Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การพัฒนาออกแบบที่พักอาศัยเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญา...

TNRR

Description
การวิจัยและพัฒนาวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบบ้านพักอาศัยภายนอกและภายในของผู้สูงอายุ ออกแบบที่พักอาศัยเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุ และทดสอบผลของโปรแกรมเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาของบ้านพักอาศัยในผู้สูงอายุ ระยะดำเนินงานมี 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษารูปแบบบ้านพักอาศัยของผู้สูงอายุ ระยะที่ 2 พัฒนาออกแบบที่พักอาศัยเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุ และ ระยะที่ 3ทดสอบผลของโปรแกรมเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุในพักอาศัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุวัยต้นอายุ 60-74 ปี จำนวน 35 คน อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ดูแลผู้สูงอายุหลัก และผู้นำชุมชน จำนวน 22 คน ที่พักอาศัยอยู่ภายในเคหะชุมชนรังสิต คลองหก จังหวัดปทุมธานี เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบทดสอบสติปัญญาตามอายุ ร่วมกับการใช้กระบวนการกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ Paired t - test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.5 ข้อมูลเชิงคุณภาพเชิงวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)ผลการศึกษา: รูปแบบบ้านเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุ 2 รูปแบบ คือแบบบ้านชั้นเดียว และแบบบ้าน 2 ชั้น โดยรูปแบบเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาดังนี้ หน้าบ้านจัดอุปกรณ์บริหารร่างกายกับตาราง 9 ช่อง ไว้สำหรับเล่นระหว่างวันหรือตอนเย็น ห้องรับแขกมีพื้นที่ติดตั้งอุปกรณ์การทดสอบสติปัญญาตามอายุ และ ในห้องนอนมีหัวเตียงควรมีโต๊ะข้างหัวเตียงจัดอุปกรณ์การกรอกตาตามแนวนอน ผลความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อรูปแบบบ้านเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ? = 4.56, SD = 0.45) 2) และภายหลังการใช้โปรแกรมเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมีคะแนนทดสอบสติปัญญาตามอายุสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)สรุป: การออกแบบที่พักอาศัยเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ อสม. และผู้นำชุมชนจะได้แบบบ้านที่เหมาะสมและเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้งานจริง ซึ่งส่งผลดีต่อผู้สูงอายุ และเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่นต่อไป<br><br>The research and development objectives of the research were: To study inside and outside the house design model for elderly, to development house design to enhance intellectual well - being in the elderly and to examine the effect of enhance intellectual well-being at home of the elderly program. There are three phases : study of housing models for the elderly, develop and design accommodation to enhance cognitive health in the elderly, and examine the effect of House design development to enhance intellectual well - being in the elderly. The sample consisted of 35 young people aged 60 - 74 years and 22 stakeholders (public health volunteers, caregivers, and community leader) who living in Rangsit Klong 6 community housing, Pathum Thani Province. The instruments were in depth interviews form, focus group guiding questions, and intelligence test according to age in conjunction, in addition a group process was used for collecting data. Quantitative data was analyzed by using percentage, mean and standard deviation statistics. Paired T-test was analyzing the effectiveness comparing pre - intervention and defined at 0.5 level of significance. Qualitative data were analyzed by content analysis method.RESULTS: There are 2 types of House design development to enhance intellectual well-being in the elderly, namely single houses, and houses double, with the following forms for enhancing cognitive health: In front of the house, the exercise equipment is organized with nine tables for playing during the day or evening. The living room is equipped with age-based intelligence testing equipment, and in the bedroom with headboard, there should be a bedside table, horizontal eye - filling device. The elderlys satisfaction towards the home model for enhancing intellectual health Overall, it showed the highest level (x ? = 4.56, SD = 0.45). After the program implementation, the elderly had a significantly higher age - based intelligence test score before participating in the program (p < 0.001).CONCLUSIONS: House design development to enhance intellectual well-being in the elderly, the participation of the elderly. The Careers for the elderly, volunteers and community leaders will have a suitable house design and according to the needs of real users which has a beneficial effect on the elderly and continue to be a model for other communities.

Date of Publication :

05/2024

Publisher :

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

82223 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ