Notifications

You are here

อีบุ๊ค

แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และห่วงโซ่คุณค่าของขนมลา ใน...

TNRR

Description
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อขนมลากรอบ ขนมลาแผ่น และขนมลาสอดไส้ในจังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าใหม่ของผลิตภัณฑ์ขนมลาในจังหวัดนครศรีธรรมราช และ 3) เพื่อวัดการกระจายรายได้ของผลิตภัณฑ์ขนมลาที่เข้าร่วมโครงการ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเน้นคุณภาพข้อมูลที่ได้จากกลุ่มผู้บริโภคจะใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และข้อมูลที่ได้รับจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเป็นการสัมภาษณ์ เนื่องจากข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์กระบวนผังการไหลที่แสดงภาพรวมทั้งหมดของห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์ขนมลาในจังหวัดนครศรีธรรมราช และการวัดการกระจายรายได้ ได้แก่ รายได้ ต้นทุนวัตถุดิบ ค่าแรง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์การวัดการกระจายรายได้ของผลิตภัณฑ์ขนมลาที่เข้าร่วมโครงการ ให้เห็นถึงสาเหตุของปัญหา รวมถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยเชิงพื้นที่ได้เข้าไปช่วยยกระดับรายได้ให้ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ผลการวิจัยโครงการแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และห่วงโซ่คุณค่าของขนมลาในจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่าผู้บริโภคขนมลาสามารถแบ่งพฤติกรรมตามกลุ่มช่วงอายุ Generation ดังนี้ กลุ่ม Baby Boomer และกลุ่ม Gen X ชื่นชอบขนมลากรอบสอดไส้กล้วยกวนมากที่สุด กลุ่ม Gen Y และกลุ่ม Gen Z ชื่นชอบขนมลากรอบสอดไส้ชอกโกแลตมากที่สุด นอกจากนี้ได้จัดทำกิจกรรมการสนทนากลุ่ม (Focus group) โดยผู้ให้ข้อมูลเป็นเพศหญิงทั้งหมด อยู่ในช่วง Gen Y ผลการสนทนากลุ่มสอดคล้องกับพฤติกรรมตามช่วงวัยของผู้ให้ข้อมูล เมื่อนึกถึงขนมลาจะนึกถึงขนมทานเล่น ขนมลาต้องอร่อย มีความสดใหม่ หลากหลายรสชาติ กลิ่นหอม ไม่มีกลิ่นหืน ผลการวิเคราะห์ลักษณะห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่ารูปแบบห่วงโซ่อุปทานของวิสาหกิจชุมชน มีลักษณะการจัดการที่ผู้อยู่ในห่วงโซ่ต่างดำเนินกิจกรรมของตนเอง รายได้ที่เกิดขึ้นจึงเกิดจากกิจกรรมในแต่ละขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทาน จะเห็นได้ว่าภาคีที่ก่อให้เกิดรายได้ขึ้นจริง คือภาคีของนักแปรรูป กิจกรรมการแปรรูปถือเป็นกิจกรรมหลักของนักแปรรูปที่ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบขนมลาแผ่น และมูลค่าเพิ่มสูงสุดจะเป็นผู้ขายส่งและผู้ขายปลีก ทั้งนี้เมื่อโครงการวิจัยต่าง ๆ เข้าไปพัฒนาจึงทำให้เกิดห่วงโซ่คุณค่าใหม่ขึ้น ได้แก่ ขนมลาเกลียวใจและกลมเกลียวแบบกล่อง มูลค่าเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 73.13 ขนมลากรอบสอดไส้กล้วยกวน ไส้น้ำพริกไก่ หยองและไส้กล้วยตาก มีสัดส่วนมูลค่าเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 76.44 สำหรับขนมลาไส้กล้วยกวนและไส้กล้วยตาก และมีสัดส่วนมูลค่าเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 75.38 สำหรับขนมลาไส้น้ำพริกไก่หยอง ขนมลาม้วนกรอบ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 2.22 ขนมลาดอกหิมพานต์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 1.97 ขนมลากรอบแบบพับมีมูลค่าเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 133.62 ขนมลาแดงกรอบแบบ 12 ชิ้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 118.40 เนื่องจากส่วนใหญ่ชุมชนเป็นผู้ขายสินค้าเอง เมื่อแยกสัดส่วนรายได้แต่ละภาคี พบว่าสัดส่วนรายได้ของผลิตภัณฑ์ขนมลา ส่วนใหญ่ ผู้แปรรูป ผู้ขายส่งและขายปลีกมีสัดส่วนรายได้สูงสุด ส่วนผลการวิเคราะห์การวัดการกระจายรายได้ของชุมชนพบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตร บ้านศรีสมบูรณ์ หอยราก ตำบลหูล่อง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีรายได้รวม 260,050 บาท มีการกระจายรายได้ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชจำนวน 259,101.12บาท และมีการกระจายรายได้ออกนอกพื้นที่อื่นจำนวน 948.88 บาท กลุ่มสตรีขนมแปรรูป ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีรายได้รวม 321,387.39 บาท มีการกระจายรายได้ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชจำนวน 271,852.99 บาท และมีการกระจายรายได้ออกนอกพื้นอื่นที่จำนวน 49,534.40 บาท กลุ่มวิสาหกิจขนมลา ตำบลท่าซอม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช มีรายได้รวม 85,510.00 บาท มีการกระจายรายได้ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชจำนวน 79,455.50บาท และมีการกระจายรายได้ออกนอกพื้นที่อื่นจำนวน 6,049.30 บาท กลุ่มขนมลาป้าเทศ ตำบลแม่เจ้าอยู่หัว อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีรายได้รวม 98,000 บาท มีการกระจายรายได้ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชจำนวน 97,507.20บาท และมีการกระจายรายได้ออกนอกพื้นที่อื่นจำนวน 492.80 บาท กลุ่มน้องกี้ขนมลา ตำบลหอยราก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีรายได้รวม 3,085,600 บาท มีการกระจายรายได้ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชจำนวน 3,080,196.00 บาท และมีการกระจายรายได้ออกนอกพื้นที่อื่นจำนวน 5,404.00 บาท และกลุ่มขนมลาป้าปรีดา ตำบลบ้านเพิง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีรายได้รวม 175,200.00 บาท มีการกระจายรายได้ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชจำนวน 174,877.80บาท และมีการกระจายรายได้ออกนอกพื้นอื่นที่จำนวน 322.20 บาท<br><br>The objectives of this research were 1) study the consumer behavior towards Khanom La Phaen, Khanom La Phaen, and Kanom La Sod in Nakhon Si Thammarat, 2) analyze the new value chain of Khanom La Product in Nakhon Si Thammarat, and 3) measure the distribution. Revenue from participating donkey products. This research is a research focusing on the quality of the data obtained from the consumer group using the content analysis method. and the information received from the community enterprise group was an interview. Due to the data used in the analysis of the flow chart process that shows the whole value chain of Khanom La products in Nakhon Si Thammarat Province and income distribution measurements, such as revenue, raw material costs, labor costs, and various expenses to analyze the distribution of income of the participating snack products. to see the cause of the problem Including the results arising from spatial research has helped to raise the income to improve concretely.Research results of the test and answer project of Khanom Lan Nakhon Si Thammarat. It was found that consumers of Khanom La can be divided into behaviors according to age groups. Baby Boomer and Gen X like Kanom La Banana flavor. Gen Y and Gen Z Loves toasted buns stuffed with chocolate. In addition, a focus group activity was organized where all the respondents were female, in the Gen Y period. The group discussion results were consistent with the behaviors of the respondents ages. When you think of donkey snacks, you think of snacks. Donkeys must be delicious, fresh, variety of flavors, fragrant, not rancid. Analysis of the value chain characteristics of community enterprise products Nakhon Si Thammarat Province. Community Enterprise Supply Chain Model There is a management style in which the people in the chain carry out their own activities. The revenue generated thus comes from activities at each stage of the supply chain. It can be seen that the parties that actually generate income is group member. However, when various research projects are developed, new value chains are created. Khanom La kyo jai and Khanom La klom kyo increased in value by 73.13%. Khanom La, stuffed with scrambled banana Flossy Chicken Chili Paste and Dried Banana The proportion of added value is 76.44%, 75.38% respectively. Khanom La, crispy rolls, increased in value by 2.22 %. Khanom La Dok Hin Maha Phan increased in value by 1.97%. Khanom La Pub with an increase in value by 133.62%. Khanom La 12 pieces of crispy La Daeng increased in value by 118.40%. As for the results of the analysis of the measure of community income distribution, it was found that mea ban kasaet have a total income of 260,050 baht There are income distribution in the area of Nakhon Si Thammarat province 259,101.12 baht and distributed outside other areas in the amount of 948.88 baht. Group kanom processed The total income was 321,387.39 baht, the income was distributed in the Nakhon Si Thammarat area of 271,852.99 baht and distributed outside other areas at the amount of 49,534.40 baht. Khanomla Enterprise Group Has a total income of 85,510.00 baht, with income distribution in the Nakhon Si Thammarat area of 79,455.50 baht and spread outside other areas of 6,049.30 baht. Group Pated The total income was 98,000 baht, the income was distributed in the Nakhon Si Thammarat area of 97,507.20 baht and distributed outside other areas of the amount of 492.80 baht. Nong Kis group have a total income of 3,085,600 baht, interact with the Nakhon Thammarat province area of 3,080,196.00 baht and spread outside other areas of 5,404.00 baht. Preeda Group have a total income of 175,200.00 baht, with income distribution in the area of Nakhon Si Thammarat 174,877.80 baht and spread outside other areas at the amount of 322.20 baht.

Date of Publication :

05/2024

Publisher :

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

82223 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ