and farmers had the highest level of satisfaction with the project at final processes. Increasing the efficiency of the production of bio swine farmers by using innovation and development of innovation to sustainable organic agriculture in Chaniang subdistrict, Mueang District, Surin Province, and Tambon Thammasat, Prasat District, Surin Province found that the adoption of good breeding pig species encourages farmers to raise pit pigs in semen and live pigs. As a result, farmers develop better production efficiency and local microorganisms of farmers are used to support the fattening pig system. In addition, swine manure obtained can be used in the organic farming system in the community. Transfer of knowledge related to technology and innovation and management to obtain certification for the bio swine standard. As a result, farmers have a better understanding of raising and managing bio swnie. This leads to the development of the production of bio swine to have efficient, sustainable, and widely accepted in the future. Apply Smart Farms technology to improve quality and the amount of agricultural produce in the area resulting in high-quality vegetable production, increased productivity, increased income Mangos are produced with good quality, good price, able to be exported abroad and a community enterprise was born in Pa Por Subdistrict, Ban Phai District, Khon Kaen Province, and Nong Wang Subdistrict, Phra Yuen District, Khon Kaen Province. And in research and innovation in production and value-adding of vegetables by community participation in the Northeastern region in the area of Khok Sung Subdistrict, Ubonrat District, Khon Kaen Province, Nong Saeng Subdistrict, Ban Had District, Khon Kaen Province, Phosai Subdistrict, Si Somdet District, Roi Et Province, and Sa Kaeo Subdistrict, Puey Noi District, Khon Kaen Province, it was found that farmers were increased knowledge in the development of vegetable production potential can create a learning area with farmers develop agro-tourism attractions, increase perspectives, change concepts and inspire further self-development.Research and innovation on the value added of local resources and rehabilitation and utilization of saline soil area with community participation, this project helps villagers to product found an organic rice and high nutrient vegetables produced from mineral water in the community forest. Routes and tourist attractions have been established in the community in Sai Mun Subdistrict, Nam Phong District, Khon Kaen Province. Soil and water management, restoration and utilization of saline soil in Hua Nong Subdistrict, Ban Phai District, Khon Kaen Province were conducted by providing irrigation, water pump and solarcell and digging 6 groundwater wells. Installation of water management system in the community was set up to solve the problem of water shortage in agriculture and growing high-value salt-tolerant crops. Using vermicompost technology to produce vermicompost and vermi-tea from buffalo dung was conducted in the community of Muang Pia Subdistrict, Ban Phai District, Khon Kaen Province which could provide organic fertilizer with high nutrient content. Farmers could save the money to buy chemical fertilizer and could grow safe vegetables and organic vegetables well. And there are routes and tourist attractions in the community. In addition, the people in the communities in all 3 sub-districts also formed groups for organic plant production and support to received the organic and GAP standard certified as well. Career development based on local resources for elderly people was studied in the area of Kut Khao Subdistrict, Mancha Khiri District, Khon Kaen Province, by creating a career for the elderly in the community professional group name Ban Bua Sandalwood Artificial Flower Group with 11 committees and 19 innovators who provide both income and self-esteem. due to the ability to be self-reliant.Therefore, the implementation of research and innovation projects for sustainable agricultural development with community participation and the strengthening of communities in the northeastern region was successful. The innovative knowledge and technology from University were used to solve important problems of the community, create economic stability for the community and develop research skill of participating farmers through participatory action research, impove economic and sustainable agriculture and environment for Society.
Date of Publication :
05/2024
Publisher :
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
82223 pages
People Who Read This Also Read