Notifications

You are here

บทความ

การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักพหุปัญญา

08 พฤศจิกายน 2022 661 อ่านข่าวนี้ 2 ปีก่อน 10

Gardner (อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์, 2555; อ้างอิงจาก Gardner, 1983; 1993) ได้แบ่งความสามารถของ

มนุษย์ออกเป็นทั้งหมด 9 ด้าน ดังปรากฏในทฤษฎีพหุปัญญา (The Theory of Multiple Intelligences) ดังนี้

1. ด้านความคิดแบบเหตุผลและคณิตศาสตร์ (Mathematical - Logical Intelligence) คนที่มี

ความสามารถด้านนี้จะมีความสามารถโดดเด่นในเรื่องความคิดเชิงนามธรรม ความสามารถด้านตัวเลขความสามารถด้านเหตุผล การสร้างความคิดในเรื่องขั้นตอน การสรุปความคิด ปรับเปลี่ยนระบบวิธีใหม่ๆ หาทาง

ควบคุมระเบียบต่างๆ ชอบกิจกรรมลับสมองประลองปัญญา เกมกลต่างๆ เกมที่ใช้ความคิด ตัวอย่างของคนกลุ่มนี้

ได้แก่ นักคณิตศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์

2. ด้านดนตรี (Musical Intelligence) เป็นคนมีความไวต่อการรับรู้เสียง โทน จังหวะ จดจาด้วย

เสียงเพลง มีความสามารถเรื่องจังหวะ ระดับเสียง อารมณ์ของดนตรี มีสุนทรีย์ทางดนตรีในรูปแบบต่างๆ ตัวอย่าง

ของคนกลุ่มนี้ ได้แก่ นักดนตรี นักร้อง นักแต่งเพลง ผู้ควบคุมวงดนตรี

3. ด้านภาษา (Linguistic Intelligence) คนกลุ่มนี้มีความสามารถในการเข้าใจความหมายของคา

เรื่องราวได้ดี เข้าใจหลักเกณฑ์ของภาษา มีการสื่อสารด้วยการเขียน หรือการพูดอย่างตรงประเด็นและมี

ประสิทธิภาพ วิธีการสร้างสรรค์ทางภาษาเป็นนักคิดโดยใช้ภาษา ชอบอ่าน ชอบเขียน อาจสังเกตได้จากการพูด

หรือการเขียนเป็นแววนักประพันธ์ นักเขียน นักพูด นักแปลนักภาษาศาสตร์ เป็นต้น

4. ด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial Intelligence) เป็นคนที่จิตนาการเป็นรูปภาพ เข้าใจความสัมพันธ์

ระหว่างภาพและความหมาย เข้าใจเรื่องมิติ ชอบใช้เวลาวาดภาพออกแบบสิ่งต่างๆ ตัวอย่างของผู้มีความสามารถ

ด้านนี้ เช่น วิศวกร สถาปนิก จิตรกร นักภูมิศาสตร์ ศิลปินแขนงต่างๆ

5. ด้านกีฬาและการใช้กล้ามเนื้อต่างๆ (Bodily Kinesthetic Intelligence) เป็นคนที่มีทักษะสูงใน

การควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อต่างๆ มีการประสานสัมพันธ์ระหว่างตาและร่างกายได้ดี มีความว่องไว

และมีสมดุลร่างกายที่ดี ผู้ที่มีความสามารถด้านนี้ เช่น นักตัดเสื้อผ้า ทอผ้า นักกีฬาทุกประเภท นักเต้น

6. ด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence) คนกลุ่มนี้มีความสามารถเรื่องการเข้าใจ

ผู้อื่น มีความไวในการรับรู้ถึงความรู้สึกอารมณ์ของผู้อื่นได้ดี ทางานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี มีความมุ่งมั่นในการ

ทางานเพื่อผู้อื่น มีลักษณะเป็นผู้นา ตัดสินใจแก้ปัญหา ลดข้อขัดแย้ง ควบคุมผู้อื่นได้ดีสามารถเข้าใจผู้อื่นและแสดง

การตอบสนองต่อผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม เช่น นักการเมือง ครู ครูแนะแนวจิตแพทย์ ผู้ให้คาปรึกษาต่างๆ ผู้นา

ชุมชน

7. ด้านความเข้าใจในตน (Intrapersonal Intelligence) เป็นคนที่มีความลุ่มลึกในเรื่องจิตของตน

มีความตระหนักรู้เกี่ยวกับตนเอง สามารถควบคุมความรู้สึกของตนด้วยความเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้ ชอบคิดฝัน

สร้างความคิดจินตนาการทั้งด้านอารมณ์ความรู้สึก จุดเด่นจุดด้อยของตน คนกลุ่มนี้ ได้แก่ นักแสดง นักบาบัด

ผู้ดูแลคนอื่น นักเขียน

8. ด้านธรรมชาติศึกษา (Naturalist Intelligence) เป็นคนที่มีความสามารถทางด้านการรู้จักและ

เข้าใจธรรมชาติชีวิตของทั้งสัตว์และพืช และปรากฏการณ์ต่างๆ เข้าใจและตระหนักถึงความเชื่อมโยงของธรรมชาติ

ของสิ่งต่างๆ เห็นวงจรชีวิตสัตว์หรือระบบการจัดหมวดหมู่ของสัตว์ได้อย่างน่าพิศวง เช่น นักชีววิทยา นักธรรมชาติ

ศึกษา นักดาราศาสตร์ นักสัตววิทยา

9. ด้านการใฝแก่นสารแห่งชีวิต (Existential Intelligence) เป็นกลุ่มคนที่มีความโดดเด่นในเรื่อง

ความคิด ชอบครุ่นคิดและตั้งคาถามเกี่ยวกับชีวิต การเกิด การตาย อะไรคือความรู้ความจริง เช่น นักบวช นัก

ปรัชญา นักคิด

 

แนวคิดของการ์ดเนอร์ มีความสอดคล้องกับคาลวิน เทย์เลอร์ (Calvin Taylor) ผู้นาเสนอ Multiple - Talent Model ซึ่งมีแนวคิดว่า เด็กส่วนมากจะมีศักยภาพในตนพอที่จะพัฒนาจนเกิดเป็นทักษะความสามารถเฉพาะด้าน (Talent) ซึ่งต้องอาศัยการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับบุคคล เทย์เลอร์ได้จัดกลุ่ม โดยเทย์เลอร์เชื่อว่าเด็กเกือบทุกคนจะมีความสามารถอย่างน้อยหนึ่งด้านที่อาจจะยังไม่แสดงออกมาให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ ถ้าหากการจัดการศึกษาเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความสามารถที่หลากหลาย ไม่จากัดอยู่เฉพาะบางสาขา เราก็จะพบเด็กที่มีความสามารถสูงกว่าปกติในด้านใดด้านหนึ่งมากขึ้นเรื่อยๆ และถ้าหากครูจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก ก็จะยิ่งทำให้พบจำนวนของเด็กที่มีความสามารถเฉพาะทางมากขึ้นอีกเช่นกัน

เทย์เลอร์ได้นำเสนอความสามารถในด้านต่างๆ ของเด็ก จะเห็นได้ว่าเด็กแต่ละคนมีความสามารถแต่ละด้านอยู่ในระดับที่แตกต่างกัน ซึ่งไม่มีเด็กคนใดที่มีความสามารถอยู่ในระดับต่ำสุดทุกด้าน ในขณะเดียวกันก็ไม่มีเด็กคนใดที่มีความสามารถอยู่ในระดับสูงสุดทุกด้าน โดย Multiple-Talent Model เป็นแนวคิดที่ทำให้ครู และนักการศึกษาตระหนักให้ความสำคัญกับการพัฒนาความสามารถด้านต่างๆ ของผู้เรียนโดยเชื่อมั่นว่าผู้เรียนแต่ละคนจะมีความ

สามารถอย่างน้อยหนึ่งด้าน ซึ่งการจัดการศึกษาที่เหมาะสมจะมีส่วนช่วยให้ค้นพบความสามารถนั้นๆ และช่วยให้การจัดการศึกษามีความสัมพันธ์กับชีวิตจริงมากขึ้น



แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักพหุปัญญา: ด้านความคิดแบบเหตุผลและคณิตศาสตร์ (Mathematical - Logical Intelligence)

ข้อสังเกตง่ายๆ ที่ผู้ปกครองและคุณครูจะบอกได้ว่า เด็กในความดูแลของท่านมีความสามารถด้านความคิดแบบเหตุผลและคณิตศาสตร์ คือ เขาจะเป็นคนที่ชอบและสามารถแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน ชอบแก้โจทย์ปัญหาที่ต้องใช้ความคิดเชิงตรรกะที่ท้าทาย เด็กบางคนสามารถที่จะเรียนรู้ในการใช้ทักษะเป็นเหตุเป็นผล สามารถคิดคำนวณในใจได้ คิดแก้ปัญหาที่เป็นนามธรรม และหาความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงของเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล หรือชอบเล่นเกมที่ต้องใช้ทักษะและกลยุทธ์ เช่น หมากรุก เกมกระดาน  เป็นต้น เด็กที่มีความสามารถด้านนี้อาจไม่จำเป็นต้องเป็นคนเก่งคณิตศาสตร์ แต่ชอบและสามารถใช้ทักษะการคิดเชิงเหตุผลในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน  ตัวอย่างของคนกลุ่มนี้ ได้แก่ นักคณิตศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ ผู้ปกครองและครูสามารถส่งเสริมความสามารถด้านนี้ ด้วยการจัดกิจกรรมให้โจทย์ที่ท้าทายให้คิดแก้ปัญหา การทำโครงงาน กิจกรรมทดลองทางวิทยาศาสตร์ และการเล่นเกมกลยุทธ์ที่ท้าทาย

 

แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักพหุปัญญา: ด้านดนตรี (Musical Intelligence)

ข้อสังเกตง่ายๆ ที่ผู้ปกครองและคุณครูจะบอกได้ว่า เด็กในความดูแลของท่านมีความสามารถด้านดนตรี คือ เขาจะเป็นคนที่มีความไวต่อการรับรู้เสียง โทน จังหวะ จดจำด้วยเสียงเพลง มีความสามารถเรื่องจังหวะ ระดับเสียง อารมณ์ของดนตรี มีสุนทรีย์ทางดนตรีในรูปแบบต่างๆ  ชอบฟังดนตรีหลากหลายประเภท มักจะสนใจด้านการร้องเพลงและเล่นดนตรี  มีความเป็นศิลปินและมีความคิดสร้างสรรค์ มีความสุข และใช้เวลาอยู่กับดนตรี และเสียงเพลง อีกทั้งยังมีความสามารถในการร้อง และถ่ายทอดเสียงดนตรีโดดเด่นมากกว่าเพื่อนๆ ในวัยเดียวกัน ตัวอย่างของคนกลุ่มนี้ ได้แก่ นักดนตรี นักร้อง นักแต่งเพลง ผู้ควบคุมวงดนตรี ผู้ปกครองและครูสามารถส่งเสริมความสามารถด้านนี้ ด้วยการจัดกิจกรรมการสอนและการเล่นดนตรี เปิดพื้นที่ให้แสดงความสามารถ มีเวทีให้เด็กได้ฝึกฝน และแสดงออก ส่งเสริมการฟังดนตรีหลากหลายประเภท และการรับชมการแสดงดนตรีตามความสนใจของเด็ก ตลอดจนการวิเคราะห์ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือความรู้สึกที่มีต่ออารมณ์เพลงและเสียงดนตรี

 

แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักพหุปัญญา:  ด้านภาษา (Linguistic Intelligence)

เคยสังเกตหรือไม่ว่าเด็กในความดูแลของท่านมีความสามารถที่โดดเด่นด้านใดบ้างสำหรับเด็กที่มีความสามารถด้านภาษา เขาจะเป็นคนที่ชอบอ่าน  ชอบเขียน  เข้าใจความหมายของคำ และเรื่องราวได้ดี เข้าใจหลักเกณฑ์ของภาษา มีการสื่อสารด้วยการเขียน หรือการพูดอย่างตรงประเด็นและมีประสิทธิภาพ มีวิธีการสร้างสรรค์ทางภาษา หลากคำ เล่นคำ ใช้ภาษาตามฉันทลักษณ์ สามารถสื่อสารความคิดโดยใช้ภาษาถูกต้อง เหมาะสม ชัดเจน สละสลวย เราอาจสังเกตได้จากการพูดหรือการเขียน ที่แสดงออกถึงแววนักประพันธ์  ตัวอย่างของคนกลุ่มนี้ เช่น นักเขียน นักพูด นักแปล นักภาษาศาสตร์ ผู้ประกาศข่าว ผู้ปกครองและครูสามารถส่งเสริมความสามารถด้านนี้ ด้วยการจัดกิจกรรมการแต่งบทประพันธ์ต่างๆ  การแก้ไขบทความที่บกพร่อง การเขียนบันทึกประจำวัน  เกมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษา เช่น หาคำศัพท์ที่ต่างกัน แต่ความหมายเดียวกัน เกมปริศนาอักษรไขว้ เกมใบ้คำ

 

แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักพหุปัญญา: ด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial Intelligence)

เด็กๆ ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบออกแบบ ประดิษฐ์ของเล่นด้วยตัวเอง ชอบงานขีดเขียน เป็นเด็กที่มีความสามารถพิเศษด้านไหนกันนะ? คุณพ่อคุณแม่หรือคุณครูสามารถสังเกตเด็กที่มีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ได้จากการที่เขาเป็นคนที่คิดและจินตนาการเป็นรูปภาพ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาพและความหมาย เข้าใจเรื่องมิติ ทิศทาง สามารถสื่อสารความคิดด้วยสัญลักษณ์หรือภาพได้ดี ชอบใช้เวลาวาดภาพ ออกแบบสิ่งต่าง ๆ ชอบงานประดิษฐ์  ตัวอย่างของผู้มีความสามารถด้านนี้ เช่น วิศวกร สถาปนิก จิตรกร นักภูมิศาสตร์ ช่างภาพ นักออกแบบ ศิลปินแขนงต่างๆ  ผู้ปกครองและครูสามารถส่งเสริมความสามารถด้านนี้ ด้วยการจัดกิจกรรมศิลปะต่างๆ เช่น การพับ การวาด การปั้น การประดิษฐ์  กิจกรรมสำรวจเพื่อทำแผนที่ การออกแบบและตกแต่งของเล่น ของใช้ กิจกรรมการถ่ายภาพ

 

แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักพหุปัญญา:  ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย  -  การแสดง (Bodily Kinesthetic Intelligence – Performance Arts)

เด็กที่ไม่ค่อยอยู่นิ่ง ชอบวิ่งเล่น ชอบเต้น  ชอบเคลื่อนไหว อาจถูกมองว่าเป็นเพียงความซุกซน แต่ที่จริงแล้ว เขาอาจจะเป็นเด็กที่มีความสามารถด้านการเคลื่อนไหวร่างกายก็เป็นได้ ผู้ปกครองหรือครูอาจจะสังเกตเด็กที่มีความสามารถ ด้านการแสดง ได้จากการที่เขาจะเป็นคนที่มีทักษะสูงในการควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อต่างๆ มีการประสานสัมพันธ์ระหว่างตาและร่างกายได้ดี มีความว่องไว มีสมดุลร่างกายที่ดี  สามารถใช้ร่างกายได้อย่างคล่องแคล่วและเป็นธรรมชาติ ทั้งสีหน้า ท่าทาง การจัดระเบียบร่างกาย และการเคลื่อนไหว สื่อสารผ่านภาษากายได้อย่างมีความหมาย ตัวอย่างผู้ที่มีความสามารถด้านนี้ เช่น นักแสดง นักเต้น นักออกแบบท่าเต้น  ผู้ปกครองและครูสามารถส่งเสริมความสามารถด้านนี้ ด้วยการจัดกิจกรรมการแสดง ละครเพลง ละครใบ้ การเต้น นาฏศิลป์ โยคะ การออกกำลังกาย กิจกรรมที่เน้นให้ได้แสดงออกและเคลื่อนไหวร่างกาย

 

แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักพหุปัญญา:  ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย  -  กีฬา (Bodily Kinesthetic Intelligence – Sports)

แววนักกีฬาคืออะไร? ลักษณะที่ผู้ปกครองและคุณครูจะสามารถสังเกตได้ว่า เด็กๆ ที่บ้านหรือในชั้นเรียนของท่านมีความสามารถด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย (กีฬา) คือ เขาจะเป็นคนที่มีทักษะสูงในการควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อต่างๆ มีการประสานสัมพันธ์ระหว่างตาและร่างกายได้ดี กระฉับกระเฉง ว่องไว และมีสมดุลร่างกายที่ดี มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ชอบเล่นกีฬา มีความสนใจในการออกกำลังกาย มักจะใช้เวลาว่างไปกับการเล่นกีฬา หรือกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การเดิน การวิ่ง การขี่จักรยาน การว่ายน้ำ การเต้น ผู้ที่มีความสามารถด้านนี้ เช่น นักกีฬาทุกประเภท เทรนเนอร์  นักแสดงผาดโผน  นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ผู้ปกครองและครูสามารถส่งเสริมความสามารถด้านนี้ ด้วยการจัดกิจกรรมการฝึกซ้อมและการแข่งขันกีฬาต่างๆ ตามที่เด็กชื่นชอบ

 

แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักพหุปัญญา: ด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)

เด็กที่ยิ้มเก่ง เข้ากับคนได้ง่าย เป็นที่รักของเพื่อนๆ อาจจะเรียกได้ว่า เป็นเด็กที่มีความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์  เด็กๆ กลุ่มนี้จะมีความสามารถเรื่องการเข้าใจผู้อื่น มีความไวในการรับรู้ถึงความรู้สึกอารมณ์ของคนรอบข้าง ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี มีความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อผู้อื่น มีลักษณะเป็นผู้นำ ตัดสินใจแก้ปัญหา ลดข้อขัดแย้ง กำกับดูแลผู้อื่นได้ดี สามารถเข้าใจและแสดงการตอบสนองต่อผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม ตัวอย่างของผู้มีความสามารถด้านนี้ เช่น นักการเมือง ครู ครูแนะแนว จิตแพทย์ ผู้ให้คำปรึกษาต่างๆ ผู้นำชุมชน  นักขาย  ผู้ปกครองและครูสามารถส่งเสริมความสามารถด้านนี้ ด้วยการจัดกิจกรรมสัมพันธ์ต่างๆ ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม กิจกรรมจิตอาสา รวมถึงให้โอกาสเด็กได้แสดงความเป็นผู้นำ ผู้ตาม และกิจกรรมการสื่อสารปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในรูปแบบต่างๆ

 

แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักพหุปัญญา:  ด้านธรรมชาติศึกษา (Naturalist Intelligence) 

เรามักจะคิดว่าผู้คนส่วนใหญ่ต่างก็ชื่นชอบธรรมชาติ แต่หากสังเกตให้ลึกซึ้งจะพบว่า มีเด็กบางคนที่มีความสนใจรายละเอียดของธรรมชาติเป็นพิเศษ  ผู้ปกครองและคุณครูจะเห็นได้ว่า เด็กกลุ่มนี้จะเป็นคนที่มีความสามารถทางด้านการรู้จักและเข้าใจธรรมชาติชีวิตของทั้งสัตว์และพืช และเข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ  ตระหนักถึงความเชื่อมโยงของชีวิตและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ เห็นวงจรชีวิตสัตว์ หรือระบบการจัดหมวดหมู่ของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติได้อย่างน่าพิศวง เป็นเด็กช่างสังเกต ชอบบันทึกสิ่งที่พบเห็นหรือปรากฏการณ์ต่างๆ และเฝ้ามองสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และลึกซึ้ง ตัวอย่างของคนกลุ่มนี้ เช่น นักชีววิทยา นักธรรมชาติศึกษา นักดาราศาสตร์ นักสัตววิทยา  นักธรณีวิทยา นักบรรพชีวิน  กิจกรรมส่งเสริมความสามารถด้านนี้ก็คือ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสังเกตปรากฏการณ์ในธรรมชาติ การทดลองทางวิทยาศาสตร์ การสำรวจธรรมชาติ การบันทึกสิ่งที่พบเห็นและเหตุการณ์ต่างๆ ด้วยภาพถ่าย ภาพวาด สมุดบันทึก คลิปวิดีทัศน์

 

แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักพหุปัญญา: ด้านความเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)

สำหรับเด็กๆ ที่ชอบทำงานตามลำพัง ท่าทางช่างคิดฝัน ชอบใช้เวลาอยู่กับตัวเองเป็นส่วนใหญ่ คุณพ่อคุณแม่ หรือคุณครูอาจจะสังเกตได้ว่า เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กที่มีความสามารถด้านความเข้าใจตนเอง ลักษณะที่โดดเด่นของเด็กกลุ่มนี้คือ  เขาจะเป็นคนที่มีความลุ่มลึกในเรื่องความคิดจิตใจของตนเอง มีความตระหนักรู้เกี่ยวกับตนเอง มองเห็นจุดเด่นจุดด้อยของตน  เข้าใจว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร คิดอะไร และสามารถควบคุมความรู้สึกของตนด้วยความเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้ เป็นคนชอบเขียนไดอารี่ ชอบคิดฝัน  ช่างคิด ช่างจินตนาการ มีความคิดอิสระ และมีความมั่นใจในตนเอง ตัวอย่างของคนกลุ่มนี้ ได้แก่ นักแสดง นักบำบัด ผู้ดูแลคนอื่น นักเขียน  จิตแพทย์ นักจิตวิทยา และผู้ประกอบอาชีพอิสระ กิจกรรมที่ส่งเสริมความสามารถด้านนี้ เช่น การฝึกให้เด็กเขียนบันทึกประจำวัน การฝึกวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อยของตนเอง  การวิเคราะห์ความรู้สึกจากสถานการณ์สมมติ การฝึกทำงานเป็นทีมผสมผสานกับงานเดี่ยว การฝึกเขียนและพูดในหัวข้ออิสระ

URL อ้างอิง:

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ