Notifications

You are here

อีบุ๊ค

โครงการผูกปิ่นโตข้าว: การพัฒนารูปแบบการจำหน่ายข้าว...

TNRR

Description
โครงการผูกปิ่นโตข้าว: การพัฒนารูปแบบการจำหน่ายข้าวเพื่อสุขภาพของเกษตรกรรายย่อย มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร ไปสู่การได้รับการรับรองมาตรฐาน และการหาช่องทางการตลาดใหม่สำหรับการจำหน่ายข้าวอินทรีย์ พื้นที่ดำเนินโครงการวิจัย ได้แก่ หมู่บ้านหนองแวงกลาง ตำบลโคกสง่า อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวน 33 คน ดำเนินโครงการโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สะท้อนความคิดร่วมกัน 2) วางแผนร่วมกัน 3) ปฏิบัติร่วมกัน 4) ประเมินผล และ 5) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ ได้แก่ 1) เกิดกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ หอมนุ่มตุ้มโฮม ที่รวมตัวกันขึ้นเพื่อต้องการพัฒนาศักยภาพการผลิตข้าวอินทรีย์และขายร่วมกันในช่องทางการตลาดใหม่ ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 25 คน 2) กลุ่มเกษตรกรมีรายได้จากการขายข้าวจากช่องทางการตลาดใหม่ เท่ากับ 19,715 บาท โดยรายได้เฉลี่ยที่เกษตรกรได้รับ เท่ากับ 844.24 บาท 3) การปรับเปลี่ยนแนวคิดของเกษตรกร โดยเกษตรกรเห็นมูลค่าของข้าวอินทรีย์มากขึ้น และ ต้องการที่จะอยู่ในระบบการปลูกข้าวอินทรีย์ต่อไป แต่ในส่วนของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต ยังไม่สามารถประเมินได้ เนื่องจากต้องรอรอบการผลิตใหม่ อย่างไรก็ตาม เกษตรกรได้มีการวางแผน กำหนดสัดส่วนการผลิตข้าวในพื้นที่ครัวเรือนของตนเองสำหรับการผลิตข้าวอินทรีย์<br><br>The main objective of this project is to develop the potential of organic rice production of farmers. to the standard certification and finding new marketing channels for selling organic rice. The research project area is Nong Wang Klang Village, Khok Sa-nga Sub-district, Phon District, Khon Kaen Province. A total of 33 farmers participated in the project. The project was carried out using a five-step participatory action research process, namely 1) reflecting on a common idea, 2) co-planning, 3) joint action, 4) evaluation, and 5) exchange. Learning. The results of the changes arising from the implementation of the project are as follows: 1) the emergence of a group of farmers who grow organic rice; "Hom Num Tum Home" that came together to develop the potential of organic rice production and sell together in new marketing channels. There are 25 members in total. 2) Farmers groups have income from selling rice from new marketing channels, equal to 19,715 baht, with the average income received by farmers equal to 844.24 baht. 3) Change the attitude of farmers which the farmers realize the value of organic rice more and wanted to continue in the organic rice growing system. However, in the part of changing the production behavior can not yet be assessed due to having to wait for a new production cycle, however, farmers have determined the proportion of rice production in their own household area for organic rice production.

Date of Publication :

05/2024

Publisher :

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

82223 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ