Description
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนากลไกสร้างสรรค์และขับเคลื่อนเชิงพื้นที่สำหรับการอนุรักษ์และพัฒนาย่านเมืองเก่าในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีสู่เมืองอัจฉริยะผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพในย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และ 3) เพื่อเสนอแนวทางและนวัตกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาย่านเมืองเก่าในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีสู่เมืองอัจฉริยะ ผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ที่มีขอบเขตด้านพื้นที่ ได้แก่ ชุมชนตลาดล่าง ชุมชนหน้าด่าน ชุมชนวัดไทร (ตลาดศาลเจ้า) ชุมชนตลาดท่าเรือ ชุมชนตาปี (ร่วมกับชุมชนตลาดเกษตร) ชุมชนราษฎร์อุทิศ และพื้นที่ต่อเนื่อง ภายใต้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการ ด้วยการบูรณาการแนวคิดระหว่าง การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และ การวางแผนเชิงปฏิบัติการโดยชุมชน มาเป็นกรอบการวิจัย โดยวิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 22 คน คือ กลุ่มผู้นำหรือประธานชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 6 คน และตัวแทนพื้นที่ต่อเนื่อง จำนวน 1 คน กลุ่มตัวแทนเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จำนวน 5 คน กลุ่มตัวแทนผู้ประกอบการภาคเอกชนหรือสมาคมในพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 5 คน และกลุ่มตัวแทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ จำนวน 5 คน ส่วนวิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบโควตาสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ คือ กลุ่มประชาชนในชุมชนพื้นที่เป้าหมาย จำนวนทั้งสิ้น 350 คน คือ ประชาชนจาก 6 ชุมชน เลือกมาชุมชนละ 50 คน และพื้นที่ต่อเนื่อง จำนวน 50 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ แผนที่ชุมชน เส้นแบ่งเวลา ปฏิทินชุมชน แบบสัมภาษณ์ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถาม โดยขอรับคำแนะนำปรึกษาจากคณะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน เพื่อให้ได้ความเที่ยงตรงในเชิงเนื้อหาและความเชื่อถือได้ และนำทดลองใช้ ปรับปรุงแก้ไขก่อนนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ก่อนนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่าเกิดการพัฒนากลไกสร้างสรรค์และขับเคลื่อนเชิงพื้นที่ผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ภายใต้กระบวนการและขั้นตอนการวิจัยทั้ง 7 กิจกรรม และสร้างให้เกิดนักวิจัยชุมชนจากภาคประชาชน จำนวน 7 คน ได้แก่ ประธานชุมชนทั้ง 6 ชุมชน และประธานตลาดสะพานโค้ง 100 ปี จำนวน 1 คน พร้อมทั้งคณะผู้ช่วยวิจัยชุมชนจากภาครัฐ จำนวน 10 คน ภาคเอกชน จำนวน 5 คน ภาคสังคม จำนวน 5 คน และภาควิชาการ จำนวน 3 คน ยังเกิดการวิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพในย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ภายใต้กิจกรรมการศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล ทำให้ได้ฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการวิจัยทั้งในด้านกายภาพ-สิ่งแวดล้อม ด้านสังคม-วัฒนธรรม ด้านนโยบาย-เศรษฐกิจ พร้อมทั้งข้อมูลทั่วไปของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จำนวน 1 ระบบ อีกทั้ง เกิดการเสนอแนวทางและนวัตกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาย่านเมืองเก่าในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีสู่เมืองอัจฉริยะ ผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ภายใต้กิจกรรมการออกแบบและจัดทำผังและแผนแม่บท (ฉบับร่าง) กิจกรรมการคืนข้อมูลและรับฟังความคิดเห็น กิจกรรมการจัดทำผังและแผนแม่บท (ฉบับสมบูรณ์) และสื่อประชาสัมพันธ์และแอพพลิเคชั่นของโครงการ กิจกรรมการนำเสนอและผลักดันผังและแผนแม่บทสู่นโยบาย และกิจกรรมสรุปผลและถอดบทเรียน ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้รับเพิ่มศักยภาพ ทักษะ และองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์และพัฒนาย่านเมืองเก่าในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีสู่เมืองอัจฉริยะ จำนวน 1 องค์ความรู้ ด้วยนวัตกรรมในระดับพื้นที่จากการจัดทำผังและแผนแม่บท จำนวน 1 เรื่อง รวมทั้งสื่อประชาสัมพันธ์ จำนวน 6 เรื่องด้วยเหตุนี้ จึงมีการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบ เชิงนโยบาย ที่เกิดเป็นวิสัยทัศน์ คือ สุราษฎร์ธานี เมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ และนโยบาย คือ เทศบาล 9 นครอัจฉริยะต้นแบบ ในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า ได้แก่ นครเลิศรส นครสะอาด นครสะดวก นครน่าเที่ยว นครสุขภาพ นครมีสุข นครปลอดภัย นครของโอกาส นครประเพณีดีงาม ด้วยประเด็นยุทธศาสตร์ 3 ด้าน เป้าประสงค์ จำนวน 3 เป้าหมาย กลยุทธ์ จำนวน 16 กลยุทธ์ โครงการ/กิจกรรม จำนวน 60 เรื่อง และตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ ตามจำนวนโครงการ/กิจกรรม และกำหนดแผนแม่บทตามรูปแบบ แผนปฏิบัติการ สั้น-กลาง-ยาว คือ ระยะสั้น มีแผนดำเนินงานภายในเวลา 1 ปี ระยะปานกลาง มีแผนดำเนินงานตั้งแต่ 1 ปี ถึง 5 ปี และ ระยะยาว มีแผนดำเนินงานมากกว่า 5 ปีขึ้นไป ส่วนการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบ เชิงสาธารณะ พบว่าคณะทำงานเตรียมยืนขอเป็น คณะกรรมการพัฒนาย่านเมืองเก่าเทศบาลนคร สุราษฎร์ธานีสู่เมืองอัจฉริยะ เพื่อขับเคลื่อนตามกระบวนการขอรับการพิจารณาเป็นเมืองอัจฉริยะต่อไป ส่วนการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบ เชิงวิชาการ พบว่าเกิดความร่วมมือในภาควิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี สำนักงานกฎบัตรแห่งชาติ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำผังและแผนแม่บท และสื่อประชาสัมพันธ์และแอพพลิเคชั่นของโครงการ โดยท้ายที่สุดของการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบ เชิงพาณิชย์ นั้น พบว่ามีภาคเอกชนและภาครัฐได้นำสื่อประชาสัมพันธ์ของโครงการ ไปใช้เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้เกี่ยวด้านการท่องเที่ยวในย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี รวมทั้งการเตรียมจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตลาดล่าง (บ้านล่าง) เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน โดยมีแนวทางการสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากงานศิลปะ ผ่านช่องทางการขายด้วยระบบหน้าร้านและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับสร้างรายได้เสริมให้กับประชาชนในชุมชน ต่อไป<br><br>The objectives of this research were as follows: 1) to develop creative and spatial driving mechanisms for preserving and developing the old town in Surat Thani Municipality to the smart city through the participation of all sectors involved; 2) to analyze problems and potentials of the old town in Surat Thani Municipality through the participation of all sectors involved; and 3) to propose guidelines and innovations for preserving and developing the old town in Surat Thani Municipality to the smart city through the participation of all sectors involved. The study area of this research consisted of Talad Lang, Nadan, Wat Sai, Bann Don Market or Pier Market, Tapee, Rat Uthit, and continuous area. The implementation of this research was a collaboration of all relevant sectors, comprising the people sector, the government sector, the private sector, the social sector, and the academic sector, under the concept of integrating between Participatory Action Research and Community Action Planning as the framework of research. This research was to use a specific random sampling method for qualitative research. A total of 22 people consisted of a group of leaders or community leaders in the target area, 6 people, and 1 continuous area representative, 5 people representing Surat Thani Municipality, 5 people representing private sector entrepreneurs or associations in the target area, and 5 representatives of government agencies involved in the targeted area. The quota sampling method for quantitative research was a group of 350 people in the target communities, consisting of people from 6 communities, 50 people from each community, and 50 people in continuous area. The research tools used to collect qualitative data include community maps, timelines, community calendars, and interview form. The research tool used for collecting quantitative data was a questionnaire by requesting advice from 3 experts for checking content validity and reliability, and using the questionnaire for trial and improvement before being used for data collection. The qualitative data were analyzed by content analysis and quantitative data analysis by descriptive statistics using percentage, mean and standard deviation. The results showed that the creative and spatial driving mechanisms for preserving and developing old towns in Surat Thani Municipality were developed into smart cities through participation from all relevant sectors. The process of this study consisted of 7 activities and created 7 community researchers from the peoples sector, namely the leaders of the 6 communities and the chairman of the 100-year Saphan Khong Market, together with community research assistants from the government sector of 10 people, private sector 5 people, social sector 5 people, and academic sector 3 people. As for the activities of studying, analyzing and synthesizing data, the databases related to research projects consist of physical-environmental, social-cultural, and policy-economic aspects with general information of all sectors involved in 1 system. In addition, there were proposed guidelines and innovations for preserving and developing old towns in Surat Thani Municipality to the smart city through participation from all sectors involved in planning activities and master plans, public relations media, and applications of the project. As a result, project participants from all sectors involved have been able to increase their potential, skills, and knowledge on conservation and development of the old town in Surat Thani municipality to the smart city with knowledge of innovation at the local level by creates a master plan of 1 subject, including 6 public relations media.For this reason, the research results have been put to good use in the form of "policy" that has emerged as a vision, "Surat Thani livable smart city and the policy is 9 municipal smart cities to create a better quality of life, namely Tasty City, Clean City, Convenient City, Tourist City, Healthy City, Happy City, Safe City, City of Opportunity, City of Good Tradition with 3 strategic issues, 3 objectives, 16 strategies, 60 projects/activities, and indicators of the strategy according to the number of projects/activities. A master plan is defined in the form of an action plan known as short-medium-long consists of short-term with a plan to operate within 1 year; medium-term with a plan of operation from 1 year to 5 years; and long-term with a plan of operation for more than 5 years. As for the use of research results in the form of "Public way" found that the working group was prepared to ask to be "The Board of Development of Surat Thani Municipalitys Old Town towards the Smart City" to drive the process of applying for consideration as the smart city further. As for the use of research results in the form of Academic found that there was cooperation in the academic department between Surat Thani Rajabhat University, Surat Thani Vocational College, National Charter Office, and King Mongkuts Institute of Technology Ladkrabang related to the preparation of charts and master plans and public relations media and applications of the project. Finally, the research results were used in the form of Commercial, it was found that the private and government sectors used the public relations media of the project. This will be used to promote and create awareness about tourism in the old city of Surat Thani Municipality, and develop community products from art through sales channels with storefront systems and information technology systems for additional income with the people in the community.
Date of Publication :
05/2024
Publisher :
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
82223 pages
People Who Read This Also Read