Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน การผลิตและใช้ประโยชน์จากข้าว...

TNRR

Description
ข้าวไร่พื้นเมืองพันธุ์เมล็ดฝ้ายเป็นข้าวพื้นเมืองที่โครงการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์จากเชื้อพันธุกรรมข้าวพื้นเมือง รวบรวมจากจังหวัดพัทลุง และจากการทดสอบศักยภาพการให้ผลผลิตพบว่า มีความสามารถปรับตัวได้ดีกับสภาพการปลูกบนที่ดอนของ จังหวัดขอนแก่น โดยข้าวพันธุ์เมล็ดฝ้ายเป็นข้าวเจ้าเมล็ดสีดำ มีสารแอนโธไซยานิน เป็นองค์ประกอบในเมล็ดสูง ซึ่งสารนี้มีประโยชน์ในแง่สรรพคุณทางยามากมาย จึงได้ส่งเสริมการเพาะปลูกข้าวพันธุ์เมล็ดฝ้ายในพื้นที่ชุมชนนวัตกรรม 2 ชุมชน คือ 1.ชุมชนหนองแซง ต.หนองแซง อ.บ้านแฮด จ.ขอนแก่น และ 2.ชุมชนหนองห้าง ต.หนองห้าง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ โดยได้ติดต่อ ผู้นำกลุ่ม หรือ นวัตกรชุมชน เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ ซึ่งมีจำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งหมด 52 ราย จากชุมชนหนองแซง 25 ราย และชุมชนหนองห้าง 27 ราย จากนั้นได้จัดการประชุมเกษตรกร เพื่อชี้แจงความสำคัญของโครงการ วางแผนการปลูก และร่วมอภิปรายความเป็นไปได้ของการนำข้าวไร่พันธุ์เมล็ดฝ้ายไปปลูกในระบบการปลูกข้าวของแต่ละท้องที่ จากนั้นได้ให้เกษตรกรปลูกข้าวเมล็ดฝ้าย โดยได้ให้เกษตรกรเลือก วิธีการปลูก และช่วงเวลาปลูก ตามความเหมาะสมของพื้นที่และเกษตรกรแต่ละราย หลังจากปลูกข้าว ได้ลงพื้นที่ติดตามการเพาะปลูก ประเมิน และให้คำแนะนำแก่เกษตรกรอย่างใกล้ชิด พบว่า การปลูกและการเจริญเติบโตในชุมชนหนองแซง ต้นข้าวเจริญเติบโตได้ดี เหมาะสมกับดินในสภาพไร่ และระบบการปลูกด้วยวิธีการหยอดเมล็ด ในส่วนของชุมชนหนองห้าง เนื่องจากสภาพพื้นที่ส่วนมาก เป็นพื้นที่นาลุ่ม เกษตรกรเลือกใช้วิธีการปักดำในการปลูก แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าข้าวพันธุ์เมล็ดฝ้ายเป็นข้าวไร่ แต่จากการติดการเพาะปลูกพบว่า สามารถเจริญเติบโตได้ดี และปรับตัวได้ในสภาพนา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มพื้นที่การปลูกข้าวพันธุ์เมล็ดฝ้ายได้ แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากฝนทิ้งช่วงทำให้เกิดสภาวะแล้งในระยะแรกของการเจริญเติบโต และระยะดอกบาน จึงทำให้ได้ผลผลิตจากชุมชนหนองแซง เพียง 1 ตัน และ ชุมชนหนองห้าง 1.9 ตัน และสามารถคัดเลือกเกษตรกรที่มีความสามารถในการผลิตเมล็ดพันธุ์ ได้จำนวน 7 ราย โดยผลผลิตทั้งหมดได้รับซื้อจากเกษตรกรเพื่อใช้สำหรับเป็นวัตถุดิบให้กลุ่มงานวิจัยอื่นๆตามวัตถุประสงค์ และดำเนินการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อทำให้ห่วงโซ่อุปทานของข้าวพันธุ์เมล็ดฝ้ายสมบูรณ์<br><br>Maled Phai the indigenous upland rice was collected from Phattalung province and conserved by the Conservation and utilization from indigenous rice Project, Khon Kaen University. After evaluation for yield performance and adaptation, Maled Phai could adapt to upland area of the Northeast. In addition, anthocyanin in seed of Maled Phai is high quantity as well as quality in terms of pharmaceutical, medical, cosmetic product. Thus, Maled Phai was introduced to 2 farmer groups i.e., Nond Seang district, Ban Haed, Khon Kaen and Nong Hang district, Kuchi Narai district, Kalasin province. Twenty-five farmers from Nong Seang and 27 farmers from Nong Hang were recruited to join this project. This project was aimed to introduce a new variety, Maled Phai to produce seed and grain to supply another sub research programs for product development.To start with farmer at upstream, research and development was performed. Planting method and the two planting dates were discussed and chosen by farmers. After harvesting, it was found that planting at around mid of July by direct seed is suitable for production. However, productivity of 1 ton and 1.9 ton at Nong Saeng and Nong Hang are quite low due to drought constraint. Besides, qualified farmer for seed producer is also identified.

Date of Publication :

05/2024

Publisher :

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

82223 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ